จ่อหั่น GDP ไทยปีนี้โตต่ำกว่า 2.5 % เปิด 3 ปัจจัยหลักแนวโน้มนโยบายดอกเบี้ย

ดร.สักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแหงประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. วันที 30 เมษายนนี้ น่าจะทบทวนปรับประมาณการเศษฐกิจไทยหรือจีดีพีปีนี้ลดลงต่ำกว่าร้อยละ 2.5 ที่ประเมินไว้การประชุมกนง.เดือนกุมภาพ้นธ์ที่ผ่านมา เนื่องจากภาษีตอบโต้ที่สหรัฐฯเรียกเก็บกับไทยร้อยละ 36 สูงกว่าที่คาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ร้อยละ 10 เท่าน้้น
แนวโน้มนโยบายดอกเบี้ย
ดร.สักกะภพกล่าวว่า จะดูจากทั้ง 3 ปัจจัยหลักคือ การเติบโตทางเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และเสถียรภาพระบบการเงิน ซึ่งขณะนี้ชัดเจนว่าด้านเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก และกนง.ครั้งก่อนก็ได้ให้น้ำหนักด้านเศรษฐกิจ จึงปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25
อย่างไรก็ดี ผลกระทบของภาษีตอบโต้ครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นกระทบกลุ่มผู้ส่งออก หรือภาคการผลิต ดังนั้นมาตการในการปรับตัวหรือรับมือควรเน้นด้านการผลิตเป็นสำคัญ
ทั้งนี้ ธปท. ได้วิเคราะห์ผลกระทบเบื้องต้นของนโยบายการค้าโลกต่อเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะด้านการส่งออกพบว่า การส่งออก: เป็นช่องทางหลักที่ได้รับผลกระทบจากภาษีตอบโต้ แต่ยังมีความไม่แน่นอนของนโยบายภาษี เพราะมีการชะลอการบังคับใช้ reciprocal tariff ออกไป 90 วัน จึงคาดว่าจะเริ่มเห็นผลกระทบชัดเจนขึ้นตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปีเป็นต้นไป
โดยการส่งออกไทยไปสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 18 ของการส่งออกทั้งหมดของไทย และคิดเป็นร้อยละ 2.2 ของจีดีพี โดย sector หลัก ๆ ที่จะได้รับผลกระทบ ได้แก่ ยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า และอาหารแปรรูป
นอกจากนี้ จะมีผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทยที่อยู่ใน supply chain ของโลก ที่ผลิตเพื่อส่งออกไปสหรัฐฯ ด้วย ได้แก่ ยาง ชิ้นส่วนยานยนต์ เหล็ก และเคมีภัณฑ์ คิดเป็นประมาณร้อยละ 4.3 ของการส่งออกไทย
ทั้งนี้ พบว่าผู้ส่งออกไทยไปสหรัฐฯโดยตรง และโดยอ้อม เป็นผู้ส่งออกขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SME ราว 4,990 ราย โดยส่วนใหญ่มีความเสี่ยงจะได้รับผลกระทบหากมีการบังคับใช้ภาษีตอบโต้ ยกเว้นผู้ส่งออกกลุ่มอิเลกทรอนิกส์ ทองแดง ยา และไม้ ที่สหรัฐฯยังเก็บภาษีนำเข้าเท่าเดิม ในกลุ่มนี้มีผู้ประกอบการเอ็สเอ็มอีเพียง 190 รายเท่าน้้น
ดร.สักกะภพ กล่าวว่า ธปท. จะติดตามสถานการณ์ภาพรวมอย่างใกล้ชิด และจะจับตาโอกาสที่อาจเกิด disruption หรือการหยุดชะงัก ใน sector สำคัญที่ส่งออกไปสหรัฐฯ รวมถึงการเข้ามาแข่งขันของสินค้านำเข้า และจะดูแลการทำงานของกลไกตลาดต่าง ๆ ให้ดำเนินเป็นปกติอย่างต่อเนื่อง