NASA เผยยาน TESS พบดาวเคราะห์กว่า 2,200 ดวงแล้ว !!
ยาน TESS หรือ Transiting Exoplanet Survey Satellite ของ NASA สามารถบรรลุภารกิจในการค้นหาดาวเคราะห์ได้สำเร็จ โดยยาน TESS ได้ค้นพบดาวเคราะห์ไปมากถึง 2,200 ดวง นับตั้งแต่เริ่มภารกิจในปี 2018 ในจำนวนทั้งหมด พบว่าเป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็กกว่าหลายร้อยดวง บางดวงก็มีลักษณะคล้ายโลกมาก แต่อย่างไรก็ตาม ดาวเคราะห์ทั้ง 2,200 ดวง ไม่ได้ถูกยืนยันว่าสามารถอาศัยอยู่ได้
เป้าหมายของยาน TESS จริงใน 2 ปีแรก คิดว่าจะพบดาวเคราะห์เพียง 1,600 ดวงเท่านั้น
ดาวเคราะห์ที่ทาง NASA ค้นพบมีตั้งแต่ TOI-700 ดาวเคราะห์หินที่อยู่ห่างจากโลก 100 ปีแสง, LHS 3844 b ดาวเคราะห์ร้อนระอุที่มีวงโคจรเพียง 11 ชั่วโมง, TOI 1690 b ดาวยักษ์แดงที่กลืนกินดาวเคราะห์ในวงโคจรของตัวเอง, หรือ TOI 849 b ดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์ที่ไม่มีชั้นบรรยากาศ อย่างไรก็ตาม การค้นพบต่าง ๆ ยังไม่ได้รับการตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งหมดแต่อย่างใด โดยปัจจุบันทาง NASA ได้มีการยืนยันถึงการค้นพบดาวเคราะห์ทั้งหมดเพียง 120 ดวงเท่านั้น
ในอนาคตทาง NASA มีแผนที่จะปล่อยยานอวกาศที่ติดตั้งกล้อง James Webb Space Telescope ในการศึกษาและตรวจสอบตัวดาวเคราะห์โดยเฉพาะ
เกี่ยวกับยาน TESS
ยาน TESS เป็นยานที่มาสานต่อภารกิจของยาน Kepler ที่ออกไปสำรวจนอกระบบสุริยะที่เรียกว่า Exo-Planet จนค้นพบดาวเคราะห์มากถึง 3,000 ดวง โดยยาน TESS ได้รับการอนุมัติการสร้างในปี 2015 หลังจากที่ NASA ได้เลือกให้ SpaceX เป็นผู้ทำการปล่อยยานลำนี้ โดยตัวยานมีมูลค่ากว่า 75 ล้านเหรียญ ในขณะที่ SpaceX คิดค่าปล่อยที่ 87 ล้านเหรียญ ทำให้ค่าปล่อยยานสูงกว่ามูลค่าของตัวยานเองเสียอีก การปล่อยมีขึ้นที่ฐานปล่อย LC-40 ณ แหลมเคอเนอเวอรัล ฐานปล่อยประจำของ SpaceX โดยใช้จรวด Falcon 9 หมายเลข B1045 เป็นตัวพายานออกไป
ยาน TESS มีขนาดเล็กมากและหนักเพียงแค่ 300 กิโลกรัมเท่านั้น สำหรับการสำรวจดวงดาวใน Exo-Planet ยาน TESS ในเทคนิคที่เรียกว่า Transit ตัดหน้าดาวแม่ แล้วทำการวิเคราะห์แสงที่หรี่ลงไป หรือสเป็คตรัมของแสงที่ผ่านมาได้ รวมถึงเวลาที่เกิดขึ้น ในการดูว่าดาวเคราะห์ดวงนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร วงโคจรแบบไหน และมีโอกาสที่จะมีสิ่งมีชีวิตหรือไม่ และยังได้มีการทำเทคโนโลยี Machine Learning มาใช้อีกด้วย
ภารกิจหลักของยาน TESS ประกอบไปด้วย นั่นคือการมองไปยังดาวฤกษ์ใกล้ ๆ กว่า 200,000 ดวง เพื่อค้นหาดาวเคราะห์ที่โคจรรอบมัน เน้นการค้นหาดาวเคราะห์คล้ายโลกเป็นหลัก และมีมุมมองกว้างกว่ายาน Kepler ถึง 400 เท่า ยาน TESS ใช้การค้นหาแบบหลอดไฟ คือส่องบริเวณรอบตัวเองในทุกมุม ดวงตาสำคัญของยาน TESS ก็คือกล้องเซนเซอร์แบบ CCD ความละเอียด 16.8 ล้านพิกเซล ค่า f/1.4 สร้างโดย MIT ทำงานร่วมกับระบบคอมพิวเตอร์บนยาน ที่ใช้ซีพียู Freescale P2010 e500 พร้อมกับแรม DDR2 1 GB และ SSD ขนาด 4 GB เท่านั้น ยาน TESS ได้ทำการแบ่งท้องฟ้าออกเป็น 26 Sector ทางซีฟ้าเหนือ 13 Sector และซีฟ้าใต้ 13 Sector โดยยาน TESS มีภารกิจการสำรวจนาน 2 ปี ทำให้มีเวลาสำรวจทั้งสองซีกฟ้า 1 ปีเท่านั้น ในแต่ละ Sector จะถูกสำรวจโดยใช้เวลา 27.4 วัน (เท่ากับการโคจรรอบโลก 2 ครั้ง) หลังจากที่สำรวจเสร็จแล้วยานจะปรับหมุนตัวเองเพื่อส่องกล้องไปสำรวจ Sector ถัดไป
แหล่งที่มา engadget.com