รีเซต

ทำไมต้องรอ 50 ปี ถึงกลับไปดวงจันทร์ ? คนในมีคำตอบ

ทำไมต้องรอ 50 ปี ถึงกลับไปดวงจันทร์ ? คนในมีคำตอบ
TNN ช่อง16
25 ธันวาคม 2565 ( 12:22 )
60
ทำไมต้องรอ 50 ปี ถึงกลับไปดวงจันทร์ ? คนในมีคำตอบ

โครงการอาร์ทิมิส (Artemis Program) หรือโครงการอวกาศที่องค์การบริหารการบินและอวกาศ (NASA) ของสหรัฐอเมริกา เป็นโครงการสำรวจดวงจันทร์ในรอบ 50 ปี หลังจากเสร็จสิ้นชุดโครงการอะพอลโล (Apollo Program) ที่มีเป้าหมายพามนุษย์กลับไปลงที่ดวงจันทร์อีกครั้ง ดังนั้น คำถามที่หลายคนสงสัยก็คือทำไมต้องเป็นในช่วงเวลานี้ หรือว่าเกิดจากเทคโนโลยีที่พร้อม


เมื่อวันที่ 19 - 20 ธันวาคมที่ผ่านมา ได้มีการจัดงานเสวนา MIT Media Lab Southeast Asia Forum ที่จัดขึ้นโดยพันธมิตรหลากหลายรายในเมืองไทย โดยมีบุคลากรจาก MIT Media Lab หรือสถาบันวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) มาร่วมขึ้นพูดภายในงาน รวมถึง รองศาสตราจารย์ ดร.เดวา นิวแมน (Prof. Dr. Dava Newman) ผู้อำนวยการของ MIT Media Lab อีกด้วย


ในระหว่างปี 2015 - 2017 รองศาสตราจารย์ ดร.เดวา นิวแมน (Prof. Dr. Dava Newman) ดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารของนาซา (NASA) อีกทั้งในปัจจุบันยังดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ประจำโครงการอะพอลโล สาขาการเดินทางในอวกาศของ MIT อีกด้วย ดังนั้น TNN Tech จึงใช้โอกาสพิเศษนี้ในการถามคำถามเกี่ยวกับโครงการอาร์ทิมิส (Artemis Program) รวมถึงประเด็นที่หลายคนสงสัยว่า “ทำไมต้องเป็นในช่วงเวลานี้” ด้วยเช่นกัน


ดร.เดวา นิวแมน (Dr. Dava Newman) ให้สัมภาษณ์ว่าโครงการอาร์ทิมิส (Artemis Program) ในปัจจุบันได้เดินทางไปดวงจันทร์และกลับมาแล้ว ขั้นตอนต่อไป ในภารกิจอาร์ทิมิส 2 (Artemis II Mission) จะเป็นการกลับไปโคจรรอบดวงจันทร์เพื่อศึกษาการวางตำแหน่งยานให้เป็นฐานปฏิบัติการ ก่อนที่ภารกิจอาร์ทิมิส 3 (Artemis III Mission) จะเป็นนำนักบินอวกาศไปเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์อีกครั้ง


ในฐานะอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญ ดร.เดวา นิวแมน (Dr. Dava Newman) มีความรู้สึกตื่นเต้น และอยากให้มีโครงการกลับไปดวงจันทร์มากเป็นพิเศษ เพราะโครงการอาร์ทิมิส (Artemis Program) มีเป้าหมายในการสำรวจขั้วโลกใต้ของดวงจันทร์เพื่อหาคำตอบว่ามีน้ำอยู่ที่ขั้วโลกใต้ในลักษณะอย่างไรบ้าง ในฐานะสารเคมีที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตและหาทางใช้ชีวิต


และคำถามที่สำคัญที่สุดก็คือ ทำไมต้องรอ 50 ปี หรือเป็นเพราะว่าเทคโนโลยีไม่มีความสามารถมากพอ แต่ดร.เดวา นิวแมน (Dr. Dava Newman) ยืนยันว่าไม่ใช่เรื่องของข้อจำกัดทางเทคโนโลยี โดยยกตัวอย่างว่าเครื่องยนต์ของจรวดที่ใช้ในอดีตกับปัจจุบันนั้นต่างกันมากแล้ว 


“นี่ไม่ใช่เรื่องของเทคโนโลยีเท่าไหร่นัก แต่เป็นเรื่องของเจตนารมณ์ของมนุษยชาติ” 

ดร.เดวา นิวแมน (Dr. Dava Newman) กล่าวย้ำทิ้งท้ายกับ TNN Tech


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง