รีเซต

จริงหรือไม่ ใช่หรือเปล่า ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับ “โควิด-19” ที่ต้องรู้

จริงหรือไม่ ใช่หรือเปล่า ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับ “โควิด-19” ที่ต้องรู้
Ingonn
26 เมษายน 2564 ( 18:40 )
704
จริงหรือไม่ ใช่หรือเปล่า ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับ “โควิด-19” ที่ต้องรู้

เคยไหม? ที่ไม่แน่ใจว่าทำแบบนี้เสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 หรือเปล่า หรือทำแบบนี้เขาว่ากันว่าจะไม่ติดเชื้อโควิด-19 นะ บางครั้งหลายคำถามก็ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนว่าคืออะไร

 

 

วันนี้ True ID ได้หยิบยกคู่มือจากกระทรวงสาธารณสุข ถึง 12 ข้อ ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับโควิด-19 ว่ามีอะไรบ้างที่เราคิดไปเองหรือเปล่า

 

 

12 ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับโควิด


1.โรคโควิด-19 สามารถแพร่เชื้อผ่านสินค้า ที่ผลิตในประเทศที่มีรายงานการระบาดได้หรือไม่?

คำตอบ ถึงจะอยู่บนพื้นผิวได้หลายชั่วโมง แต่สภาวะแวดล้อม การเคลื่อนย้ายและอุณหภูมิต่างๆ ระหว่างขนส่งก็ทำให้ไวรัสคงอยู่ได้ยาก ถ้าเราคิดว่าพื้นผิวนั้นอาจมีการปนเปื้อน ให้ทำความสะอาดด้วยสารฆ่าเชื้อ และหลังจากสัมผัสสิ่งของนั้นให้ล้างมือ

 

2.โรคโควิด-19 สามารถแพร่เชื้อผ่านยุงได้หรือไม่?

คำตอบ ยังไม่มีข้อมูลหลักฐานที่บ่งชี้ว่า ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ โควิด-19 จะสามารถแพร่เชื้อผ่านยุงได้ทางละออง จากการไอ จามหรือน้ำลายของผู้ป่วยได้

 

3.จะมั่นใจได้อย่างไรว่า เสื้อผ้าจะไม่เป็น ตัวแพร่กระจายเชื้อไวรัสโควิด?

คำตอบ นอกจากจะต้องอาบน้ำทุกวัน ต้องนำเสื้อผ้าไปซักด้วยผงซักฟอก หรือสบู่ในน้ำร้อน 60-90 องศาฯ อาจผสมน้ำยาฟอกขาวได้ อบผ้าให้แห้งด้วยเครื่องอบอุณหภูมิสูง หรือตากแดดให้แห้ง รับรองไม่แพร่เชื้อแน่นอน

 

4.การดื่มแอลกอฮอล์ช่วยป้องกันโรคโควิด-19 ได้หรือไม่?

คำตอบ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์ เหล้า ไวน์ ไม่ได้ช่วยป้องกัน การติดเชื้อ แต่ควรป้องกันด้วยการล้างมือบ่อยๆ สวมหน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ผู้ที่เป็นไข้และมีอาการไอ

 

5.จริงหรือที่ว่าโรคโควิด-19 แพร่กระจายได้ แค่ในอากาศแห้งหนาว ไม่แพร่ในอากาศร้อนชื้น?

คำตอบ เชื้อโควิด-19 สามารถแพร่กระจายได้ในทุกสภาพอากาศ ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหน สภาพอากาศใด ก็ต้องปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยที่ดี คือล้างมือบ่อยๆ ปิดปากเวลาไอจาม สวมหน้ากากอนามัย

 

6.เครื่องวัดอุณหภูมิสามารถระบุผู้ป่วย ที่เป็นโรคโควิด-19 ได้ 100% จริงหรือไม่?

คำตอบ ไวรัสอาจใช้เวลา 1-14 วัน ในการทำให้ผู้ติดเชื้อป่วยและมีไข้ ดังนั้นจึงไม่สามารถระบุตัวผู้ติดเชื้อ ที่ยังไม่มีอาการไข้ได้

 

7.นำหลอดไฟยูวีสำหรับฆ่าเชื้อ มาฆ่าเชื้อ โรคโควิด-19 บนร่างกายได้หรือไม่?

คำตอบ ไม่ควรใช้หลอดไฟยูวี ในการฆ่าเชื้อโรคที่มือ หรือส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เพราะรังสียูวีทำให้ผิวหนัง ระคายเคืองได้

 

8.การฉีดพ่นแอลกอฮอล์หรือคลอรีนใส่ตามตัว สามารถฆ่าโควิด-19 ที่อยู่ในร่างกายได้หรือไม่?

คำตอบ ไม่สามารถฆ่าเชื้อที่เข้าไปสู่ร่างกายได้แล้ว ซ้ำยังอาจสร้างความเสียหาย ต่อเสื้อผ้าและเยื่อบุต่างๆ เช่น ตา ปาก

 

9.การกินกระเทียมสามารถป้องกัน การติดโรคโควิด-19 ได้หรือไม่?

คำตอบ ถึงจะมีคุณสมบัติบางอย่างในการต้านเชื้อจุลชีพ แต่ยังไม่มีหลักฐานในปัจจุบัน ว่าป้องกันการติดเชื้อได้

 

10.วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ ป้องกันเราจากโรคโควิด-19 ได้หรือไม่?

คำตอบ เชื้อไวรัสนี้ยังใหม่และแตกต่าง จากสายพันธุ์เดิมอยู่มาก ต้องใช้วัคซีนที่พัฒนามาเฉพาะ ซึ่งทีมวิจัยกำลังพัฒนาอยู่ โดยได้รับการสนับสนุน จากองค์การอนามัยโลก

 

11.การล้างจมูก ด้วยน้ำเกลือเป็นประจำ ป้องกันการติดโรค โควิด-19 ได้หรือไม่

คำตอบ หลักฐานบ่งชี้ว่าการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือจะทำให้เราหายจากหวัดธรรมดาได้เร็ว แต่ไม่ช่วยป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจ หรือโรคโควิด 19 ได้

 

12.มียาป้องกันและรักษาโรคโควิด-19 ได้หรือไม่?

คำตอบ ในปัจจุบันยังไม่มียา ป้องกันและรักษาโดยเฉพาะ ผู้ที่ติดเชื้อควรได้รับการ ดูแลรักษาที่เหมาะสม เพื่อทุเลาและรักษาตามอาการ องค์การอนามัยโลกกำลังเร่งสนับสนุน การวิจัยกับหน่วยงานพันธมิตร และศึกษาวิธีการรักษาโรคนี้ อย่างแข็งขัน

 


ความเชื่อที่ถูกต้องป้องกันโควิด-19


1.เว้นระยะห่างทางสังคม 1-2 เมตร หลีกเลี่ยงแหล่งชุมชนหรือพื้นที่แออัด


2.ปิดปากและจมูกทุกครั้งเมื่อไอหรือจาม โดยยกข้อศอกขึ้นปิดปาก หรือใช้กระดาษทิชชู่


3.ใช้ภาชนะอาหารหรือแก้วน้ำของตนเองเท่านั้น


4.สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน


5.กินอาหารปรุงสุก สะอาด ใช้ช้อนกลาง


6.ติดตามข้อมูลข่าวสารที่น่าเชื่อถือ


7.ล้างมือบ่อยๆด้วยสบู่และน้ำ หรือเจลแอลกอฮอล์ ก่อนกินอาหารหรือหลังหยิบจับสื่งของ


8.งดการสัมผัส ตา จมูกและปาก ด้วยมือเปล่า

 

 

 

 


ข้อมูลจาก “KnowCovid รู้ทันโควิด”กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่ นคงของมนุษย์ และ องค์การอนามัยโลก (WHO) ประเทศไทย ร่วมสนับสนุนข้อมูลโดย กระทรวงสาธารณสุข , สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง