รีเซต

พี่ใหญ่จีนออกโรง ขวางคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็นแถลงประณามทัพพม่า

พี่ใหญ่จีนออกโรง ขวางคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็นแถลงประณามทัพพม่า
ข่าวสด
3 กุมภาพันธ์ 2564 ( 14:52 )
96

พี่ใหญ่จีนออกโรง เมื่อ 3 ก.พ. บีบีซี รายงานว่า การประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 2 ก.พ. ตามเวลานครนิวยอร์ก จีน ในฐานะสมาชิกถาวร ไม่เห็นชอบให้ที่ประชุมออกแถลงการณ์ ประณามการรัฐประหารของกองทัพเมียนมา ยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือน และจับกุมนางออง ซาน ซู จี รวมถึงบุคคลสำคัญทางการเมือง ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.

 

คริสทีน ชราเนอร์ ทูตพิเศษยูเอ็นประจำเมียนมา ประณามการยึดอำนาจของกองทัพเมียนมาอย่างรุนแรง และระบุว่า ผลการเลือกตั้งล่าสุดนั้นชัดเจนว่า พรรคของนางซู จี ชนะอย่างชัดเจน

 

Security Council Considers Situation in Myanmar - Christine Schraner Burgener, Special Envoy for Myanmar

 

ด้านชาวเมียนมาใครนครย่างกุ้งเริ่มแสดงอารยะขัดขืนต่อกองทัพอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น หลายคนเป็นห่วงสวัสดิภาพของนางซู จี ที่ขณะนี้ยังไม่รู้ว่าถูกควบคุมตัวไว้ที่ใด

 

อ่านข่าว : ชาวเมียนมา อารยะขัดขืน ตีหม้อ-บีบแตร สนั่นเมือง ต่อต้านกองทัพหลังยึดอำนาจ

 

ด้าน เอลเลียต พราสส-ฟรีแมน นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญเมียนมา มหาวิทยาลัยแห่งชาติ สิงคโปร์ มองว่า ท่าทีของจีนดังกล่าวเท่ากับแสดงถึงการสนับสนุนการกระทำของเหล่านายพลเมียนมา ทั้งที่หากยูเอ็นมีแถลงการณ์ก็ไม่ได้สร้างความแตกต่างอะไร เป็นเพียงก้าวแรกที่จะแสดงให้เห็นปฏิกิริยาของนานาประเทศ

 

Xinhua

 

"จีนพยายามทำเหมือนว่ากระบวนการนี้เป็นเรื่องภายในของเมียนมา เป็นแค่การปรับคณะรัฐมนตรีเท่านั้น" นักวิชาการสิงคโปร์กล่าว

 

ด้าน เซบาสเตียน สเตรนจิโอ ผู้เขียนและบรรณาธิการของ เดอะ ดิโพลแมต ให้ความเห็นว่า จุดยืนของจีนในสถานการณ์นี้ สอดคล้องกับจุดยืนที่ไม่ไว้วางใจการเข้าแทรกแซงจากประชาคมโลกกรณีอื่นๆ ทั้งหมด

 

Chinese President Xi Jinping (center L) and Myanmar President Win Myint (center R) meet at the Presidential Palace in Naypyidaw on January 17, 2020. (Photo by Thet Aung / AFP)

 

จีนเตือนมาตลอดว่า การใช้มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจและแรงกดดันจากนานาประเทศ มีแต่จะทำให้สถานการณ์ในประเทศนั้นๆ ย่ำแย่ลง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ได้หมายความว่าจีนแฮปปี้กับการรัฐประหารของเมียนมา เพราะจีนก็เชื่อมไมตรีกับพรรคเอ็นแอดี และนางซู จี มาค่อนข้างดี

 

การที่ทหารกลับมายึดครองอำนาจก็หมายความว่า จีนต้องหันมาดีลกับกองทัพ ซึ่งโดยประวัติศาสตร์แล้ว เป็นเรื่องน่าสงสัยที่สุดว่าเป็นความต้องการของจีนหรือไม่

+++++

ข่าวที่เกี่ยวข้อง