รีเซต

ลูกหนี้ 4 กลุ่มได้ไปต่อ เข้ามาตรการ “แบงก์ชาติ” แก้วิกฤตหนี้ได้?

ลูกหนี้ 4 กลุ่มได้ไปต่อ  เข้ามาตรการ “แบงก์ชาติ” แก้วิกฤตหนี้ได้?
TNN ช่อง16
19 พฤษภาคม 2564 ( 16:50 )
88

ระเบิดเวลาหนี้ จากวิกฤตโควิด-19 แม้ลูกเล็กลงเรื่อยๆ แต่ก็ยังน่ากังวล เพราะยังไม่มีใครตอบได้ว่า การแพร่รระบาดโควิด-19 จะจบเมื่อไหร่ และที่ต้องนำเรื่องหนี้กลับมาพูดอีกครั้ง เป็นหนี้ NPL ของหนี้ครัวเรือน ผงกหัวขึ้นอีกครั้ง หลังจากลดลงมาต่อเนื่อง 3 ไตรมาส ท่ามกลางการแพร่ระบาดโควิด-19 รอบล่าสุด


ขณะที่มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย ระยะที่ 3 คลอดออกมา เป็นการช่วยเหลือต่อเนื่อง จากมาตรการระยะที่ 2 เพื่อช่วยกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในปัจจุบันที่ยังรุนแรงอยู่ และเดี๋ยววันนี้จะมาวิเคราะห์กันต่อเนื่องว่าจะช่วยไปจนถึงเมื่อไหร่ 



พาคุณผู้ชมไปดูสถานการณ์หนี้ครัวเรือน ล่าสุด ณ สิ้นปี 2563 ทะลุ 14 ล้านล้านบาทไปแล้ว คิดเป็น 89.3% ของ GDP ทำสถิติสูงสุดรอบ 18 ปีใหม่ มาจาก 2 เหตุผลสำคัญ คือ 1 การเติบโตของหนิ้ภาคครัวเรือน ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.9% แม้จะเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา แต่มันสวนทางกับรายได้ ซึ่งเป็นตัวหารกัน คือ GDP ปี 2563 ซึ่งติดลบถึง 6.1%  


แต่ที่สำคัญที่ยังคงต้องติดตามคือ สถานการณ์หนี้ครัวเรือนของไทย ยังถูกคาดการณ์ว่าจะพุ่งสูงขึ้นทะลุ 90% ต่อ GDP แน่นอนว่ากดดันการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ในระยะยาวอย่างแน่นอน เนื่องจากเป็นหนี้ 90% ของรายได้แบบนี้ ได้มา 100 บาท ต้องใช้หนี้ 90 บาท เหลือเงินไปใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจแค่ 10 บาท จึงต้องยอมรับว่า เศรษฐกิจไทยอาจฟื้นตัวช้า อย่างที่หลายฝ่ายคาดการณ์ 



และอีกข้อมูลหนึ่ง ที่ทำให้หลายคนกังวลเพิ่มมากขึ้น คือ หนี้เสีย หรือ NPL ผงกหัวขึ้นอีกครั้ง จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย สินเชื่ออุปโภคบริโภค หรือ เราเรียกง่ายๆ ว่า หนี้ภาคครัวเรือน กู้มาใช้ กู้มากินในชีวิตประจำวัน ไตรมาส 1 ที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 2.92% เป็นการเพิ่มขึ้นอีกครั้ง หลังจาก หนี้เสียกลุ่มนี้ลดลงมาต่อเนื่อง 3 ไตรมาสติดต่อกัน  


ถ้าลองจับมาชนกับสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในประเทศไทย แน่นอนช่วงปีที่ผ่านมาเราคุมได้ดีต่อเนื่อง จนเกิดการแพร่ระบาดที่สมุทรสาคร เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา และใช้เวลาควบคุมในช่วงต้นปี หรือ ไตรมาส 1 ด้วย ผลกระทบเลยปูดออกมาในตัวการผิดนัดชำระหนี้ เกิน 3 เดือน หรือ หนี้เสียนั้นเอง ที่สำคัญกว่านั้น นี่เป็นตัวเลขที่ยังไม่รวมการแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกเดือนเมษายน และรุนแรงอยู่ในขณะนี้ 


 


แน่นอนว่า เกิดคำถามขึ้นว่า มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย ระยะที่ 2 หรือ มาตรการพักชำระหนี้ ของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่จะหมดอายุลงในเดือน มิ.ย.นี้ จะเพิ่มภาระให้กับภาคครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบหรือไม่ จนนำไปสู่การต่ออายุมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย ระยะที่ 3 ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาใน 4 กลุ่มหลักคือ คนที่มีสินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล ,สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ , สินเชื่อเช่าซื้อ 2 ประเภทนี้แม้จะมีความคล้ายคลึงกัน แต่ ธนาคารแห่งประเทศไทย แยกกลุ่มกันมา เป็นเพราะอะไร เดี๋ยวไปขยายแต่ละกลุ่ม และกลุ่มสุดท้ายคือ สินเชื่อที่อยู่อาศัย 


และสิ่งที่ต้องเตรียม นอกจากเอกสารส่วนบุคคลแล้ว ยังต้องเตรียมเอกสารสำคัญที่ระบุว่า เราได้รับผลกระทบจริง คือ หลักฐานผลกระทบโควิด-19 เช่น หยุดงานชั่วคราว เงินเดือนลดลง, ชั่วโมงการทำงานลดลง เป็นต้น ซึ่งระยะที่ 3 ลักษณะจะเหมือนกับระยะที่ 2 คือ ลูกหนี้ ต้องไปติดต่อธนาคารเอง มาตรการจะเป็นเฉพาะเจาะจง และให้ติดต่อที่ช่องทางออนไลน์ หรือ Call Center แทนที่การเดินทางไปสาขา และ เงื่อนไขคือต้องไม่เป็น NPL หรือ หนี้เสีย ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 โดยระยะเวลามาตรการ ตั้งแต่ 17 พ.ค.-31 ธ.ค.64 


 


4 สินเชื่อหลัก ที่ได้ไปต่อ ข้อแรกคือ สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล สามารถประสานให้ธนาคาร เปลี่ยนเป็นหนี้ระยะยาว หรือ ลดค่างวด ทั้งการ พักชำระเงินต้น หรือ พักชำระดอก เป็นต้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของผลกระทบ จากการประเมินร่วมกันของลูกค้า และธนาคาร , กรณีขยายระยะเวลาชำระหนี้ เกิน 48 งวด แน่นอนว่า ถ้าดอกเบี้ยเท่าเดิม ปริมาณหนี้ก็จะพอกพูนมาก ครั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ธนาคารลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ด้วย และ มาตรการสุดท้าย คือ การรวมหนี้ กับสินเชื่อที่อยู่อาศัย มีหลักประกัน เพื่อที่จะให้อัตราดอกเบี้ยลดลง เท่ากับ MRR หรือ ดอกเบี้ยลูกค้าชั้นดี ขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 5-6% แตกต่างกันเล็กน้อยในแต่ละธนาคาร 



กลุ่มที่ 2 คือ ลูกหนี้ สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ และจักรยานยนต์ กลุ่มนี้มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ก็คือ รถยนต์ หรือ จักรยานยนต์ แน่นอนทางเลือกจะมากกว่าสินเชื่อส่วนบุคคล ถ้าได้รับผลกระทบน้อย ก็ขอลดค่างวดได้ แต่ถ้าได้รับผลกระทบรุนแรง จะเลือกได้  กรณี คือ พักชำระค่างวดไปเลย พักชำระทั้งเงินต้น และพักชำระดอกเบี้ย ซึ่งกรณีลดการชำระ หรือ พักชำระค่างวดนี้ คือ ดอกเบี้ยยังเดินอยู่ ไม่ใช่การ พักหนี้ ที่อันนี้จะไม่คิดดอกเบี้ย 


และถ้าได้รับผลกระทบรุนแรงมากจนไม่สามารถผ่อนต่อไหว แม้จะผ่านสถานการณ์โควิดไปแล้วก็ตาม ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดช่องให้คืนรถ หรือใช้ทรัพย์ที่มี แทนการชำระ โดยไม่ต้องผ่านการดำเนินคดี คือการ นำรถไปขายทอดตลาด และนำเงินมาใช้คืนกับธนาคาร หากเงินจากการขายรถ ไม่พอกับวงเงินหนี้ ลูกหนี้ยังต้องผ่อนชำระต่อเนื่อง ซึ่งต้องเจรจาต่อ สำหรับการลดค่างวด หรือพักชำระหนี้ต่อไป หรือ ในกรณีที่ขายรถแล้ว เกินวงเงินหนี้ ธนาคารจะคืนเงินส่วนต่างกับหนี้ให้ ซึ่งในกรณีนี้ ต้องบอกว่ามีโอกาสน้อยมาก เพราะ ทั้งรถยนต์ และจักรยานยนต์ มีค่าเสื่อม ทำให้การประเมินราคาลดลงไปนั้นเอง 


และสุดท้าย คือการนำไปรวมหนี้กับสินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นทรัพย์ที่มีความมั่นคงมากกว่ารถนั้นเอง 



กลุ่มที่ 3 คือลูกหนี้เช่าซื้อรถยนต์ และจักรยานยนต์ อย่างที่เราเกริ่นไปตอนแรกว่า ลักษณะใกล้เคียงกัน มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ จึงใกล้เคียงกันมาก ทั้งการลดค่างวด พักชำระหนี้ คืนรถ รวมถึงการรวมหนี้ แต่กลุ่มนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย เพิ่มทางเลือกให้ คือ หากใครแม้จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์นี้ แต่มีเงินก้อน และจำเป็นต้องใช้รถ ในการเป็นเครื่องมือดำรงค์ชีวิต หรือ ทำมาหากิน สามารถนำเงินก้อนมาปิดบัญชีได้ โดยธนาคารพาณิชย์ ที่ให้สินเชื่อ ลดอัตราดอกเบี้ยจากที่กำหนดไม่น้อยกว่า 50% 



กลุ่มที่ 4 สินเชื่อสำคัญสำหรับมาตรการช่วยเหลือรอบนี้ เพราะอย่างที่บอกไปว่า ที่อยู่อาศัยเป็นทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง จึงสามารถนำมาเป็นหลักประกันสินเชื่ออีก 3 ประเภทก่อนหน้านี้ ในการรวมหนี้ แต่ต้องบอกว่า อัตราดอกเบี้ยอาจไม่ทำกันกับหนี้ก้อนเดิม เช่น เราอยู่ในช่วงดอกเบี้ยโปรโมชั่น 3 ปี อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 3% แต่หนี้ที่นำมารวมจะเหมือนการกู้เพิ่ม โดยมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน หนี้ที่นำมารวมจึงมีอัตราดอกเบี้ยที่ MRR หรือ ประมาณ 5-6% แล้วแต่ธนาคาร ตามที่เกริ่นไปตอนต้น 


ส่วนมาตรการอื่นๆ สำหรับกลุ่มนี้เอง คือ ขอลดค่างวด ไปจนถึงการพักชำระค่างวด แต่ ย้ำว่า ทุกมาตรการ 4 สินเชื่อที่ออกมารอบนี้ทั้งหมด คือ พักชำระหนี้ คือ ไม่ต้องชำระ แต่ดอกเบี้ยยังเดินทุกสินเชื่อ



มาดูการคาดการณ์ กลุ่มที่อาจต้องใช้มาตรการระยะนี้ คือ กลุ่มที่ยังอยู่ในมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ของธนาคารแห่งประเทศไทย ณ สิ้นเดือน มีนาคม 2564 รวมทั้งสิ้น 3.7 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นสินเชื่อธุรกิจ 1.8 ล้านล้านบาท และสินเชื่อรายย่อย ที่เราโฟกัสกันวันนี้ 1.9 ล้านล้านบาท 


และกลุ่มที่โตสุด คือ สินเชื่อบุคคล และบัตรเครดิต ซึ่งกลุ่มนี้น่าเป็นห่วง เพราะอัตราดอกเบี้ยจะสูงที่สุด มีวงเงินที่ขอรับความช่วยเหลือ 1.1 ล้านล้านบาท ตามมาด้วย สินเชื่อที่อยู่อาศัย 6 แสนล้านบาท และสินเชื่อเข่าซื้อ 2 แสนล้านบาท 



มาตรการรอบนี้ ต่อออกไปจนถึงสิ้นปี เราจะเห็นว่า มีการต่อมา 3 ระยะแล้ว หลายคนมีคำถามว่า จะต้องต่ออายุมาตรการไปถึงเมื่อไหร่ เลยนำไทม์ไลน์ ลูกหนี้ที่ขอรับความช่วยเหลือในทุกกลุ่ม ซึ่งรวมไปถึงสินเชื่อธุรกิจด้วย จะเห็นว่า สูงสุดในเดือนกรกฎาคม 2563 มีมูลค่า 7.1 ล้านล้านบาท และค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ มาจนถึงต่ำที่สุด ในเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา คือ 3.69 ล้านล้านบาท (คือตัวเลขจากกราฟฟิกที่แล้ว ) ต้องบอกว่าลดไปเกือบครึ่งแล้ว โดยการใช้ระยะเวลา 8 เดือน หวังว่า อีก 8 เดือน หนี้กลุ่มนี้จะกลับมาเป็นลูกหนี้ปกติได้ในท้ายที่สุด ซึ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทย ประเมินว่า เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ดีขึ้น จากการฉีดวัคซีนในประเทศ และมีการเปิดประเทศ จะทำให้เศรษฐกิจพื้นตัว และสถานการณ์หนี้จะคลี่คลายมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งขณะนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย ร่วมกับ สถาบันการเงิน ติดตามการแก้ปัญหาหนี้รายย่อยอย่างใกล้ชิด 




มาตรการรอบนี้ ต่อออกไปจนถึงสิ้นปี เราจะเห็นว่า มีการต่อมา 3 ระยะแล้ว หลายคนมีคำถามว่า จะต้องต่ออายุมาตรการไปถึงเมื่อไหร่ เลยนำไทม์ไลน์ ลูกหนี้ที่ขอรับความช่วยเหลือในทุกกลุ่ม ซึ่งรวมไปถึงสินเชื่อธุรกิจด้วย จะเห็นว่า สูงสุดในเดือนกรกฎาคม 2563 มีมูลค่า 7.1 ล้านล้านบาท และค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ มาจนถึงต่ำที่สุด ในเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา คือ 3.69 ล้านล้านบาท (คือตัวเลขจากกราฟฟิกที่แล้ว ) ต้องบอกว่าลดไปเกือบครึ่งแล้ว โดยการใช้ระยะเวลา 8 เดือน หวังว่า อีก 8 เดือน หนี้กลุ่มนี้จะกลับมาเป็นลูกหนี้ปกติได้ในท้ายที่สุด ซึ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทย ประเมินว่า เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ดีขึ้น จากการฉีดวัคซีนในประเทศ และมีการเปิดประเทศ จะทำให้เศรษฐกิจพื้นตัว และสถานการณ์หนี้จะคลี่คลายมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งขณะนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย ร่วมกับ สถาบันการเงิน ติดตามการแก้ปัญหาหนี้รายย่อยอย่างใกล้ชิด 


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง