รีเซต

นโยบายภาษีสินทรัพย์ดิจิทัลของ Bitkub ก่อนผู้ถือหุ้นใหญ่ของ Bitkub เตรียมเดินเครื่องภาษี 15%

นโยบายภาษีสินทรัพย์ดิจิทัลของ Bitkub ก่อนผู้ถือหุ้นใหญ่ของ Bitkub เตรียมเดินเครื่องภาษี 15%
TrueID
4 พฤศจิกายน 2564 ( 13:37 )
1.6K
นโยบายภาษีสินทรัพย์ดิจิทัลของ Bitkub ก่อนผู้ถือหุ้นใหญ่ของ Bitkub เตรียมเดินเครื่องภาษี 15%

จากกระแสข่าว นักเทรดคริปโตในกระดาน Bitkub ถกกันเดือด หลังผู้ถือหุ้นใหญ่เตรียมเดินเครื่องหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% จากประกาศพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 นักเทรดหลายรายบ่นอุบเตรียมย้ายกระดานเทรดหนีตายมาตรการรีดภาษี เราไปดูกันว่า Bitkub มีนโยบายอย่างไรกับภาษีในขณะนี้ TrueID รวบรวมข้อมูลมาให้แล้ว

 

นโบายภาษีปัจจุบันของ Bitkub

 

โดยเว็บไซต์ bitkub.com ได้แจ้งว่า ในกรณีที่ท่านได้ทำการเทรดกับบิทคับ ทางเราจะทำการชำระเฉพาะในส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เท่านั้น แต่ในส่วนของภาษีเงินได้ 10-15% ของนักลงทุน เราไม่ได้ทำการเรียกเก็บจากลูกค้าแต่อย่างใด เนื่องจากไม่สามารถระบุได้ว่าแต่ละรายการนั้นเป็นกำไรหรือขาดทุน ซึ่งทางเรายังไม่มีนโยบายการวิเคราะห์กำไร-ขาดทุนให้กับลูกค้า ฉะนั้นท่านต้องนำประวัติการทำธุรกรรมไปคำนวณกำไร-ขาดทุนด้วยตนเอง



โดยท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารรายละเอียดประวัติการทำธุรกรรมซื้อขายได้ โดยเอกสารจะอยู่ในรูปแบบของไฟล์ PDF ซึ่งท่านสามารถศึกษาวิธีการดาวน์โหลดประวัติการทำธุรกรรมเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://support.bitkub.com/hc/th/articles/360000338012

 

ส่วนกรณีที่ท่านมีรายได้จากโปรแกรมแนะนำเพื่อน (Referral Program) เกิน 1,000 บาทต่อเดือน ทางเราจะดำเนินการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้แก่ลูกค้า และเราสามารถออกเอกสารใบกำกับภาษีให้ได้หากท่านมีความประสงค์ โดยท่านสามารถแจ้งเดือน หรือระยะเวลาที่ต้องการทราบข้อมูลให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อทำการตรวจสอบ

 

จากทั้งสองกรณี เพื่อป้องกันการถูกเรียกเก็บจากสรรพากรย้อนหลัง เจ้าหน้าที่แนะนำให้ท่านยื่นเอกสารประวัติการทำธุรกรรม หรือหลักฐานใบกำกับภาษีให้สรรพากรด้วยตนเอง

 

SCBS เข้าถือหุ้นใหญ่เตรียมเดินหน้าเก็บภาษี 15%

 

เผยแพร่เนื้อหานั้นระบุวันที่ 21 ตุลาคม 2564 ก่อนการประกาศเข้าซื้อหุ้นของ บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จํากัด โดยในเนื้อหาส่วนหนึ่งระบุว่า สำหรับการจัดเก็บภาษีที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนประเภทนี้ ประเทศไทยได้ออกกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ในการเสียภาษีของนักลงทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 19 พ.ศ. 2561

 

โดยสรุปสาระสำคัญของกฎหมายภาษีดังกล่าวก็คือ กำหนดให้ทรัพย์สินดิจิทัลที่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีตามกฎหมายฉบับนี้ ได้แก่ คริปโทเคอร์เรนซี เช่น บิตคอยน์ (Bitcoin) และโทเคนดิจิทัล ที่มีการซื้อขายในประเทศไทย ซึ่งกฎหมายได้กำหนดประเภทเงินได้ดังกล่าวจัดเอาไว้ในกลุ่มเงินได้พึงประเมิน สาระสำคัญของกฎหมายภาษี สรุปดังนี้



1.กรณีมีการถือหรือครอบครองโทเคนดิจิทัล โดยนักลงทุนผู้ถือหรือผู้ครอบครอง มีสิทธิ์ได้รับส่วนแบ่งกำไรหรือผลประโยชน์อื่นใดในลักษณะเดียวกัน เงินได้ดังกล่าวจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 15% จากผลประโยชน์นั้นก่อนที่จะมีการจ่ายให้กับนักลงทุนที่เป็นผู้ถือหรือผู้ครอบครอง



2.กรณีมีกำไรจากการขาย (Capital Gain) ตามพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2561 ระบุว่าหากมีการขายสินทรัพย์ดิจิทัล แล้วมีกำไรจากการขาย กล่าวอย่างง่ายคือ ราคาขายมากกว่าราคาต้นทุนที่ได้มา ทางผู้ขายมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% จากกำไรที่เกิดขึ้นก่อนมีการจ่ายเงินให้นักลงทุน และแม้ว่าจะถูกหัก ณ ที่จ่ายไปแล้ว 15% นั้น แต่ยังคงต้องนำเงินได้ดังกล่าวมารวมคำนวณเงินได้ฯ เพื่อยื่นแบบเสียภาษีบุคคลธรรมดาตอนปลายปีด้วย

 

จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้นักเทรดหลายราย เตรียมย้ายกระดานเทรดหนีตายมาตรการรีดภาษี นโยบายดังกล่าวจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ต้องติดตามกันต่อไป

 

ข้อมูล : Bitkub

ภาพโดย mohamed Hassan จาก Pixabay 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง