รวมคำถามการลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด-19 ผ่านเว็บไซต์ ไทยร่วมใจ
กรุงเทพมหานครและภาคีเครือข่าย ได้เปิดระบบลงทะเบียนฉีดวัคชีนโควิด-19 "ไทยร่วมใจ กรุงเทพปลอดภัย" ผ่าน www.ไทยร่วมใจ.com เพื่ออำนวยความสะดวกประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ ให้ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 นอกโรงพยาบาลได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง โดยประชาชนผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร มีอายุตั้งแต่ 18-59 ปี ซึ่งไม่ได้เป็น 7 กลุ่มโรคเสี่ยง สามารถลงทะเบียนจองรับบริการฉีดวัคซีนโควิดทางเว็บไซต์ www.ไทยร่วมใจ.com หรือผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” หลังจากนั้นจะเปิดระบบให้จองทุกวันตั้งแต่ 09.00-22.00 น.
โดยแยกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ได้แก่ กลุ่มที่เคยเข้าร่วมโครงการภาครัฐ โดยมีแอปฯ “เป๋าตัง” จะมีข้อมูลส่วนตัวอยู่ในระบบแล้วจึงไม่ต้องกรอกข้อมูลใหม่ สามารถแจ้งความประสงค์รับการฉีดวัคซีนและรอรับ SMS ยืนยันได้รับการจัดสรรวัคซีน แต่หากลบแอปฯ เป๋าตังไปแล้ว ให้ดำเนินการนัดหมายผ่าน www.ไทยร่วมใจ.com
กลุ่มที่ 2 ได้แก่ กลุ่มที่ "ไม่เคย" เข้าร่วมโครงการภาครัฐ สามารถลงทะเบียนบนเว็บไซต์ www.ไทยร่วมใจ.com และรอรับ SMS แจ้งผลการจัดสรรวัคซีน และนัดหมายวัน เวลา สถานที่ฉีดวัคซีน ผ่าน www.ไทยร่วมใจ.com หรือ แอปฯ เป๋าตัง ตามที่ได้ลงทะเบียนไว้
กลุ่มที่ 3 ได้แก่ กลุ่มไม่มีสมาร์ทโฟน สามารถให้บุคคลในครอบครัวลงทะเบียนแทนได้ ผ่าน www.ไทยร่วมใจ.com ไม่จำกัดจำนวนครั้งที่ลงทะเบียนแทน โดยระบบจะส่ง SMS แจ้งเตือนตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้ลงทะเบียน หรือ สามารถลงทะเบียนที่ร้านค้าสะดวกซื้อ ณ ร้าน 7-eleven, Family Mart , Tops Daily และ mini Big C ซึ่งเปิดเป็นจุดรับลงทะเบียน ช่วงเวลา 08.30 – 18.00 น.
สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการลงทะเบียนรับบริการฉีดวัคซีนได้ที่ Call Center : โทร.1516 ระหว่างเวลา 08.00 - 20.00 น.
เลือกรับวัคซีนได้ที่หน่วยบริการนอกโรงพยาบาล 25 จุด
ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครร่วมมือกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย โรงพยาบาลเครือข่าย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดเตรียมสถานที่ฉีดวัคซีนของภาคเอกชน "ไทยร่วมใจ กรุงเทพปลอดภัย" เพื่อให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 นอกโรงพยาบาล จำนวน 25 จุด ดังนี้
1. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
2. เดอะสตรีท รัชดา
3. เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว
4. ศูนย์ฉีดวัคซีน SCG สำนักงานใหญ่บางซื่อ
5. ธนาคารไทยพาณิซย์ สำนักงานใหญ่
6. มหาวิทยาลัยศรีปทุม (ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีไทยบริหารธุรกิจ)
7. เซ็นทรัลเฟสติวัล อีสต์วิลล์
8. ไทยพีบีเอส
9. สามย่านมิตรทาวน์
10. เอเชียทีค
11.ทรูดิจิทัลปาร์ค
12.ธัญญาพาร์ค
13. เซ็นทรัลเวิลด์
14. สยามพารากอน
15. โลตัส พระราม 4
16. เดอะเอ็มโพเรียม
17. เดอะมอลล์ บางกะปี
18. โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ลาดกระบัง
19. โลตัส มีนบุรี
20. บิ๊กซี ร่มเกล้า
21. ไอคอนสยาม
22. เซ็นทรัลพลาซ่า ปิ่นเกล้า
23. เดอะมอลล์ บางแค
24. บิ๊กซีบางบอน
25. PTT Station พระราม 2 ขาออก (กม.12)
แต่เมื่อการเปิดลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ ไทยร่วมใจ อาจยังมีปัญหาบางอย่างที่ยังไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน วันนี้ TrueID จึงได้รวบรวม คำถามที่พบบ่อย พร้อมแนวทางการแก้ไข เมื่อต้องลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์มาฝากกัน ใครติดปัญหาตรงไหน ไปดูกันเลย
26 คำถามคาใจ กับเว็บไซต์ ไทยร่วมใจ
1.การลงทะเบียนจองวัคซีนโควิด-19 ของกรุงเทพมหานครมีกี่ช่องทาง
ตอบ 1.แอปพลิเคชัน “เป๋าตัง”
2.เว็บไซต์ www.ไทยร่วมใจ.com
3.ร้านสะดวกซื้อที่กำหนด เช่น เซเว่นอีเลฟเว่น , ท็อปเดลี่ , แฟมิลี่มาร์ท , มินิบิ๊กซี
2.อาศัยอยู่ต่างจังหวัดสามารถลงทะเบียนจองวัคซีนโควิด-19 ของกรุงเทพมหานครได้หรือไม่
ตอบ การลงทะเบียนจองวัคซีนโควิด-19 ไทยร่วมใจ กรุงเทพฯ ปลอดภัย สำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครเท่านั้น
3.ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ประกอบการลงทะเบียนจองวัคซีนโควิด-19 ผ่านเว็บไซต์ www.ไทยร่วมใจ.com
ตอบ ใช้เพียงบัตรประชาชนใบเดียว
4.คนไม่มีแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” สามารถดาวน์โหลดตอนนี้ เพื่อทำการลงทะเบียนจองวัคซีนโควิด-19 ได้หรือไม่
ตอบ สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” เพื่อทำการจองวัคซีนได้ หรือสามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.ไทยร่วมใจ.com หรือร้านสะดวกซื้อที่กำหนดก็ได้เช่นกัน
5.หากต้องการลงทะเบียนจองวัคซีนโควิด-19 ผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ต้องเข้าเมนูไหน
ตอบ เมื่อเข้าไปที่หน้าแรกของแอปพลิเคชันให้เลือกเมนู “ไทยร่วมใจ”
6.หากลงทะเบียนจองวัคซีนโควิด-19 ที่แอปพลิเคชัน “เป๋าตัง”ไว้แล้ว แต่มีการเปลี่ยนโทรศัพท์ หรือเบอร์โทรศัพท์ ต้องทำอย่างไร
ตอบ หากมีการเปลี่ยนโทรศัพท์ หรือเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ลงมาได้ใหม่ ข้อมูลที่ท่านลงทะเบียนไว้ยังอยู่คงเดิม
7.จองฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วจะได้เริ่มฉีดวันไหน
ตอบ เริ่มฉีดตั้งแต่ 7 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป
8.ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง เพื่อยืนยันการจองสิทธิฉีดวัคซีนโควิด-19 เมื่อถึงกำหนดวันฉีด
ตอบ ใช้เพียงบัตรประชาชนใบเดียว
9.กรณีเป็นคนทะเบียนบ้านต่างจังหวัดจองผ่าน "ไทยร่วมใจ" ได้หรือไม่
ตอบ คนต่างจังหวัดสามารถลงทะเบียนจองวัคซีนโควิด-19 ได้ ถ้าอาศัยหรือทำงานอยู่ในกทม.
10.หากต้องการจองวัคซีนโควิด-19 แต่ไม่มีบัตรประชาชน หรือเป็นคนต่างด้าว สามารถจองได้ไหม
ตอบ หากไม่มีบัตรประชาชน หรือเป็นคนต่างด้าว ยังไม่สามารถจองวัคซีนโควิด-19 ได้
11.คนต่างชาติสามารถลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้หรือไม่
ตอบ การลงทะเบียนของคนต่างชาติ ให้เป็นตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศ
12.หลังจากจองวัคซีนโควิด-19 เข็มที่ 1 แล้ว จะนัดจองจองวัคซีนโควิด-19 เข็มที่ 2 ได้เมื่อไหร่
ตอบ หลังจากฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มที่ 1 เรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะแจ้งนัดหมายการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2
13.จะทราบได้อย่างไรว่าการลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด-19 ในแต่ละช่องทางผ่านสำเร็จแล้ว
ตอบ ระบบจะมี SMS ยืนยัน การได้รับบริการวัคซีนโควิด-19 หลังจากลงทะเบียนจองสิทธิ์เรียบร้อยแล้ว
14.ถ้าต้องการ Walk In เพื่อฉีดวัคซีนโควิด-19 ในจุดบริการของ กทม. สามารถทำได้หรือไม่
ตอบ ไม่สามารถทำได้ ไม่มี Walk In ต้องลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนโควิด-19 คือ 1.แอปพลิเคชัน “เป๋าตัง”
2.เว็บไซต์ www.ไทยร่วมใจ.com
3.ร้านสะดวกซื้อที่กำหนด เช่น เซเว่นอีเลฟเว่น , ท็อปเดลี่ , แฟมิลี่มาร์ท , มินิบิ๊กซี
15.ถ้าไม่มีโทรศัพท์มือถือจะสามารถจองฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้อย่างไร
ตอบ สามารถจองฉีดวัคซีนโควิด-19 ผ่าน ร้านสะดวกซื้อที่กำหนด เช่น เซเว่นอีเลฟเว่น , ท็อปเดลี่ , แฟมิลี่มาร์ท , มินิบิ๊กซี
16.ลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด-19 ผ่าน ร้านสะดวกซื้อ มีค่าใช้จ่ายหรือค่าบริการหรือไม่
ตอบ ไม่มีค่าใช้จ่าย
17.หากเคยลงทะเบียนจองวัคซีนโควิด-19 ผ่าน ระบบ “หมอพร้อม” แล้ว จะจองใหม่ได้อีกหรือไม่
ตอบ หากจองผ่านระบบ “หมอพร้อม” แล้ว ได้รับการยืนยันจากระบบหมอพร้อม เพื่อไม่ให้เกิดการลงทะเบียนรับวัคซีนโควิดซ้ำซ้อน ควรเลือกระบบใดระบบหนึ่ง
18.สามารถให้คนอื่นลงทะเบียนจองวัคซีนโควิด-19 แทนได้หรือไม่
ตอบ สามารถให้คนในครอบครัวลงทะเบียนแทนได้โดยใช้โทรศัพท์ 1 เครื่อง สามารถลงทะเบียนได้หลายครั้ง ซึ่งระบบจะยืนยัน SMS กลับมายังเครื่องเดิมที่ลงทะเบียน
19.การแจ้งเตือนก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 ระบบจะแจ้งเตือนล่วงหน้ากี่วัน และแจ้งผ่านช่องทางไหน
ตอบ การแจ้งเตือนก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 ระบบจะแจ้งเตือนผ่าน SMS ก่อนวันนัดฉีดวัคซีนล่วงหน้า 1 วัน
20.อยากทราบขั้นตอน การลงทะเบียนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลและการยกเลิกการจอง?
ตอบ ขั้นตอนการลงทะเบียนฉีดวัคซีน มีดังนี้
1. ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ใน www.ไทยร่วมใจ.com
2. รับ SMS ยืนยันแจ้งผลจัดสรรวัคซีน
3. ทำการนัดวัน เวลา สถานที่เพื่อเข้ารับบริการ
4. รับ SMS แจ้งเตือนล่วงหน้า 1 วัน ก่อนเข้ารับวัคซีน
5. คัดกรอง ยืนยันตัวตนด้วยบัตรประชาชน ณ จุดฉีดวัคซีน
6. ฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 สังเกตอาการ
7. ทำแบบประเมินอาการไม่พึงประสงค์หลังรับวัคซีน
8. นัดหมายเข้ารับวัคซีนเข็มที่ 2
9. เข้ารับวัคซีนเข็มที่ 2
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลระบบจะเปิดให้เข้าแก้ไขในเร็ว ๆ นี้ และทาง กทม. จะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง
21.หากต้องการลงทะเบียนวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้วบัตรประชาชนหายหรือบัตรประชาชนหมดอายุ ต้องทำอย่างไร หรือต้องใช้เอกสารอะไร?
ตอบ สามารถไปติดต่อสำนักงานเขต หรือจองคิวเข้ารับบริการผ่านแอปพลิเคชัน BMA Q เพื่อทำบัตรประชาชนใหม่
22.หลังฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 มีข้อปฏิบัติตัวมีอย่างไรบ้าง?
ตอบ สังเกตอาการ ณ สถานที่ฉีดวัคซีนประมาณ 30 นาที หลังจากฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้ว ให้พักเพื่อสังเกตอาการ หลังจากนั้นให้ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ และให้สังเกตอาการหรือผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้สูง แขนขาอ่อนแรง ชาครึ่งซีก ปากเบี้ยว หรือพูดไม่ชัด ให้รีบกลับไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล หรือโทร 1669
23.ถ้าวันกำหนดฉีดไปไม่ทัน หรือไม่ได้ไป สิทธิยังคงมีหรือไม่
ตอบ มี แต่ต้องทำการจองใหม่
24.ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจองได้ไหม
ตอบ แนะนำให้ไปจองผ่านระบบหมอพร้อมก่อนในช่วงนี้ เพื่อได้ทำการฉีดที่รพ.
25.ฉีดเข็มที่ 1 แล้ว ต้องลงทะเบียน เข็ม 2 หรือไม่
ตอบ ไม่ต้องลง ระบบจะทำการนัดฉีดเข็มที่ 2 ให้อัตโนมัติ
26.คิววัคซีนเต็ม สามารถจองได้อีกเมื่อไหร่
ตอบ สามารถจองวันอื่นๆ ที่ยังว่างได้
ข้อมูลจาก เพจไทยร่วมใจ กรุงเทพฯ ปลอดภัย Safe Bangkok , เพจกรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- วิธีลงทะเบียน 'ไทยร่วมใจ กรุงเทพฯ ปลอดภัย' ทำง่าย ไม่ยาก!
- เริ่มวันนี้ เปิดให้คนกทม.ลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด ผ่านช่องทางไหนบ้างเช็กที่นี่
- ปชช.ลงทะเบียน 'ไทยร่วมใจ' จองฉีดวัคซีน 4 วัน เฉียด 2 ล้านคน
- เริ่มวันนี้! ไทยร่วมใจ ปรับเวลาลงทะเบียนเป็น 09.00 - 22.00 น.
- รวมปัญหาและทางออกของ “หมอพร้อม” ที่พร้อมใช้งานหรือยัง?