รีเซต

ภาษาไทยวันนี้ ส่วยคืออะไร? หลังปมร้อน ส่วยทางหลวง สนั่นโซเชียล!

ภาษาไทยวันนี้ ส่วยคืออะไร? หลังปมร้อน ส่วยทางหลวง สนั่นโซเชียล!
TeaC
30 พฤษภาคม 2566 ( 13:23 )
168
ภาษาไทยวันนี้ ส่วยคืออะไร? หลังปมร้อน ส่วยทางหลวง สนั่นโซเชียล!

ส่วยทางหลวง ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ ปมร้อนสนั่นโซเชียล! หลังว่าที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรรคก้าวไกลออกมาโพสต์ข้อมูลสติกเกอร์ติดบนรถบรรทุก และหลายสำนักข่าวรายงานข่าวต่อเนื่อง ล่าสุดเกิดแฮชแท็ก "ส่วยทางหลวง" ติดอันดับที่สังคมออนไลน์ต่างรีทวิตและถกเถียงต่าง ๆ นานา 

 

ส่วยทางหลวง สนั่นโซเชียล!

 

ภาษาไทยวันนี้ จะพาไปทำความรู้จักความหมาย คำว่า ส่วยคืออะไร? ส่วย มีความหมายอย่างไร ให้ได้ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องกัน

 

ส่วยทางหลวง ปมร้อน ติดอันดับทวิตเตอร์

ส่วยทางหลวง ปมร้อนสนั่นโซเชียล โดยประเด็นดังกล่าวที่เกิดขึ้นนั้น สรุปม้วนเดียวจบมาให้แล้ว

 

  1. เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2566 นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ว่าที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรรคก้าวไกล ออกมาโพสต์ข้อมูลสติกเกอร์ติดบนรถบรรทุก หรือ "ส่วยสติ๊กเกอร์" "ส่วยรถบรรทุก" ที่มีราคาสูงเพื่อแลกกับการอำนวยความสะดวกของบรรดารถบรรทุกสินค้าน้ำหนักเกิน และผิดกฎหมาย  ผ่านเฟซบุ๊ก Wiroj Lakkhanaadisorn - วิโรจน์ ลักขณาอดิศร

  2. กลายเป็นประเด็นร้อนแรงเขย่าแวดวงสีกากี ซึ่งวันเดียวกัน พล.ต.ท.อาชยน ไกรทอง โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ออกมาเปิดเผยกรณีที่มีการกล่าวอ้างว่ามีการติดสติ๊กเกอร์ที่รถบรรทุก เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่ามีการจ่ายเงินเจ้าหน้าที่ เพื่อให้รถบรรทุกสามารถบรรทุกน้ำหนักเกินได้ หรือเป็นลักษณะ "ส่วยรถบรรทุก"


  3. และ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้สั่งการให้จเรตำรวจ ลงตรวจสอบกรณีดังกล่าวโดยเร่งด่วน และลงโทษขั้นเด็ดขาด อ่านต่อ : ส่วยรถบรรทุก! ผบ.ตร.สั่งสอบหากพบตำรวจเกี่ยวข้องให้ลงโทษเด็ดขาด


  4. ส่วน กรมทางหลวง ได้ออกมาระบุ พบ รถบรรทุกน้ำหนักเกิน ในเดือน พฤษภาคม ติดสติ๊กเกอร์สีฟ้า 3 คัน ที่ผ่านมาจับกุมเพิ่มขึ้นทุกปี พร้อมกำชับให้ด่านตรวจกรมทางหลวง 97 แห่งทั่วประเทศเข้มงวดมากขึ้น


  5. ขณะที่ นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยคมนาคม สั่งตรวจสอบ "สติ๊กเกอร์ส่วยรถบรรทุก" ทันที อ่านต่อ : กระทรวงคมนาคม ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการติดสินบนเจ้าหน้าที่โดยใช้สติกเกอร์ติดรถบรรทุก

     

  6. พล.ต.ต.เอกราช ลิ้มสังกาศ ผู้การตำรวจทางหลวง ได้ให้สัมภาษณ์ประเด็นเรื่อง "ส่วยสติ๊กเกอร์" ให้หลายสำนักข่าว โดยคำตอบระบุว่า ปัญหาเรื่องนี้เป็นปัญหาเรื่องรถบรรทุกหนัก เรื่องของส่วยก็ดี เรื่องอะไรก็ดี มันเป็นปลายเหตุ


  7. ล่าสุด นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ได้ออกมาโพสต์ภาพจากข่าวการให้สัมภาษณ์ของ พล.ต.ต.เอกราช ลิ้มสังกาศ ผู้บังคับการตำรวจทางหลวง (ผบก.ทล.) ลงในเฟซบุ๊ก เมื่อช่วงค่ำวันที่ 29 พ.ค. 66 มีข้อความว่า


  8. ต้นเหตุจะเป็นอะไรก็ช่าง แต่ตำรวจจะเอามาอ้างเป็นเหตุในการรีดไถ เก็บส่วยไม่ได้!!! ผิดกฎหมาย ก็จับ ปรับ ดำเนินคดี กฎหมายไม่สอดคล้องในทางปฏิบัติ ไม่ทันสมัย โทษไม่สมสัดส่วน มีช่องว่างให้เรียกรับผลประโยชน์ ก็แก้ไขกฎหมายให้เหมาะสม ต้นทางจะเป็นอะไรก็แล้วแต่ แต่ปลายทาง มันต้องไม่ใช่ “ส่วย” แน่ๆ”


  9. ทั้งนี้ ปมร้อน สติ๊กเกอร์รถบรรทุก ทำให้สังคมออนไลน์ต่างวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ นานา จนเกิดแฮชแท็ก ส่วยทางหลวง ในที่สุด

 

 

 

แฮชแท็ก ส่วยทางหลวง ติดอันดับทวิตเตอร์

 

 

ส่วนคืออะไร? ราชบัณฑิต

ทั้งนี้ จากกระแสข่าวเรื่อง สติ๊กเกอร์รถบรรทุก และแฮชแท็ก ส่วยทางหลวง สังคมออนไลน์ให้ความสนใจ วันนี้จะพาไปรู้จักความหมายของคำว่า "ส่วย" โดยข้อมูลคำว่า "ส่วย" จากพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 จัดเก็บเอาไว้ว่า หมายถึง

  • (โบ) น. รายได้แผ่นดินประเภทหนึ่ง เรียกเก็บเป็นสิ่งของหรือเงินตราแทนการเข้าเดือนหรือการรับราชการ
  • น. สิ่งของพื้นเมืองที่เมืองหลวงเรียกเกณฑ์จากหัวเมืองเป็นประจำเพื่อใช้ประโยชน์ในราชการ
  • น. บรรณาการจากประเทศราช
  • น. ชนชาติพูดภาษาตระกูลมอญ-เขมรพวกหนึ่ง อยู่ทางภาคอีสาน

 

 

ส่วยคือภาษีอะไร?

นอกจากความหมายคำว่า "ส่วย" ข้างต้นแล้ว ยังมีข้อมูลจาก กรมสรรพากร ได้อธิบายถึง ประวัติการจัดเก็บภาษี ในแต่ละสมัย โดย การจัดเก็บภาษีอากรในสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893 - พ.ศ. 2310) ก็มีคำว่า "ส่วย" ปรากฏอยู่ด้วย ซึ่ง ความหมายของ "ส่วย" นั้นสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า หมายถึง


  • สิ่งของที่รัฐบาลเรียกร้องเอาจากเมืองที่อยู่ภายใต้ปกครอง หรืออยู่ในความคุ้มครองเป็นค่าตอบแทนการปกครองหรือคุ้มครอง ส่วยตามความหมายนี้จึงมีลักษณะเป็นเครื่องราชบรรณาการ

  • เงินช่วยราชการตามที่กำหนดเรียกเก็บจากราษฎรชายที่มิได้รับราชการทหารเป็นรายบุคคล เนื่องจากสังคมไทยแต่ดั้งเดิม มีระบบเกณฑ์แรงงานจากราษฎร โดยรัฐไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง แต่จะให้ความคุ้มครองทางกฎหมายเป็นการตอบแทน ทั้งนี้เดิมราษฎรที่ถูกเกณฑ์แรงงาน จะมาประจำการเป็นเวลาปีละ 6 เดือน โดยผู้ที่ไม่มารับราชการเมื่อถึงเวรของตน จะต้องเสียส่วยเรียกว่า ส่วยแทนแรง เพื่อที่ราชการจะได้จ้างคนมาทำงานแทน ส่วยแทนแรง เพื่อที่ราชการจะได้จ้างคนมาทำงานแทน ส่วยแทนแรงนี้ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเงินรัชชูปการในระยะต่อมา (รัชกาลที่ 6)

  • เงินที่ทางราชการกำหนดให้ราษฎรร่วมรับภาระในการกระทำบางอย่าง เช่น เกณฑ์ให้ช่วยสร้างป้อมปราการ เป็นต้น

  • ทรัพย์มรดกของผู้มรณภาพซึ่งต้องถูกริบเป็นของหลวง อันเนื่องจากเกินกำลังของทายาทที่จะเอาไว้ใช้สอย เป็นต้น



และนี่คือความหมายของคำว่า "ส่วย" ที่มีหลายความหมายมาให้ได้เข้าใจ ภาษาไทย กันมากขึ้น 

 

ข้อมูล : 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง