รีเซต

เที่ยวป่าต้องระวัง "ไข้รากสาดใหญ่" เชื้ออันตรายจาก "ตัวไรอ่อน"

เที่ยวป่าต้องระวัง "ไข้รากสาดใหญ่" เชื้ออันตรายจาก "ตัวไรอ่อน"
TNN ช่อง16
1 ตุลาคม 2567 ( 19:35 )
37

โรคไข้รากสาดใหญ่ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มริกเก็ตเซีย (Rickettsia) ที่มีตัวไรอ่อนเป็นพาหะนำโรค โดยตัวไรอ่อนมีขนาดเล็กมาก มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า มักอาศัยอยู่ในพุ่มไม้ หรือทุ่งหญ้า เมื่อเข้าไปแหล่งที่อยู่ของตัวไรอ่อน อาจจะถูกกัด หรือไรอ่อนอาจจะกระโดดเกาะติดมาตามเสื้อผ้าและกัดผิวหนังได้ ยิ่งหากไปเกาบริเวณที่ถูกกัดก็จะทำให้ผิวหนังเปิด และทำให้เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กระแสเลือดได้มากขึ้น และแพร่พันธุ์และเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง



โดยอาการที่เกิดขึ้น หากถูกตัวไรอ่อนที่มีเชื้อกัดประมาณ 10 ถึง 12 วัน จะมีอาการ

- ปวดศีรษะ มีไข้ หนาวสั่น ไอ 

- มีอาการตาแดง 

- คลื่นไส้ อาเจียน 

- ปวดเมื่อยตัวอ่อนเพลีย 

- มีผื่นแดงละเอียด 

- มีแผลคล้ายบุหรี่จี้ในบางราย



โรคไข้รากสาดใหญ่ ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ดังนั้นการป้องกันความเสี่ยงของการติดเชื้อ คือการเลี่ยงการสัมผัสหรือถูกตัวไรอ่อนกัด ซึ่งมีวิธีดังนี้


- สวมเสื้อผ้าให้มิดชิด 

- ทายากันยุง หรือสมุนไพรกันยุง

- หลีกเลี่ยงการเข้าไปในบริเวณที่มีตัวไรอ่อนชุกชุม เช่น ทุ่งหญ้า ชายป่า หรือบริเวณต้นไม้ใหญ่ที่แสงแดดส่องไม่ถึง

- หลังออกจากป่า ต้องอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายและสระผม 

- นำเสื้อผ้าที่สวมใส่มาซักให้สะอาด



หากเที่ยวจากการเดินป่า ตั้งแคมป์กลับมา แล้วมีไข้ หรือมีอาการข้างต้น ภายใน 2 สัปดาห์ ควรรีบพบแพทย์ทันที พร้อมแจ้งประวัติการเข้าป่าให้แพทย์ทราบ เพื่อรับการรักษาโดยเร็วสามารถช่วยป้องกันการเสียชีวิตได้


ข้อมูล : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ภาพ : ทีมกราฟิก TNN

ข่าวที่เกี่ยวข้อง