รีเซต

ทำไมเราชอบช็อกโกแลต นักวิจัยทดลองด้วยลิ้นเทียมจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ

ทำไมเราชอบช็อกโกแลต นักวิจัยทดลองด้วยลิ้นเทียมจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ
TNN ช่อง16
8 กุมภาพันธ์ 2566 ( 00:48 )
53

สืบเนื่องมาจากการศึกษาในปี 2007 ของมายด์แลป อินเตอร์เนชันแนล (Mindlab International) ที่ชี้ว่าช่วงเวลาที่ช็อกโกแลตกำลังละลายในปากกระตุ้นให้สมองมีความสุขได้ยาวนานมากกว่าการจูบ โดยช็อกโกแลตสามารถทำให้หัวใจเต้นเร็ว 140 ครั้งต่อนาที จาก 60 ครั้งต่อนาที ใกล้เคียงกับอัตราการเต้นของหัวใจขณะจูบ

ความลับความอร่อยของช็อกโกแลตอยู่ที่ไขมัน ! 

โดยทีมนักวิจัยจากสมาคมเคมีแห่งสหรัฐอเมริกา (American Chemical Society) ได้ทำการศึกษาเพื่อหาว่าอะไรคือสาเหตุความอร่อยของช็อกโกแลตจนทำให้หลาย ๆ คน ชื่นชอบ ซึ่งมีการเผยแพร่เอกสารงานวิจัยลงบนวารสารออนไลน์เอซีเอส พับลิชเคชันส์ (ACS Publications) เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2023 ที่ผ่านมา


โดยนักวิจัยได้ทำการทดลองกับดาร์กช็อกโกแลต 4 ชนิด ด้วยการใช้ลิ้นเทียมที่สร้างขึ้นด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ในการชิมแทนการชิมด้วยลิ้นของมนุษย์ เพื่อหลีกเลี่ยงตัวแปรที่ไม่สามารถควบคุมได้


สำหรับปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดสัมผัสเนียนนุ่มเมื่อเรารับประทานช็อกโกแลต คือ ไขมันที่เคลือบผิวช็อกโกแลตอยู่ เมื่อไขมันละลายและน้ำลายเข้าไปในส่วนผสมของช็อกโกแลต อนุภาคโกโก้ที่เป็นของแข็งจะถูกปล่อยออกมาพร้อมกับสารเอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทชนิดหนึ่งที่กระตุ้นความสุข โดยหยดไขมันที่ละลายตัวแล้วจะนำพาอนุภาคช็อกโกแลตไหลลงไปในลำคออย่างราบรื่นจนทำให้เกิดความรู้สึกเพลิดเพลินเมื่อเรารับประทานช็อกโกแลต

ช็อกโกแลตที่อร่อยไม่จำเป็นต้องมีไขมันมาก 

อย่างไรก็ตาม ช็อกโกแลตที่อร่อยไม่จำเป็นจะต้องมีไขมันมากแค่มีในปริมาณที่เพียงพอจะเคลือบผิวช็อกโกแลตก็สามารถสร้างสัมผัสนุ่มนวลบนลิ้นและความรู้สึกเพลิดเพลินระหว่างรับประทานได้แล้ว โดยในส่วนผสมของช็อกโกแลตไม่จำเป็นต้องมีไขมันอยู่เลยก็ได้


โดยการค้นพบครั้งนี้อาจนำไปสู่การผลิตช็อกโกแลตรุ่นใหม่ที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น เนื่องจากเราได้รู้แล้วว่าไม่จำเป็นต้องผสมไขมันเข้าไปในช็อกโกแลต แค่ใช้ไขมันเคลือบผิวช็อกโกแลตไว้บาง ๆ ก็เพียงพอ


ข้อมูลจาก ACS Publications

ภาพจาก Paxabay

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง