รีเซต

9 เดือน 9 ส่อง 9 เรื่องน่ารู้อภิปรายทั่วไปรัฐบาล

9 เดือน 9 ส่อง 9 เรื่องน่ารู้อภิปรายทั่วไปรัฐบาล
TrueID
8 กันยายน 2563 ( 13:01 )
281
9 เดือน 9 ส่อง 9 เรื่องน่ารู้อภิปรายทั่วไปรัฐบาล

วันที่ 9 กันยายน 2563  พรรคฝ่ายค้านขอเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ พาไปดูกับ 9 เรื่องน่ารู้ในการอภิปรายครั้งนี้

 

     การอภิปรายทั่วไป (General Debate) หมายถึง กระบวนการทางการเมืองรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเปิดให้มีการพิจารณาและปรึกษาเรื่องสําคัญ ที่มีผลกระทบต่อประโยชน์ได้เสียของชาติรวมทั้งประเด็น ปัญหาทางการเมืองในที่ประชุมสภา ซึ่งสมาชิกทุกคนมีหน้าที่และความรับผิดชอบในกระบวนการทางการเมือง ดังกล่าว ดังนั้น จึงต้องอภิปรายแสดงความคิดเห็นและตัดสินใจอย่างหนึ่งอย่างใด ด้วยความเป็นอิสระและ เที่ยงธรรมเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริง 

 

การอภิปรายทั่วไปมี 2 รูปแบบ คือ

 

1. การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจมี 2 ลักษณะ โดยทั่วไปการเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจจะกระทําได้เฉพาะการประชุมสภาผู้แทนราษฎร คือ

  • การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี
  • การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล

 

2. การอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติมี 3 ลักษณะ โดยทั่วไปการเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป โดยไม่มีการลงมติจะกระทําในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา การประชุมสภาผู้แทนราษฎร และการประชุม วุฒิสภา แล้วแต่กรณี

  • การเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาโดยไม่มีการลงมติ
  • การเปิดอภิปรายทั่วไปในสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดง ความคิดเห็นในปัญหาอันเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่มีการลงมติ
  • การเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภาเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาสําคัญ เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่มีการลงมติ

 

ทั้งนี้ การอภิปรายทั่วไปครั้งนี้อยู่ในความสนใจเป็นอย่างมาก เพื่อพิจารณาญัตติเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเรื่องวิกฤติทางเศรษฐกิจและวิกฤติทางการเมืองโดยไม่มีการลงมติ ตามมาตรา 152 ทาง TrueID News ได้รวบรวมการอภิปรายครั้งนี้ไว้ให้แล้ว

 

9 เรื่องน่ารู้อภิปรายทั่วไปรัฐบาล

 

1. สุทิน คลังแสง ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน กล่าวว่า ยอมรับเป็นไปได้ที่เนื้อหาจะเชื่อมโยงกับการชุมนุม 19 ก.ย. ที่กำลังจะถึง แต่ไม่ได้เกิดจากความตั้งใจของฝ่ายค้าน

 

นายสุทิน คลังแสง

 

2. มี 3 ประเด็นในการอภิปรายครั้งนี้ คือ 

  • วิกฤตเศรษฐกิจภาพรวม ซึ่งรัฐบาลล้มเหลวทางด้านแก้ไข รวมถึงมีความเสี่ยงต่อการทุจริตในภาระงานด้านต่าง ๆ 
  • ปัญหาระดับเจาะลึก เช่น ปัญหาสินค้าเกษตร แต่ละด้าน
  • วิกฤตทางการเมือง และเรื่องทุจริต โดยฝ่ายค้านจะเน้นเรื่อง การจัดซื้อเรือดำน้ำ อีกด้วย

 

3. เตรียมยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญ 4 ประเด็น

  • มาตรา 272 เรื่องการริบอำนาจ ส.ว.โหวตเลือกนายกฯ
  • มาตราที่เกี่ยวกับระบบการเลือกตั้ง เพื่อให้กลับไปใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบเหมือนเดิม
  • มาตราเกี่ยวกับที่มา ส.ว. จะแก้ไขให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
  • มาตราที่เกี่ยวข้องกับผลพวงจากคำสั่งยึดอำนาจของ คสช. ที่ยังหลงเหลืออยู่ และเกิดผลกระทบต่อประชาชน

 

4. ช่วงเวลาในการอภิปราย ฝ่ายค้านมีเวลา 10 ชม. ส่วนรมต.และส.ส.รัฐบาล 5 ชม. และมีเวลาการทำหน้าที่ประธานสภา 2 ชม. รวมถึงการอภิปรายครั้งนี้จะไม่เกินเที่ยงคืน

 

5. ฝ่ายค้านจะเสนอให้นายกรัฐมนตรี ลาออก จากตำแหน่งนายกฯ เพื่อปลดล็อคปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมด

 

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ภาพAFP

 

6. ขอเปิดสภาวิสามัญเร่งให้เร็วขึ้น เพื่อให้ลงมติวาระ 3 ได้ในปลายเดือน ต.ค. จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการเลือก ส.ส.ร. และได้ ส.ส.ร.ก่อนสิ้นปี 2563 เป็นการเร่งขั้นตอนการแก้รัฐธรรมนูญให้เร็วขึ้น

 

7. นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด โฆษกพรรคเพื่อไทย มี 5 เงื่อนไขกดดันรัฐบาล

  • การประชุมสภาเพื่อเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 152 ฝ่ายค้านจะเปิดแผลการบริหารที่ไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาล
  • วันที่ 10 ก.ย. พิจารณารายงานของ กมธ.วิสามัญศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ
  • วันที่ 16-18 ก.ย. ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564
  • วันที่ 19 ก.ย. ครบรอบ 14 ปีรัฐประหารปี 2549 ที่เป็นวันนัดชุมนุมใหญ่เช็กบิลรัฐบาล ของนักเรียน นิสิต นักศึกษา ประชาชน จะมีความชัดเจน พล.อ.ประยุทธ์จะลาออกหรือยุบสภา
  • วันที่ 23-24 ก.ย. ประชุมร่วมรัฐสภาพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทุกฉบับ ปัจจัยผลไม้พิษจากต้นไม้ที่เป็นพิษ กำลังส่งผลต่อรัฐธรรมนูญที่เขียนเพื่อให้ฝ่ายตัวเองได้เปรียบ แต่บ้านเมืองเสียหาย วันนี้กำลังกลายเป็นปัจจัยที่สุกงอม นำไปสู่การขับไล่รัฐบาล

 

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด

 

8. ปัญหาการจ่ายเงินเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจจากสถานการณ์โควิด-19 ล่าช้า และผลกระทบจาก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ต่อการบริหารจัดการ

 

9. การอภิปรายครั้งนี้ฝ่ายค้านจะเน้นผลกระทบจากความผิดพลาดในการบริหารเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารจนทำให้เศรษฐกิจไทยหดตัวรุนแรง  แย่ลงในทุกด้าน รวมทั้งฐานะการคลังของรัฐเปราะบาง มีการกู้เงินสูงมาก ทำให้หนี้สาธารณะสูงถึง 58 เปอร์เซ็นต์เกือบชนกรอบเพดานการคลัง 

 

เมื่อรวมเรื่องอภิปรายทั่วไปทั้ง 9 ข้อ จะมีผลสรุปอย่างไร ต้องติดตามกันต่อไป

 

ขอบคุณข้อมูล : thairathnationweekend, dailynews   

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง