สาวจีนเดือด! ปีนขึ้นรถ Tesla กลางงานออโต้โชว์ ประท้วงเหตุเบรกไม่ยอมทำงาน!
Tesla ในประเทศจีนดูท่าจะตกอยู่ในภาวะตึงเครียดมากทีเดียว เพราะขณะนี้บริษัทยานยนต์ชื่อดังตกเป็นเป้าในการวิพากษณ์วิจารณ์ถึงท่าทีของบริษัทที่มีต่อการดูแลลูกค้าถึงสองครั้งภายในวันเดียว
ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา เมื่อสำนักข่าว Xinhua ของจีนเผยแพร่บทความที่กล่าวว่า Tesla ควรจะใส่ใจและออกมารองรับคุณภาพการผลิตให้เป็นไปตามความคาดหวังของตลาด เพื่อที่จะให้ได้รับความไว้วางใจจากผู้บริโภคมากขึ้น โดย Tesla ควรจะออกมาจัดการกับความรู้สึกลังเลใจของผู้บริโภคเกี่ยวกับการซื้อรถยนต์ของตน หลังจากที่ผ่านมา Tesla มีปัญหาตั้งแต่เบรกทำงานผิดปกติ ไปจนถึงไฟลุกไหม้ในระหว่างที่กำลังชาร์จรถ จากนั้นไม่กี่ชั่วโมงต่อมา คณะกรรมาธิการฝ่ายการเมืองและกฎหมายของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน (the Commission for Political and Legal Affairs of the Communist Party of China Central Committee) ก็ได้ทำการโพสต์ความเห็นในบัญชี WeChat ของตนเอง โดยกล่าวว่าผู้ผลิตรถยนต์ควรเคารพผู้บริโภคชาวจีน และปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับในท้องถิ่น การพยายามค้นหาสาเหตุของปัญหาและปรับปรุงแก้ไขปัญหานั้น เป็นสิ่งที่บรรดาบริษัทและผู้ทำธุรกิจควรที่จะรับผิดชอบ และ Tesla ไม่ได้ทำเช่นนั้น
ซึ่งการแสดงความคิดเห็นดังกล่าว คาดว่าจะเกิดขึ้นเนื่องจากเหตุการณ์ที่ Tesla เผชิญเมื่อวันจันทร์ที่งาน Shanghai Auto Show ซึ่งเป็นหนึ่งในงานรถยนต์ชั้นนำของโลก ในงานนั้นได้มีผู้ประท้วงที่โกรธจัด ปีนขึ้นไปบนยานพาหนะที่จัดแสดงและตะโกนว่าเบรกรถของเธอสูญเสียการควบคุม ผู้ประท้วงคนนี้สวมเสื้อยืดที่เขียนว่า "เบรกไม่ทำงาน" ("The brakes don't work”) ซึ่งก่อนหน้านี้เธอพึ่งจะสตรีมมิงจากใกล้ ๆ บูธของ Tesla ก่อนที่จะปีนขึ้นรถไปประท้วง ซึ่งการประท้วงสุดดุเดือดของเธอทำให้บรรดาผู้เข้าชมจำนวนมากต่างก็ถ่ายคลิปและอัปโหลดกันจนกลายเป็นไวรัลเต็มโซเชียลมีเดีย ทำให้เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา Tesla จึงการรักษาความปลอดภัยเพิ่มขึ้นที่บูธของตัวเองอย่างเห็นได้ชัด
ผู้หญิงคนนี้เป็นหนึ่งในเจ้าของรถยนต์ Tesla จากมณฑลเหอหนาน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่าเธอได้ทำการประท้วงเรื่องปัญหาเบรกของ Tesla หลายครั้ง ซึ่งหลังจากเกิดเหตุการบริษัทได้กล่าวว่าจะดำเนินการแก้ไขปัญหา แต่อย่างไรก็ตามจะไม่มีการประนีประนอมกับความต้องการที่ไม่มีเหตุผล (never compromise against unreasonable demands) ดังนั้นเธอจะต้องถูกควบคุมตัวเป็นเวลาห้าวัน ตามคำรายงานของตำรวจท้องถิ่น ซึ่งการประท้วงและปัญหาที่ทวีความตึงเครียดขึ้นเรื่อย ๆ นี้เรียกได้ว่ามาผิดจังหวะ เพราะตั้งแต่ Tesla เริ่มต้นโรงงาน Gigafactory ในเซี่ยงไฮ้เมื่อต้นปี 2019 ก็ได้รับการสนับสนุนหลัก ๆ ทั้งหมดจากรัฐบาลจีน ก่อให้เกิดความตึงเครียดระหว่างวอชิงตันและปักกิ่ง
โดยสิ่งที่ผู้ผลิต EV รายใหญ่ที่สุดของโลกได้จากการสนับสนุนและการเติบโตในตลาดจีน หรือตลาดของธุรกิจ EV อันดับหนึ่งของโลกก็คือการที่ได้ลดหย่อนภาษี, เงินกู้ราคาถูก และการอนุญาตให้เป็นเจ้าของการดำเนินงานในประเทศทั้งหมด แต่ในช่วงเดือนที่ผ่านมา Tesla ต้องหาวิธีป้องกันในการจัดการข้อมูลในประเทศจีน และยังโดนทางการทหารแบนห้ามรถยนต์ของตนเข้าไปในอาคารทางทหาร เนื่องจากกังวลว่ากล้องที่ติดตั้งในรถอาจจะแอบเก็บข้อมูลสำคัญภายในได้ ซึ่งหลังจากที่มีคำสั่งดังกล่าว CEO Elon Musk ก็ได้ออกมาปฏิเสธอย่างหนักแน่นว่าบริษัทจะไม่ใช้เทคโนโลยีของรถยนต์ในการสอดแนมและ และหน่วยงานของ Tesla ในปักกิ่งเองก็ออกมากล่าวว่ากล้องที่ติดตั้งอยู่ใน EV จะไม่เปิดใช้งานนอกพื้นที่อเมริกาเหนือ
ก่อนหน้านี้ Tesla ได้รับการร้องเรียนโดยหน่วยงานกำกับดูแลของจีนเกี่ยวกับปัญหาด้านคุณภาพและความปลอดภัยมาก่อนแล้ว ซึ่งปัญหาที่ว่ายังรวมถึงแบตเตอรี่ที่ลุกเป็นไฟ และการเร่งความเร็วรถที่ผิดปกติ ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาก็มีการบังคับให้ Tesla ออกคำขอโทษต่อสาธารณะหลังจากมีวิดีโอที่มีเจ้าหน้าที่ออกมากล่าวโทษว่ารถยนต์ของลูกค้าเสียหายเป็นเพราะการใช้งานไฟฟ้าเกิดพิกัดของระบบไฟฟ้าแห่งชาติเอง
ดูท่าว่ามิตรภาพอันหอมหวานในประเทศจีนกับ Tesla ดูเหมือนจะสิ้นสุดลงในช่วงเวลาที่ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากบริษัทอื่น ๆ ที่อายุน้อยกว่าและยังทุนหนาอีกจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นบริษัท EV ในท้องถิ่นเช่น Nio Inc. และ Xpeng Inc. ที่ได้กำลังมาแรงเช่นกัน อย่างไรก็ตาม Teslas ก็ยังคงได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกสำหรับรถยนต์ทั่วไป โดยในเดือนมีนาคมได้มีการจดทะเบียน Teslas ที่สร้างและนำเข้าจากจีน 34,714 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าของยอดเดิมคือ 18,155 คันในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
นอกจาก Tesla แล้ว แบรนด์อื่น ๆ จากฝั่งตะวันตกก็ต้องเผชิญกับการตรวจสอบที่เข้มงวดมากขึ้นเช่นกัน โดยก่อนหน้านี้ Hennes & Mauritz AB ยักษ์ใหญ่ด้านเสื้อผ้าของสวีเดนถูกวิพากษ์วิจารณ์จากหน่วยงานของรัฐ เกี่ยวกับคำแถลงเก่า ๆ บนเว็บไซต์ที่พูดถึงประเด็นการบังคับใช้แรงงานในเขตซินเจียงของจีน จนทำให้เกิดกระแสชาตินิยมในจีนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยมีการรณรงค์ให้ซื้อแบรนด์ท้องถิ่นมากกว่าสินค้าจากฝั่งตะวันตกด้วยนั่นเอง
ขอบคุณข้อมูลจาก