รวม เบอร์โทร 50 เขต โทรถามทำ Home Isolation และ Community Isolation ในกทม. เพื่อเข้าถึงการรักษาได้เร็ว
Save เก็บไว้เลย! ในช่วงโควิดระบาดหนักทำให้ยอดผู้ติดเชื้อสูงมากขึ้น TrueID รวบรวมเบอร์โทร 50 เขต ให้โทรสอบถามและปรึกษาได้เลยหากตัวเองหรือสมาชิกในครอบครัวติดเชื้อโควิดและต้องการถูกประเมินเพื่อเข้าสู่ระบบ Home Isolation (การแยกกักตัวที่บ้าน) และ Community Isolation (การแยกกักตัวในชุมชน) แต่ก่อนที่ผู้ป่วยจะเข้าสู่ระบบดังกล่าวได้ จะต้องมีการประเมินข้อมูลของการติดเชื้อโควิด-19 ก่อนว่า มีอาการอยู่ในกลุ่มสีอะไร เช่น
- ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว เป็นกลุ่มคนที่ติดเลื้อที่มีอาการเบื้องต้นเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ หรือไม่มีอาการ
- ผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง จะมีอาการเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง เช่น มีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก เวียนศีรษะ ปอดอักเสบ ถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน ร่วมกับอาการหน้ามืด วิงเวียน
- ผู้ป่วยกลุ่มสีแดง าการหนัก หอบเหนื่อย พูดไม่เป็นประโยคขณะสนทนา แน่นหน้าอกตลอดเวลา หายใจแล้วเจ็บหน้าอก ต้องรีบเข้ารับการเอกซเรย์ปอด
ซึ่งการประเมินว่าเราหรือคนในครอบครัวอยู่ในกลุ่มผู้ป่วยสีใดนั้นต้องมากจากศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์ ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น มาทำความเข้าใจกันอีกนิดระหว่าง Home Isolation และ Community Isolation ว่าคืออะไร
Home Isolation คืออะไร? หรือเรียกกันว่า การกักตัวที่บ้าน คือ วิธีในการดูแลตัวเอง สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มสีเขียว ที่ไม่มีอาการแสดง หรือแสดงอาการเพียงเล็กน้อย สำหรับผู้ป่วยที่แพทย์ประเมินแล้วว่าสามารถรักษาตัวอยู่ที่บ้านได้ ก็สามารถปฏิบัติตนได้ง่าย ๆ เช่น ห้ามออกจากที่พักและปฏิเสธเพื่อนสนิท หรือใครก็ตามจะมาเยี่ยมคุณที่บ้าน
ส่วน Community Isolation คืออะไร? คือ การกักตัวในชุมชน ตามมาตรการดูแลผู้ป่วยโควิดด้วยระบบชุมชน ซึ่งใช้ในพื้นที่ที่เตียงเต็ม โดยเฉพาะ กทม.และปริมณฑล อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ เป็นผู้ป่วยซึ่งอยู่ในชุมชนจะได้รับการดูแลเสมือนอยู่โรงพยาบาล เพียงแต่เปลี่ยนสถานที่ และมีแพทย์ดูแล มีอุปกรณ์ ยา อาหารต่าง ๆ ให้ครบ โดยเป็นผู้ป่วยที่มีอาการไม่มากหรือจัดอยู่ในกลุ่มผู้ป่วยสีเขียวเท่านั้น
ทั้งนี้ ระบบ Home Isolation และ Community Isolation เป็นอีกหนึ่งระบบที่ช่วยลดภาระของแพทย์ พยาบาล เตียง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ยังขาดแคลนทรัพยากรและอุปกรณ์มีไม่เพียงพอ เมื่อเราติดเชื้อโควิดและถูกประเมินว่าเป็น "กลุ่มคนสีเขียว" ที่ยังสามารถดูแลตัวเองทั้งได้ที่บ้าน หรือในชุมชนที่มีสถานที่รองรับ นี่จึงเป็นทางเลือกที่ทุกคนหากรู้สงสัย หรือมีคำถาม แต่ไม่รู้ต้องทำตัวอย่างไรบ้าง ต้องปฏิบัตอย่างไร หรือจะโทรถามใครได้บ้าง ต้องกักตัวที่ไหน กักตัวที่บ้าน ที่ชุมชน ต้องทำอะไรอีก เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาได้เร็วขึ้น มาเช็กเบอร์โทร 50 เขตในกรุงเทพมหานคร กันเลย
เบอร์โทร 7 เขตกรุงเทพเหนือ
1. เขตจตุจักร เบอร์โทร 02-026-3100
2. เขตดอนเมือง เบอร์โทร 02-026-3122
3. เขตบางเขน เบอร์โทร 02-026-3166
4. เขตบางซื่อ เบอร์โทร 02-026-3233
5. เขตลาดพร้าว เบอร์โทร 02-026-3499
6. เขตสายไหม เบอร์โทร 02-026-3500
7. เขตหลักสี่ เบอร์โทร 02-026-3233
เบอร์โทร 9 เขตกรุงเทพกลาง
1. เขตดินแดง เบอร์โทร 02-092-7016
2. เขตดุสิต เบอร์โทร 02-092-7121
3. เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เบอร์โทร 02-092-7313
4. เขตพญาไท เบอร์โทร 02-092-7580
5. เขตพระนคร เบอร์โทร 02-092-7643
6. เขตราชเทวี เบอร์โทร 02-092-7701
7. เขตวังทองหลาง เบอร์โทร 02-092-7910
8. เขตสัมพันธวงศ์ เบอร์โทร 02-092-7429
9. เขตห้วยขวาง เบอร์โทร 02-092-7112
เบอร์โทร 10 เขตกรุงเทพใต้
1. เขตคลองเตย เบอร์โทร 02-096-2823
2. เขตบางคอแหลม เบอร์โทร 02-096-2824
3. เขตบางนา เบอร์โทร 02-096-2825
4. เขตบางรัก เบอร์โทร 02-096-2826
5. เขตปทุมวัน เบอร์โทร 02-096-2827
6. เขตพระโขนง เบอร์โทร 02-096-2828
7. เขตยานนาวา เบอร์โทร 02-096-2829
8. เขตวัฒนา เบอร์โทร 02-096-2830
9. เขตสวนหลวง เบอร์โทร 02-096-2831
10. เขตสาทร เบอร์โทร 02-096-2832
เบอร์โทร 9 เขตกรุงเทพตะวันออก
1. เขตคลองสามวา เบอร์โทร 02-096-9202
2. เขตคันนายาว เบอร์โทร 02-483-5000
3. เขตบางกะปิ เบอร์โทร 02-483-5001
4. เขตบึงกุ่ม เบอร์โทร 02-483-5002
5. เขตประเวศ เบอร์โทร 02-483-5003
6. เขตมีนบุรี เบอร์โทร 02-483-5004
7. เขตลาดกระบัง เบอร์โทร 02-483-5005
8. เขตสะพานสูง เบอร์โทร 02-483-5006
9. เขตหนองจอก เบอร์โทร 02-483-5007
อย่าลืมสวมหน้ากากให้ถูกต้อง ไปแหล่งชุมชนแออัดต้องเพิ่มใส่หน้ากาก 2 ชั้น เว้นระยะห่าง ล้างมือ ให้บ่อยที่สุด
โปรดดูแลตัวเองด้วยนะ TrueID เป็นห่วงเสมอ
ข้อมูล : เพจไทยคู่ฟ้า