รีเซต

ลูกหนี้จ่ายหนี้ไม่ไหว...ทำอย่างไร? มาดูวิธี 'ปรับโครงสร้างหนี้' สู้โควิดกัน

ลูกหนี้จ่ายหนี้ไม่ไหว...ทำอย่างไร? มาดูวิธี 'ปรับโครงสร้างหนี้' สู้โควิดกัน
TeaC
16 มิถุนายน 2564 ( 12:39 )
496

 

ลูกหนี้จ่ายหนี้ไม่ไหว...ทำอย่างไร? ยิ่งในสถานการณ์ที่โควิดยังระบาดและส่งผลกระทบไปทั่ว ทั้งคนตกงานพุ่งสูงขึ้น ร้านค้า ร้านอาหาร ต่างปิดตัวลง เพราะแบกรับค่าเช่าที่ไม่ไหว รวมถึงหนี้สินต่าง ๆ ที่แม้จะพยายามประคับประคองธุรกิจเพื่อหวังให้ "รอด" แต่กลายเป็นว่ายิ่งลงทุนยิ่งจม ยิ่งเกิดหนี้ไม่สิ้นสุด โดยเฉพาะหนี้ครัวเรือนที่มีทิศทางที่เพิ่มมากขึ้น ลูกหนี้หลายคนปล่อยจนกลายเป็นหนี้เสีย ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้องและอาจเราอาจเสียผลประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ได้อีกด้วย

 

การปรับโครงสร้างหนี้ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ลูกหนี้ควรรู้ และศึกษาขั้นตอน ทำความเข้าใจ เพื่อให้หาทางออกให้หนี้ที่มีได้ชะลอ หรือยืดระยะเวลา เพื่อให้ลูกหนี้ได้หาโอกาสในการหาเงินเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นลุกขึ้นสู้กับสถานการณ์โควิด วันนี้ TrueID รวมรวมขั้นตอนที่เป้นประโยชน์สำหรับลูกหนี้มาให้แล้ว

 

 

 

ปรับโครงสร้างหนี้ คืออะไร?

 

เป็นทางเลือกช่วยให้ลูกหนี้ได้ใช้ชีวิตหรือดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง ไม่สะดุด เพื่อไม่ให้เป็นหนี้เสีย หนี้ไม่สร้างรายได้ เช่น หนี้ที่เกิดจากการซื้อของฟุ่มเฟือย หรือใช้จ่ายเกิน​ตัว จนไม่สามารถจัดการควบคุมได้จนส่งผลให้เกิดหนี้สินวนเวียนเป็นวงจร ไม่สามารถปลดล้อคชีวิตให้พ้นหนี้ได้

 

 

วิธีปรับโครงสร้างหนี้ แบบไหนดี เลือกให้เหมาะสม

 

ทั้งนี้ การปรับโครงสร้างหนี้มี 8 ทางเลือกด้วยกันที่ลูกหนี้ต้องสึกษาและรู้ไว้ เพื่อจะได้เข้าใจว่า จริง ๆ ลูกหนี้มีทางเลือก และทางออกเสมอ ซึ่ง 8 วิธี มีดังนี้ 

 

1. ยืดหนี้

 

เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพื่อขยายระยะเวลาในการชำระหนี้ จะช่วยให้ภาระการผ่อนสอดคล้องกับรายได้ที่ลดลง เช่น สินเชื่อระยะเวลาผ่อน 10 ปี ผ่อนมาแล้ว 6 ปี เหลือ 4 ปี เมื่อลูกหนี้เริ่มผ่อนไม่ไหว จะขอขยายให้ยาวออกไป เพื่อทำให้ยอดผ่อนชำระต่อเดือนปรับลดลง โดยสถาบันการเงินอาจพิจารณาอายุตัวของผู้กู้ประกอบด้วย ซึ่งในอดีตค่าเฉลี่ยของระยะเวลาผ่อนชำระหลังจากที่ปรับโครงสร้างหนี้อยู่ที่ประมาณ 8 ปี

 


2. พักชำระเงินต้น

 

การปรับโครงสร้างหนี้ ด้วยวิธีนี้จะช่วยลดภาระการผ่อนชั่วคราว โดยปกติค่างวดที่ผ่อนชำระประกอบด้วย 2 ส่วน คือ เงินต้นกับดอกเบี้ย เช่น เดิมสัญญาเงินกู้กำหนดค่าผ่อนชำระเท่ากันทุกเดือน เดือนละ 20,000 บาท  แบ่งเป็น

 

  • เงินต้น 8,000 บาท
  • ดอกเบี้ย 12,000 บาท

 

การพักชำระเงินต้นจะทำให้ค่างวดเหลือเพียง 12,000 บาท แต่การผ่อนแบบนี้เงินต้นจะไม่ลดลงในช่วงพัก จะส่งผลให้ลูกหนี้ต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่ขึ้นในช่วงท้ายสัญญา (balloon) หรือทำให้ต้องเป็นหนี้และแบกภาระดอกเบี้ยนานขึ้นนั่นเอง


สำหรับการพิจารณาสถาบันการเงินอาจพักชำระเงินต้น เป็นเวลา 3–6 เดือน แต่เมื่อสถานการณ์ดีขึ้น ลูกหนี้อาจนำเงินก้อนมาโปะ เพื่อลดหนี้ก่อนถึงกำหนดตามสัญญา ซึ่งจะทำให้ภาระดอกเบี้ยจ่ายมีจำนวนลดลง และหนี้หมดเร็วขึ้น

 


3. ลดอัตราดอกเบี้ย

 

วิธีที่สาม อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ลดลง ทำให้ค่างวดที่จ่ายแต่ละเดือนแบ่งไปตัดลดเงินต้นได้มากขึ้น และเมื่อเงินต้นลด ภาระดอกเบี้ยก็จะลดลง เช่น เรากู้ยืมโดยมีอัตราดอกเบี้ย MOR+2% ต่อปี ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ หรือสถานการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้อย่างการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้ผ่อนชำระที่อัตราดอกเบี้ยเดิมไม่ไหว สามารถยื่นเรื่องขอลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้ต่ำลง

 

 


4. ยกหรือผ่อนปรนดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้

 

เมื่อต้นปี 2563 ที่ผ่านมาแบงก์ชาติได้ประกาศให้สถาบันการเงินคิดดอกเบี้ยปรับบนฐานของงวดที่ผิดนัดชำระจริงเท่านั้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และให้ความสำคัญกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นด้วย โดยการเจราสถาบันการเงินสามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยปรับได้ แต่ต้องไม่เป็นภาระแก่ลูกหนี้จนเกินสมควร   

 

 


5. เพิ่มเงินทุนหมุนเวียน

 

อีกหนึ่งวิธีที่เป็นทางเลือกเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน เงินทุนหมุนเวียน (working capital: WC) เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยหล่อเลี้ยงธุรกิจในยามที่ลำบาก ให้มีโอกาสฟื้นกลับอย่างรวดเร็วได้ในภายหลัง โดยผู้กู้ควรเตรียมเหตุผลและประมาณการรายจ่ายที่จะเกิดขึ้นในระยะ 6 – 12 เดือนข้างหน้า อาทิ ค่าจ้างพนักงาน ค่าซื้อวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้า รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในการดำเนินงาน เช่น ค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าเช่าสำนักงาน เป็นต้น เพื่อให้สถาบันการเงินใช้ประกอบการพิจารณาการเพิ่มวงเงินนั่นเอง

 

 

6. เปลี่ยนประเภทหนี้

 

หากหนี้ที่ลูกหนี้แบกรับอยู่มีอัตราดอกเบี้ยแพงควรถูกเปลี่ยนประเภทเป็นหนี้ที่อัตราดอกเบี้ยถูกลง เช่น ลูกหนี้ SMEs ใช้บัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนอัตราดอกเบี้ยสูง 18% และ 28% หรือลูกหนี้มีวงเงิน O/D ใช้วงเงินเต็ม 

 


7. ปิดจบด้วยเงินก้อน

 

หากลูกหนี้มีกำลังสามารถหาเงินก้อนได้จำนวนหนึ่ง เช่น จากเงินออม จากการยืมญาติมิตร หรือจากการขายทรัพย์สิน ถึงแม้จะไม่มากเท่ายอดหนี้ที่มีอยู่ ควรเจรจาขอส่วนลดให้เพียงพอต่อการปิดหนี้จบทั้งบัญชีได้ โดยสถาบันการเงินอาจกำหนดให้ชำระเสร็จสิ้นภายในระยะเวลาสั้น ๆ 6 เดือน หรือเพียง 1–2 งวด 

 


รีไฟแนนซ์ (refinance)

 

การปิดสินเชื่อจากเจ้าหนี้เดิมและย้ายไปใช้สินเชื่อของเจ้าหนี้ใหม่ที่ให้เงื่อนไขดีกว่า เช่น อัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง หรือ การปรับยอดชำระที่ถูกลง โดยทางแบงก์ชาติได้เริ่มสนับสนุนให้เกิดตลาดรีไฟแนนซ์สำหรับหนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล ด้วยเช่นกัน 

 

และนี่คือ 8 ทางเลือกในการปรับโครงสร้างหนี้ที่ลูกหนี้สามารถเลือกวิธีที่เหมาะสมเพื่อให้การใช้ชีวิตและการทำธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องในสถานการณ์แบบนี้

 

 

ข้อมูล : ธนาคารแห่งประเทศไทย

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง