6 ข้อควรระวัง เล่นน้ำสงกรานต์ : สนุกสนาน ไร้กังวล สุขภาพดี
พิธีสงกรานต์นั้นเป็นเทศกาลสงกรานต์ ในพิธีสงกรานต์จะใช้ น้ำ เป็นสัญลักษณ์ที่เป็นองค์ประกอบหลักของพิธี แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ในวันนี้จะใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ มีการรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ และนับว่าวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว อีกทั้งยังมีประเพณีที่สืบทอดมาตั้งแต่ดั้งเดิม อย่าง การสรงน้ำพระที่นำมาซึ่งความเป็นสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ซึ่งบทความให้ความรู้โดย นพ.วีรยุทธ ตะโนรี แพทย์เฉพาะทางด้านเวชปฎิบัติทั่วไป ศูนย์ตรวจสุขภาพ (Premium Check Up Center) โรงพยาบาลนวเวช ได้อธิบายวิธีสังเกตอาการจากการเล่นน้ำ หากมีอาการดังกล่าวจะได้เข้าสู่กระบวนการรักษาได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที
คำแนะนำในการเล่นน้ำสงกรานต์
1. ไม่นำน้ำหรือน้ำแข็งใส่ถุงพลาสติกและขว้างปา เนื่องจากอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
2. การใช้แป้ง แนะนำหลีกเลี่ยงการทาบริเวณตา,จมูกและหู เนื่องจากมีโอกาสทำให้ระคายเคืองและติดเชื้อได้
3. ควรใช้น้ำสะอาด หลีกเลี่ยงแหล่งน้ำที่อาจจะมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคได้ เช่น คลอง คูน้ำ บึง เป็นต้น
4. ในกรณีที่มีแผลตามร่างกาย แนะนำให้หลีกเลี่ยงการโดนน้ำ เนื่องจากจะทำให้แผลมีการอักเสบและติดเชื้อได้
5. ในกรณีที่มีการผิดปกติที่ผิวหนัง เช่น รอยผื่นแดง บวม แดง คัน ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อ แนะนำพบแพทย์
6. หากมีน้ำเข้าบริเวณใบหน้าเกิดการระคายเคืองที่ตา แนะนำให้ล้างด้วยน้ำสะอาด หากอาการไม่ดีขึ้นให้พบแพทย์ และหากมีการสำลักน้ำ สังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ จาม มีเสมหะ มีไข้ แนะนำให้พบแพทย์
เนื่องจากในช่วงวันสงกรานต์จะมีสภาพอากาศร้อนมากที่สุดของปี อาจเกิดโรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก (HEATSTROKE) ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดจากอุณหภูมิในร่างกายสูงกว่าปกติ อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะ หน้ามืด หมดสติ ชักเกร็ง และเสียชีวิตได้
วิธีการดูแลเบื้องต้นในขณะออกไปบริเวณพื้นที่กลางแจ้ง ในช่วงภาวะอากาศร้อน
ดื่มน้ำให้เพียงพอ
หลีกเลี่ยงพื้นที่แออัด
หลีกเลี่ยงแสงแดด อากาศร้อนจัด เป็นระยะเวลานาน
ส่วมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี และไม่ใส่เสื้อผ้าสีทึบ
วิธีการปฐมพยาบาลโรคลมแดด หรือฮีทสโตรก
1. รีบนำผู้ป่วยเข้าในที่ร่ม ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก และให้หลีกเลี่ยงจากพื้นที่ที่มีคนจำนวนมาก
2. จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงาย และยกขาขึ้นสูง เพื่อให้ระบบไหลเวียนของเลือดไปสู่หัวใจและสมองได้ดีขึ้น
3. คลายเสื้อผ้าให้หลวม เพื่อระบายความร้อน
4. ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น เช็ดให้ทั่วร่างกาย เพื่อระบายความร้อน
5. ดื่มน้ำเย็นระบายความร้อนภายในร่างกาย หากหมดสติ ไม่แนะนำให้กรอกน้ำเข้าปาก เนื่องจากอาจทำให้สำลักน้ำลงปอดได้
6. ถ้าคนไข้มีอาการซึม ไม่รู้สึกตัวให้รีบเรียกรถพยาบาลโดยทันที โทร. 02-483-9944 ศูนย์บริการผู้ป่วยฉุกเฉินและอุบัติเหตุ (Emergency Room) โรงพยาบาลนวเวช มีบริการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยรถพยาบาลฉุกเฉิน (Advance ambulance) พร้อมทีมแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ฉุกเฉินและทีมสหสาขาวิชาชีพ (Multidisciplinary Team) ประจำการตลอด 24 ชั่วโมง ควบคู่กับเครื่องมือเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยในการช่วยชีวิตคนไข้วิกฤตและผู้ประสบเหตุฉุกเฉิน หรือ โทร.1669
ดังนั้น การเล่นน้ำสงกรานต์ตามประเพณี ควรเล่นน้ำเพื่อความสนุกสนานไม่ควรรุนแรง ไม่ใช้น้ำไม่สะอาดมาเล่นสาดกัน โดยหมั่นระมัดระวังการสำลักน้ำทั้งทางปากและจมูก ผู้ที่เปียกน้ำเป็นเวลานาน ๆ แนะนำให้สังเกตสุขภาพของตนเอง หากมีอาการผิดปกติแนะนำให้รีบมาพบแพทย์