รีเซต

รู้จักและทำแบบทดสอบ 'โรคซึมเศร้า' ทำดูรู้ได้เลย

รู้จักและทำแบบทดสอบ 'โรคซึมเศร้า'  ทำดูรู้ได้เลย
TrueID
11 ธันวาคม 2563 ( 10:25 )
552
รู้จักและทำแบบทดสอบ 'โรคซึมเศร้า'  ทำดูรู้ได้เลย

จากเหตุการณ์ที่ ศิต โมทีฟ เจ้าของเพลงชื่อดังอย่าง “อกข้างซ้าย” ที่หายตัวไปตั้งเเต่วันที่ 7 ธ.ค. 2563 ที่ผ่านมา โดยก่อนหน้านี้เจ้าตัวได้โพสต์ข้อความทิ้งท้ายไวในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า “ดีใจ…ที่ได้ดูเเลทุกคนนะ” ก่อนที่จะหายตัวไปพร้อมกับรถเบนซ์ ทะเบียน 8 กฒ 4 กทม.

 

ล่าสุดเมื่อราวประมาณ 20.00 น. ของวันที่ 10 ธ.ค. 2563 มีรายงานว่าพบตัว ศิต โมทีฟ ที่โรงเเรมแห่งหนึ่งย่านหัวหิน ซึ่งอยู่ในสภาพอิดโรย จึงเร่งส่งตัวไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ซึ่ง เพื่อนๆ รวมถึงผู้จัดการส่วนตัว ระบุว่าศิตมีอาการโรคซึมเศร้า โดยสังเกตจากโพสต์หลังๆที่เริ่มชัดเจนว่าเขาเป็นซึมเศร้า และอาจทำร้ายตัวเองได้

 

ประเด็นดังกล่าวในช่วงเวลาหลายปีมานี้ สื่อต่างๆ มีการนำเสนอข่าวคนดัง ข่าวอาชญากรรม และแม้แต่ข่าวการฆ่าตัวตายที่มีส่วนเกี่ยวโยงกับการเป็นโรคซึมเศร้าออกมาอย่างต่อเนื่อง เราจึงควรตระหนักว่า โรคซึมเศร้าใกล้ตัวเรากว่าที่คิด เราอาจจะไม่รู้ตัวว่าตัวเองหรือคนรอบข้างกำลังเสี่ยงหรือเป็นโรคซึมเศร้าอยู่ เพราะข่าวที่ออกมาก็ไม่ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคในเชิงลึกสักเท่าไหร่ วันนี้ trueID news จะมาทำความรู้จักโรคซึมเศร้าในแง่มุมต่างๆ ให้มากขึ้น และลองทำแบบทดสอบ เพื่อจะเป็นประโยชน์ในการระแวดระวัง หาทางป้องกัน หรือรีบรักษา 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : เจอตัวแล้ว! พบ ศิต วงโมทีฟ แล้วที่รีสอร์ตแห่งหนึ่ง พาส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด

 

โรคซึมเศร้ากับสถิติอันตราย

ปัจจุบันโลกของเรามีประชากรราว 7.6 พันล้านคน และมีคนเป็นโรคซึมเศร้าถึง 300 ล้านคน หรือเกือบ 4% เลยทีเดียว ส่วนในคนไทยเองนั้นพบว่ามีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าถึง 1.5 ล้านคน หรือ 2.2% ของคนไทยทั้งหมด 69 ล้านคน และน่าตกใจว่าคนไทยฆ่าตัวตายสำเร็จถึง 4,000 คนต่อปี ซึ่งสาเหตุสำคัญของการฆ่าตัวตายก็คือโรคซึมเศร้านั่นเอง


สาเหตุของโรคซึมเศร้า

ปัจจัยใหญ่ๆที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้แก่

  • พันธุกรรมหรือพื้นฐานดั้งเดิม มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคซึมเศร้า หรือมีลักษณะนิสัยเป็นคนอ่อนไหวง่าย คิดมาก มองโลกในแง่ลบ รวมถึงการมีสารเคมีในสมองที่ไม่สมดุล
  • สภาพแวดล้อมตั้งแต่เด็กจนโต เช่น การเลี้ยงดูของพ่อแม่ อิทธิพลจากคนใกล้ชิดรอบข้าง

โรคซึมเศร้าอาจเกิดจากการมีปัจจัยมากระตุ้นที่ทำให้เกิดความเครียดขึ้นมาก่อน หรืออาจเกิดขึ้นโดยไม่มีปัจจัยมากระตุ้น แต่กรณีนี้เกิดขึ้นได้น้อย

 

ปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงตามมามากมาย ตั้งแต่โรคทางกาย เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไทรอยด์ โรคภูมิแพ้ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคสมองเสื่อม และโรคมะเร็ง นอกจากนี้ผู้ป่วยด้วยโรคซึมเศร้ายังมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้มากกว่าคนปกติ เสียชีวิตจากสารเสพติด หรือแม้กระทั่งฆ่าตัวตาย

 

ประเภทของโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ

  • โรคซึมเศร้าแบบขั้วเดียว คือ ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้าอย่างเดียว
  • โรคซึมเศร้าแบบสองขั้ว หรือที่เรียกว่าไบโพลาร์ ผู้ป่วยมีอาการอารมณ์ขึ้นลงมากกว่าคนทั่วไปจนเกิดผลเสีย

 

อาการของโรคซึมเศร้า

หากคุณสงสัยว่าตัวเองหรือคนใกล้ชิดเป็นโรคซึมเศร้า ให้สังเกตอาการดังต่อไปนี้ หากมีอย่างน้อย 5 อย่างหรือมากกว่าติดต่อกันอย่างน้อย 14 วันและมีอาการเหล่านี้อยู่เกือบทั้งวัน ถือว่าเข้าข่ายเป็นโรคซึมเศร้า

  • มีอารมณ์ซึมเศร้า (เด็กหรือวัยรุ่นอาจมีอาการหงุดหงิด โกรธง่าย)
  • เบื่อ หมดความสนใจหรือความสุขในการทำกิจกรรมต่างๆ
  • นอนไม่หลับ หรือหลับๆตื่นๆหรือหลับมาก
  • เหนื่อยง่ายหรือไม่ค่อยมีแรง
  • เบื่ออาหารหรือกินมากเกินไป
  • รู้สึกไร้ค่า รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง
  • ไม่มีสมาธิหรือลังเลใจไปหมด
  • พูดช้า ทำอะไรช้าลงหรือกระวนกระวาย ไม่อยู่นิ่ง
  • มีความคิดอยากตาย คิดทำร้ายตัวเอง

 

การวินิจฉัยโรคซึมเศร้า

นอกจากจะดูว่าผู้ป่วยมีอาการดังกล่าวข้างต้นอย่างน้อย 5 ข้อเป็นเวลาติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 14 วันแล้ว แพทย์ยังต้องสอบถามรายละเอียดของอาการและเรื่องราวจากผู้ป่วยหรือบางครั้งจากญาติใกล้ชิดร่วมด้วย เพื่อให้เข้าใจผู้ป่วยและแน่ใจว่าผู้ป่วยไม่ได้เป็นโรคทางจิตเวชอื่นๆที่คล้ายคลึงกับโรคซึมเศร้า รวมถึงสอบถามประวัติความเจ็บป่วยอื่นๆเพื่อดูว่าเป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้าหรือไม่

 

การรักษาโรคซึมเศร้า

การรักษาหลักคือ การพูดคุยให้คำปรึกษา การทำจิตบำบัด รวมถึงการใช้ยาในกลุ่มแก้ซึมเศร้าหากมีความจำเป็น โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่รักษาได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะอาการดีขึ้นจนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติและยิ่งมารับการรักษาเร็วเท่าไรอาการก็จะดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว แต่หากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้รักษายากยิ่งขึ้น

 

ผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยยาแก้โรคซึมเศร้า

ปัจจุบันยารักษาโรคซึมเศร้าเป็นยาที่ถือว่าปลอดภัย ไม่ค่อยมีผลข้างเคียง ผู้ป่วยบางคนกลัวผลข้างเคียงจนไม่กล้ากินยาตามที่แพทย์สั่งจนครบ เพราะกลัวว่าจะติดยาหรือกลัวว่ายาทำให้มีอาการมึนงงไปหมด ความจริงแล้วยาแก้ซึมเศร้าไม่มีการติดยาและไม่ทำให้เกิดอาการมึนงงอย่างที่เข้าใจกัน

 

การป้องกัน

การป้องกันโรคซึมเศร้าทำได้โดยปฏิบัติหลักสุขศึกษา คือ

  • อาหาร ให้กินอาหารครบ 5 หมู่ หากขาดสารอาหารบางอย่างไปจะทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้น เช่น โอเมก้า 3 วิตามิน อี ซี ดี ทองแดง ธาตุเหล็ก
  • การออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายสัปดาห์ละอย่างน้อย 4 วันต่อสัปดาห์ ต่อเนื่องกัน 30-40 นาที เป็นการออกกำลังกายเบาๆ เช่น เดินเร็วก็ได้
  • การพักผ่อน นอนหลับให้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องกาย ให้ตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกสดชื่น ไม่ง่วงหรือยังเพลียอยู่
  • การทำสมาธิ (Mindfulness) เพื่อผ่อนคลายจิตใจ มีงานวิจัยมากมายพบว่าการทำสมาธิช่วยให้สมองผ่อนคลาย ลดความเครียดได้
  • การฝึกคิดบวก ป้อนความคิดทางบวกให้กับตัวเองอยู่เสมอเพื่อสร้างให้จิตใจมีความเข้มแข็ง เอาชนะอุปสรรคในชีวิตได้

 

 

 

ข้อมูลข่าว : โรงพยาบาลศรีธัญญา , โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

Image by Ulrike Mai from Pixabay 

++++++++++

 

รวมสิทธิส่งเสริมคุณภาพชีวิต เกาะติดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทันเรื่องราวกระแสสังคม

สัมผัสประสบการณ์ข่าวได้ที่ แอปพลิเคชัน ทรูไอดี (ดาวน์โหลดเลยที่นี่!!)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง