รีเซต

รู้จักภาวะ ‘Happy Hypoxia’ ติดโควิด แต่ไม่มีอาการ เสี่ยงเสียชีวิตฉับพลัน

รู้จักภาวะ ‘Happy Hypoxia’ ติดโควิด แต่ไม่มีอาการ เสี่ยงเสียชีวิตฉับพลัน
Ingonn
5 สิงหาคม 2564 ( 14:33 )
414
รู้จักภาวะ ‘Happy Hypoxia’ ติดโควิด แต่ไม่มีอาการ เสี่ยงเสียชีวิตฉับพลัน

 

จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ผู้ป่วยโควิด-19 ส่วนใหญ่มักติดเชื้อโควิดแบบไม่แสดงอาการ ทำให้ไม่รู้ตัวว่าตัวเองติดโควิดแล้ว จึงไม่ได้ทำการรักษา และบ่อยครั้งที่เรามักได้ยินทาง ศบค. พูดว่า พบผู้ป่วยโควิดเสียชีวิตแบบไม่แสดงอาการป่วยก่อนหน้านี้ จนเสียชีวิตภายในไม่กี่วันหลังจากเข้าระบบรักษาแล้ว อาการเหล่านี้เกี่ยวข้องกับ ภาวะ ‘Happy Hypoxia’ ที่ถือเป็นภัยเงียบของผู้ติดเชื้อ 

 

 

วันนี้ TrueID จะพามารู้จักกับ ภาวะ ‘Happy Hypoxia’ ที่อยากให้คนรอบตัวสังเกตไว้ เผื่อคนใกล้ชิดมีอาการเข้าข่ายเป็นภาวะนี้จะได้รู้เท่าทันอาการ และรักษาได้ทันเวลา

 

 


รู้จัก ภาวะ ‘Happy Hypoxia’  

 

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า เมื่อติดเชื้อโควิด-19 อวัยวะสำคัญ ที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงเมื่อติดเชื้อโควิด คือ ปอด ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง ระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดจึงมีค่าต่ำกว่าปกติ ร่างกายจึงมีภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia) เพราะปริมาณออกซิเจนที่ได้รับ ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ในภาวะปกติระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดจะอยู่ในช่วง 95–100% เมื่อไรก็ตามที่ระดับของออกซิเจนมีค่าลดลง ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการผิดปกติทางระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ไอ หายใจถี่ หายใจลำบากและหอบเหนื่อยง่าย ) ซึ่งอาการเหล่านี้ เป็นสัญญาณเบื้องต้นที่แสดงถึงความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ 

 

 

แต่ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 บางราย กลับไม่มีความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจใด ๆ เป็นสัญญาณเตือน แม้จะมีระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติ (ในช่วง 70–80%) หรือในบางราย อาจจะลดลงต่ำกว่า 50% ก็ตาม ภาวะนี้ถูกเรียกว่า ภาวะพร่องออกซิเจนแบบไม่แสดงอาการ (Silent hypoxia หรือ happy hypoxia) ซึ่งเป็นภาวะที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตเป็นอย่างมาก

 

 

จึงสรุปได้ว่า “Happy Hypoxemia” หรือ “Silent hypoxemia” จะไม่แสดงอาการในผู้ป่วยโควิด-19 ไม่มีอาการเหนื่อย หรือมีอาการเกี่ยวกับทางเดินหายใจ แต่พอไปวัดค่าออกซิเจน กลับพบว่ามันต่ำกว่าปกติมาก ถือเป็นปัญหาใหม่ของคนป่วยโควิด-19 ที่อาจทำลายระบบเตือนร่างกายว่าออกซิเจนต่ำ พอแสดงอาการก็คือเข้าขั้นรุนแรงแล้ว

 

 

 

ภาวะ ‘Happy Hypoxia’  เกิดขึ้นได้อย่างไร


สาเหตุของภาวะนี้ก็ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดและไม่มีตัวบ่งชี้ใดที่จะบอกได้ว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ จะมีภาวะนี้หรือไม่ แต่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจ ได้ให้ข้อสันนิษฐานว่าอาจจะเกิดจากความบกพร่องในการไหลเวียนเลือด เนื่องจากมีลิ่มเลือดอุดตันเส้นเลือดภายในปอด จนขัดขวางการไหลเวียนเลือดภายในปอด ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนมีประสิทธิภาพลดลงและคาร์บอนไดออกไซด์คั่งค้างอยู่ในเลือดมากยิ่งขึ้น การรักษาที่สามารถทำได้คือ การให้ออกซิเจนทดแทนเพื่อเพิ่มออกซิเจนในเลือด ป้องกันไม่ให้เซลล์และอวัยวะสำคัญถูกทำลาย

 

 

ภาวะพร่องออกซิเจนนี้ สามารถแบ่งออกได้ 4 ชนิด 


จาก พญ.สิรินาถ เรืองเผ่าพันธุ์ พยาบาลวิชาชีพ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ระบุว่า ภาวะพร่องออกซิเจน คือ ภาวะที่ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต่อการ สามารถแบ่งได้ เป็น 4 สาเหตุ ได้แก่

 


1. ภาวะพร่องออกซิเจนซึ่งร่างกายได้รับออกซิเจนน้อย (Hypoxic Hypoxia) เกิดจากความกดดันของออกซิเจนในถุงลมปอดลดลง มักเกิดขึ้นจากการที่ขึ้นไปอยู่ในที่สูง หรือมีพื้นที่ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนก๊าซระหว่างปอดกับกระแสเลือดลดลง มักเกิดในผู้ที่มีอาการปอดแฟบ มีลมในช่องปอด เป็นต้น รวมถึงออกซิเจนไม่สามารถซึมผ่านจากถุงลมปอดไปสู่กระแสเลือดได้สะดวก มักเกิดในผู้ที่มีอาการปอดบวม เป็นโรคเยื่อไฮยาลีน หรือจมน้ำ เป็นต้น

 


2. ภาวะพร่องออกซิเจนซึ่งมีสาเหตุจากเลือด (Hypemic Hypoxia) โดยมีสาเหตุมาจากความบกพร่องในการนำออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น จำนวนเม็ดเลือดแดงในเลือดลดลง เป็นโรคโลหิตจาง เกิดการเสียเลือดมาก

 


3. ภาวะพร่องออกซิเจนซึ่งมีสาเหตุจากการคั่งของกระแสเลือด (Stagnant Hypoxia) เกิดจากความบกพร่องในการไหลเวียนของเลือด

 


4. ภาวะพร่องออกซิเจนซึ่งมีสาเหตุจากภาวะเป็นพิษของเซลล์ (Histotoxic Hypoxia) เกิดขึ้นจากการที่เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายไม่สามารถนำเอาออกซิเจนไปใช้ได้ เนื่องจากได้รับสารพิษ เช่น แอลกอฮอล์ ควันพิษ ไซยาไนด์ เป็นต้น

 

 


ความรุนแรงของภาวะพร่องออกซิเจน

 

Mild Hypoxemia ระดับออกซิเจนในเลือด อยู่ระหว่าง 60 – 80 มิลลิเมตรปรอท


Moderate Hypoxemia ระดับออกซิเจนในเลือด อยู่ระหว่าง 40 – 60 มิลลิเมตรปรอท


Severe Hypoxemia ระดับออกซิเจนในเลือด น้อยกว่า 40 มิลลิเมตรปรอท


ซึ่งคนปกติทั่วไปจะระดับออกซิเจนในเลือดอยู่ที่ 80 – 100 มิลลิเมตรปรอท

 

 

วิธีเช็กอาการภาวะ ‘Happy Hypoxia’  


1.มีผิวซีด ไอ คลื่นไส้อาเจียน หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หายใจลำบาก ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว มึนงง การรับรู้ตัวน้อยลง


2.การใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว (Pulse oximeter) โดยปกติระดับออกซิเจนในเลือดจะอยู่ที่ประมาณ 95-100% หากต่ำกว่า 90% แปลว่าเริ่มมีภาวะพร่องออกซิเจน

 


ค่าออกซิเจนในเลือดจะมีค่าปกติดังนี้


95% ขึ้นไป ปกติดี


90-94% ระมัดระวัง อาการผิดปกติ


น้อยกว่า 90% มีภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ รีบแจ้งโรงพยาบาลหรือบุคลากรทางการแพทย์

 

 

 

วิธีการป้องกันภาวะพร่องออกซิเจนสามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้


1.นอนหนุนหมอนสูง หรือปรับฟังก์ชันเตียงให้อยู่ในท่าศีรษะสูง  เพื่อให้กระบังลมเคลื่อนต่ำลง ปอดขยายตัวได้เต็มที่

 


2.หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือการรับควันบุหรี่

 


3.ดื่มน้ำเปล่าสะอาดมาก ๆ ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายต่อวัน

 


4.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่

 


5.ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น โยคะ การเดิน

 


6.หมั่นตรวจระดับออกซิเจนในเลือด ด้วยเครื่องวัดออกซิเจนในเลือด

 


7.หากเป็นเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย หรือผู้ที่เคยมีภาวะพร่องออกซิเจน ให้พยายามหลีกเลี่ยงการอยู่บนที่สูงมาก ๆ หรือหลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่อากาศเบาบาง

 


8.หากเป็นผู้ป่วยโรคหอบหืด ควรปฏิบัติตามคำแนะนำแพทย์อย่างเคร่งครัด และได้รับการพ่นยาตามคำสั่งแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

 

 

 


ข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) , เพจ Drama-addit , พญ.สิรินาถ เรืองเผ่าพันธุ์ พยาบาลวิชาชีพ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี , ALLWELL

 

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง