รีเซต

เทคโนโลยีมหัศจรรย์ เปลี่ยนชายอัมพาตใช้กลับมาสื่อสารได้

เทคโนโลยีมหัศจรรย์ เปลี่ยนชายอัมพาตใช้กลับมาสื่อสารได้
TNN ช่อง16
15 กรกฎาคม 2564 ( 21:52 )
89

ข่าวดีของวงการแพทย์และเทคโนโลยี เมื่อชายที่เป็นอัมพาตขั้นรุนแรงคนหนึ่งสามารถกลับมาสื่อสารได้อีกครั้ง ด้วยการใช้เทคโนโลยีรูปแบบใหม่ที่แปลสัญญาณจากสมองเป็นคำปรากฏบนหน้าจอ ซึ่งผลงานชิ้นนี้พัฒนาโดยนักวิจัยที่สถาบัน UC San Francisco และเทคนิคที่ใช้ยังได้รับการกล่าวถึงว่าค่อนข้างเป็นธรรมชาติมากกว่าเทคนิคอื่น ๆ ที่ใช้กับผู้ป่วยที่สูญเสียความสามารถในการพูดอีกด้วย

จนถึงตอนนี้เรามีเทคโนโลยีของอุปกรณ์ neuroprosthetic หรือเป็นอุปกรณ์ฝังที่ออกแบบมาเพื่อทดแทนหรือช่วยการทำงานของประสาทส่วนกลาง ในระดับที่ทำให้ผู้ใช้งานที่เป็นอัมพาต สามารถพิมพ์ตัวอักษรเพื่อสื่อสารได้อยู่แล้ว แต่ระบบที่มีอยู่สามารถทำได้ทีละตัวเท่านั้น ซึ่งช้าและลำบากมาก แต่ระบบ USCF จะใช้การฝังอุปกรณ์เทียมที่สมองบริเวณที่ควบคุมการพูด ด้วยวิธีนี้ก็จะทำให้ระบบสามารถแปลคำทั้งคำไปยังหน้าจอ แทนที่จะแปลแค่ทีละตัวอักษรแบบที่เคยทำ

ซึ่งกว่าจะใช้งานได้จริงแบบนี้ ระบบต้องมีการพัฒนามาก่อน โดยได้รับอาสาจากผู้ป่วยที่สามารถพูดได้ปกติมาเข้ารับการวิเคราะห์กิจกรรมที่เกิดขึ้นในสมองที่ส่งผลต่อการพูด จากนั้นนักวิจัยจึงทำการวิเคราะห์รูปแบบเหล่านั้น และพัฒนาเป็นวิธีการถอดรหัสแบบทันที โดยใช้แบบจำลองภาษาทางสถิติ (statistical language models) เพื่อปรับปรุงความแม่นยำ

 


อย่างไรก็ตาม ทีมงานยังไม่แน่ใจว่าสัญญาณสมองที่ควบคุมระบบเสียงจะยังคงอยู่หรือไม่ในผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตเป็นเวลานาน ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงได้ทำการทดสอบผู้เข้าร่วมที่ไม่ระบุชื่อ (เรียกว่า Bravo1) ซึ่งทำงานร่วมกับนักวิจัยในการสร้างคำศัพท์ 50 คำที่ทีมสามารถถอดรหัสได้ผ่านการใช้อัลกอริทึมคอมพิวเตอร์ขั้นสูง เช่นคำว่า  "น้ำ" "ครอบครัว" และ "ดี" คำเหล่านี้มีจำนวนมากพอที่จะให้ผู้ป่วยสามารถแต่งประโยคได้หลายร้อยประโยคที่สามารถปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ และทีมวิจัยยังนำฟังก์ชัน 

"auto-correct" หรือระบบแก้ไขอัตโนมัติ มาใช้ในการปรับปรุงการถ่ายทอดคำพูดอีกด้วย

สำหรับการทดสอบระบบ  ทีมวิจัยได้ขอให้ Bravo1 ตอบคำถามเช่น "วันนี้คุณเป็นอย่างไร" และ "คุณต้องการน้ำไหม" ซึ่งผู้ป่วยสามารถตอบกลับมาเป็นประโยคซึ่งปรากฏบนหน้าจอว่า "ฉันเก่งมาก" และ "ไม่ ฉันไม่กระหายน้ำ" ถือว่าค่อนข้างสำเร็จทีเดียว โดยตัวระบบนี้ยังสามารถถอดรหัสคำพูดได้มากถึง 18 คำต่อนาทีด้วยความแม่นยำที่ 93% โดยมีค่ามัธยฐานของความแม่นยำที่ 75% ถึงแม้จะดูช้าเมื่อเทียบกับการพูดปกติ แต่เร็วกว่าระบบเทียมที่ใช้กันก่อนหน้านี้มาก

 

 

ถึงแม้ว่าจะทดลองขั้นแรกสำเร็จไปได้ด้วยดี แต่ทีมวิจัยก็ยังวางแผนที่จะขยายการทดลองให้ครอบคลุมผู้เข้าร่วมมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็จะพัฒนาจำนวนคำในคำศัพท์และปรับปรุงอัตราการพูดให้แม่นยำมากขึ้นอีกด้วย

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

engadget

netinbag

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง