รีเซต

ลงทุนสินทรัพย์ยั่งยืนทั่วโลกทางรอดไม่ใช่แค่ทางเลือก

ลงทุนสินทรัพย์ยั่งยืนทั่วโลกทางรอดไม่ใช่แค่ทางเลือก
TNN ช่อง16
13 พฤศจิกายน 2565 ( 02:24 )
142

 จากบทความที่แล้ว ที่ได้เกริ่นเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น อุณหภูมิโลกที่เปลี่ยนแปลงไป โรคระบาดอุบัติใหม่ รวมถึงโรคที่เคยระบาดในอดีตที่กลับมาระบาดปีครั้ง โดยเฉพาะโควิด 19 ที่เริ่มระบาดในปี 2019 ที่ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกหยุดชะงัก เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบในห่วงโซ่การผลิต ทาให้ประเทศต่างๆ ต้องใช้วิธีผ่อนคลายนโยบายทางการเงินหรือการผลิตเงินเพิ่มขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 


จนกระทั่งปี 2022 ธนาคารกลางของหลาย ๆ ประเทศ อาทิ สหรัฐฯ รวมถึงหลายประเทศในยุโรป ต้องประกาศปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นรวมถึงการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจไม่ให้เกิดภาวะถดถอย เพื่อให้เข้าถึงและเข้าใจรายละเอียดเพิ่มเติม ขอยกตัวอย่างบริษัทที่ดาเนินธุรกิจทั้งหน้าใหม่และหน้าเก่า ที่มีท่าทีเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ตัวอย่างเช่น


• บริษัท ชิโตเซะ (CHITOSE) เมืองคาวาซากิ จังหวัดคานางาวะ ประเทศญี่ปุ่นทาการวิจัยและพัฒนาผลิตน้ามันเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย ทดแทนพลังงานจากฟอสซิลตามแนวทางพลังงานสีเขียวเพื่อความยั่งยืน


• สายการบินนานาชาติแห่งสวิตเซอร์แลนด์ (SWISS) ก็ได้ร่วมกับบริษัท Synhelion และบริษัท Climeworks ผลิตเชื้อเพลิงสังเคราะห์จากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar fuel) เพื่อใช้เป็นพลังงานสาหรับการบิน โดยมีเป้าหมายช่วยลด การปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ลง 50% ภายในปี 2022 และ 100% (zero-emission) ภายในปี 2030


จะเห็นได้ว่า  อนาคตข้างหน้าโลกจะให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการที่ใช้ทรัพยากรอย่างไร้ความรับผิดชอบอาจต้องเผชิญกับต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น


ล่าสุดแม้กระทั่งประเทศยักษ์ใหญ่ อย่างจีนก็ได้นำวาระนี้เข้าไปประชุมพรรคใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม  ที่ผ่านมา โดยได้มีการตอกย้ำถึงเป้าหมำยในการลดการปล่อยคาร์บอนและความพยายามอย่างเต็มที่เพื่อให้เกิดความเป็นกลางทางคาร์บอน และผลักดันกลุ่มเทคฯ ให้ลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ  โดยต้องการพึ่งพาตนเองให้ได้ทั้งระบบนิเวศและห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้ประเทศเติบโตอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาว


หรืออย่างกรณีความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน ส่งผลให้สหภาพยุโรปที่ต้องพึ่งพากำรนำเข้าน้ำมันจากประเทศอื่นจึงต้องเผชิญกับปัญหำต้นทุนด้านพลังงานที่อาจจะสูงขึ้น ทำให้คณะกรรมาธิการยุโรป หรือ European Commission ประกาศร่างมาตรที่เรียกว่า “REPowerEU” โดยมีเป้าหมายคือ การตัดขาดการพึ่งพาพลังงานที่นำเข้าจากรัสเซียเซียภายในปี 2030 และเร่งการนำพลังงานทดแทนหรือพลังงานหมุนเวียนนำใช้แทน


การเปลี่ยนแปลงของภาคธุรกิจที่พยาบามลดต้นทุนทางการเงินโดยการปรับปรุงกระบวนกำรผลิตให้ลดกำรปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ หรือกำรนำสินค้าที่เคยมีนำมารีไซเคิลเป็นผลิต ภัณฑ์ใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับจากทางภาครัฐ  ผลักดันให้ธุรกิจที่เคยใช้ทรัพยากรโดยไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมต้องปรับตัว เช่นเดียวกับนักลงทุน


โดยสถิติการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความยั่งยืนทั่วโลก (Global Sustainable Investing Assets) จำก GSIR พบว่าต้นปี 2018 มีมูลค่ารวม USD30.7 trillion เพิ่มขึ้นกว่ำ 34% จากในปี 2016 ที่ USD22.8 และรายงาน  Sustainable Investing: Shaping the future of finance (2020) ของ IISD ระบุตัวเลขที่คาดการณ์โดย Deutsche Bank ว่าการลงทุนในสินทรัพย์ที่ยั่งยืนจะเติบโตอย่างต่อเนื่องแตะระดับ USD160 trillion (เพิ่มขึ้น 433%) ภำยในปี 2036 ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าความยั่งยืนเป็นทางรอดเดียวสำหรับนักลงทุนในปัจจุบัน





ที่มา  นที ดำรงกิจการ  

 

ภาพประกอบ  พิกซาเบย์

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง