รีเซต

นักวิทยาศาสตร์ผู้ 'คุยกับกบได้' วิตกว่า กบบางชนิดในออสเตรเลีย จะสูญพันธุ์

นักวิทยาศาสตร์ผู้ 'คุยกับกบได้' วิตกว่า กบบางชนิดในออสเตรเลีย จะสูญพันธุ์
TNN World
28 มิถุนายน 2564 ( 09:51 )
79
นักวิทยาศาสตร์ผู้ 'คุยกับกบได้' วิตกว่า กบบางชนิดในออสเตรเลีย จะสูญพันธุ์

Editor’s Pick: นักวิทยาศาสตร์ผู้ 'คุยกับกบได้' วิตกว่า กบบางชนิดในออสเตรเลีย จะสูญสิ้นสายพันธุ์จากภัยคุกคามด้านสิ่งแวดล้อม

 

นักเลียนเสียงกบ


การได้ลุยสระน้ำธรรมชาติใต้แสงจันทร์ และได้สนทนากับกบทำให้ไมเคิล มาโฮนี รู้สึกเหมือนกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง

 


ศาสตราจารย์ด้านชีววิทยาและนักอนุรักษ์วัย 70 ปี จากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ของออสเตรเลีย เชี่ยวชาญในการเลียนแบบและทำความเข้าใจเสียงแหลม เสียงคำราม และเสียงหวีดของกบ เพื่อค้นหาพวกมันในป่า และตื่นเต้นทุกครั้งที่ได้ยินเสียงกบร้องกลับมา

 


มาโฮนี เล่าว่า เขาหลงไหลในการคุยกับกบมาก ๆ จนบางครั้งถึงกับลืมทำงานไปเลย แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกวัยชรา กลัวว่ากบเหล่านี้เสี่ยงที่จะสูญหายไป

 

 

 

กบกำลังถูกคุกคาม 


ออสเตรเลียมีกบประมาณ 240 สปีชีส์ แต่ประมาณ 30% ของพวกมันถูกคุกคามในหลายรูปแบบ อาทิ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มลพิษทางน้ำ การสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัย และเชื้อราบางชนิด, มาโฮนีกล่าวว่า กบเป็นสัตว์ที่ถูกคุกคามมากที่สุดในบรรดาสัตว์มีกระดูกสันหลังทั่วโลก

 


“สัตว์เหล่านี้กำลังบอกว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมของเรา หากพวกมันกำลังตาย เราต้องดูสภาพแวดล้อมและหาว่ามีอะไรผิดปกติ” มาโฮนีกล่าว 

 


"พวกมันเหมือนกับนกขมิ้นเตือนภัยในเหมือง พวกมันกำลังบอกเราว่าเราไม่ได้ดูแลโลกใบนี้ให้ดีนัก"

 

 


ขบขันแต่คุ้มค่า


นักเรียนของมาโฮนีคนหนึ่งกล่าวว่า วิธีการของเขาดูน่าขบขัน แต่ก็คุ้มค่า

 


ซาแมนธา วอลเลซ นักศึกษาปริญญาเอกและนักวิจัยด้านกบของมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล กล่าวว่า “ฉันไม่เคยตะโกนใส่กบ เพื่อหาว่าพวกมันอยู่ที่ไหน แต่มันได้ผลแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณพยายามค้นหากบบางสปีชีส์ ซึ่งอยู่ท่ามกลางพงหญ้า และพวกมันหาตัวยากมาก”

 


นอกเหนือจากการทำงานเพื่อรักษาถิ่นที่อยู่ของกบทั่วออสเตรเลีย มาโฮนีช่วยพัฒนาวิธีการแช่แข็งเพื่อเก็บรักษา และนำกบกลับมาจากการสูญพันธุ์ด้วยสิ่งที่เรียกว่า ธนาคารพันธุกรรม 

 

 


ธนาคารพันธุกรรมสำหรับกบ


ตลอดอาชีพการทำงานของเขา มาโฮนีได้ตรวจพบกบสปีชีส์ใหม่ถึง 15 สายพันธุ์ อย่างไรก็ตาม เขาพบว่าสายพันธุ์แรกที่เจอกลับสูญพันธุ์ไปเสียก่อน 

 


“จริง ๆ เราอยากจะช่วยชีวิตสัตว์ในธรรมชาติตามปกติ แต่เราตระหนักดีว่าเมื่อใดที่สิ่งต่าง ๆ เลวร้ายลงจริง ๆ เราต้องสร้างหลักประกันไว้” มาโฮนี กล่าว

 


"เมื่อเผชิญกับปัญหาการสูญเสียสายพันธุ์อย่างร้ายแรง สิ่งแรกที่เราต้องทำคือการจัดตั้งธนาคารพันธุกรรมสำหรับกบแห่งแรกในออสเตรเลีย"

 


“ส่วนที่เศร้าที่สุดในอาชีพของผมอาจเป็นเพราะตอนเป็นวัยรุ่น ผมไม่ได้ทำอะไรนอกจากเรียนให้จบ ผมค้นพบกบตัวหนึ่ง และภายใน 2 ปีหลังจากนั้น ผมพบว่ากบนั้นสูญพันธุ์” มาโฮนี เล่า “และในช่วงเริ่มต้นอาชีพของผม ผมถึงรู้ว่ากบบางชนิดอ่อนแอเพียงใด”

 

 

สัตว์ในออสเตรเลียกำลังถูกคุกคามอย่างรุนแรง


มาโฮนียังร่วมกับนักวิทยาศาสตร์คนอื่น ๆ ดำเนินการศึกษาด้วยการสนับสนุนจากองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) พบว่า สัตว์ในออสเตรเลียเกือบ 3 พันล้านตัวเสียชีวิตหรือต้องพลัดถิ่นจากไฟป่าในปี 2019 และ 2020 รวมถึงกบกว่า 51 ล้านตัวด้วย
ความหลงใหลในการอนุรักษ์ และวิธีการอันหลากหลายของมาโฮนี  ส่งอิทธิพลให้กับนักเรียนหลาย ๆ คนของเขา เช่น ดร.ไซมอน คลูโลว์ หนึ่งในลูกศิษย์ของมาโฮนี ตั้งชื่อคางคกที่เพิ่งค้นพบในปี 2016 เพื่อเป็นเกียรติแก่มาโฮนีว่า  'Mahony's Toadlet' อีกด้วย 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง