เช็ก! ชุมชนแออัดที่ต้องเฝ้าระวังโควิด-19
สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย มีผู้ติดเชื้อไปแล้วเป็นจำนวนมาก ซึ่งหลายรายอยู่ในชุมชนแออัดที่แพร่ระบาดในครอบครัว และยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จนต้องเฝ้าระวังและเร่งตรวจเชิงรุกเพื่อไม่ให้เชื้อโควิดลุกลาม
วันนี้ True ID จึงได้รวบรวมชุมชนที่มีความเสี่ยงและแนวทางการแก้ไขจากทางภาครัฐในการเฝ้าระวังสถานการณ์คลัสเตอร์ชุมชนแออัดในกทม.
ปัจจุบันอัตราการแพร่ระบาดของโควิด-19 อยู่ในระดับสูง โดยส่วนใหญ่พบในชุมชนที่มีประชากรหนาแน่น เช่น ชุมชนคลองเตย เขตคลองเตย ชุมชนบ่อนไก่ เขตปทุมวัน ชุมชนบ้านขิง และเดอะมอลล์ เขตบางแค ซึ่งกรุงเทพมหานครได้เข้าดำเนินการเร่งตรวจหาเชื้อเชิงรุกกลุ่มเสี่ยงในชุมชน พร้อมทั้งฉีดวัคซีนเป็นกรณีฉุกเฉินเพื่อป้องกันกลุ่มเสี่ยงเป็นอัตราลดการเจ็บป่วยและเสียชีวิต
9 ชุมชนแออัดที่เฝ้าระวังโควิด
1.ชุมชนแออัด เขตคลองเตย
2.ชุมชนบ่อนไก่ เคหะบ่อนไก่ เขตปทุมวัน
3.ชุมชนบ้านขิง และห้างสรรพสินค้า เขตบางแค
4.บริษัทเงินติดล้อ เขตราชเทวี
5.ชุมชนโมราวรรณ เขตสวนหลวง
6.ศูนย์การค้า Platinum เขตราชเทวี
7.ตลาดสำเพ็ง เขตสัมพันธวงศ์
8.บ.TQM เขตลาดพร้าว
9.ธนาคาร UOB เขตภาษีเจริญ
มาตรการตรวจเชิงรุกชุมชนแออัดเสี่ยงโควิด
โดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยกคลัสเตอร์คลองเตยเป็นโมเดลตรวจโควิดเชิงรุกกับชุมชนแออัด เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดโควิด-19 ซึ่งมีมาตรการ ดังนี้
1.ให้มีการตรวจเชิงรุกในชุมชนเพิ่มขึ้นอย่างเร่งด่วน ทั้ง 39 ชุมชน เน้นไปที่ที่ 20 ชุมชนที่เกิดการระบาด โดยเร่งตรวจชุมชนที่มีการติดเชื้อ ให้ได้อย่างน้อย 1,000-1,500 คนต่อวัน โดยหน่วยเคลื่อนที่ และรถเก็บตัวอย่างชีวะนิรภัยพระราชทาน โดยจะตรวจเชิงรุกให้ได้อย่างน้อยทั้งหมด 20,000 คน
2.หากพบผู้ติดเชื้อ ให้มีการแยกผู้ป่วยออกจากชุมชนตามระดับอาการ เขียว เหลือง แดง เพื่อให้ศูนย์เอราวัณส่งตัวต่อเข้ารับการรักษา ณ สถานพยาบาลสำหรับกลุ่มนั้นๆ โดยเบื้องต้นจะถูกส่งตัวไปที่ศูนย์แรกรับ-ส่งต่อ ที่สนามกีฬานิมิบุตร หรือศูนย์พักคอยการส่งตัว ที่วัดสะพาน เขตพระโขนง หรือโรงพยาบาลสนามที่ จ.สมุทรสาคร
3.กลุ่มสีแดง หรือกลุ่มติดเชื้อและมีอาการหนักจะถูกส่งต่อไปยังโรงพยาบาลของ กทม. ทันทีโดยเร่งรัดให้มีการเตรียมโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยหนักเพิ่มเติมให้เร็วที่สุด
4.ส่วนกลุ่มผู้เสี่ยงสูงที่ยังไม่พบว่าติดเชื้อ จะต้องกักตัวในบ้านจนกว่าจะได้รับการแจ้งผล และให้ผู้นำชุมชนช่วยเป็นผู้ประสานงาน ส่งอาหารให้ผู้กักตัว
5.มีการระดมกำลัง 10-20 จุด เพื่อฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด วันละ 1,000-3,000 คน รวมให้ได้อย่างน้อย 50,000 คน ภายใน 2 สัปดาห์ และจะฉีดต่อไปให้ได้ถึง 60% ของประชาชนในชุมชนแออัดคลองเตย หรือประมาณ 80,000 คน
6. นอกจากนี้ ยังมีการเตรียมการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามในพื้นที่เพิ่มเติม โดยกรุงเทพมหานคร และกระทรวงกลาโหม ที่จะเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด
7. ให้มีการดูแลช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่อย่างเร่งด่วนในการส่งอุปกรณ์ป้องกันโรค อาหาร ยา และสิ่งของจำเป็นอื่นๆให้หน่วยงานที่ต้องลงพื้นที่
8. ให้ทุกเขตใน กทม. เตรียมการเชิงรุก โดยใช้รูปแบบ Model คลองเตยนี้ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในอนาคต
แนวทางปฏิบัติไม่ให้ติดโคควิดในชุมชนแออัด
1. ออกจากบ้านเมื่อจำเป็นเท่านั้น หากออกนอกบ้านให้เว้นระยะห่างจากคนอื่นอย่างน้อย 1-2 เมตร หลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่ที่มีคนหนาแน่น แออัด หรือพื้นที่ปิด
2. สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา เมื่ออยู่นอกบ้าน
3. ใช้รถสาธารณะเมื่อจำเป็นเท่านั้น และหลีกเลี่ยงชั่วโมงเร่งด่วน หากต้องซ้อนมอเตอร์ไซด์ควรนั่งหันข้าง
4. ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้ง ก่อนรับประทานอาหาร หลังใช้ส้วม หรือหลังจากไอ จาม หรือหลังสัมผัสจุดเสี่ยงที่มีผู้ใช้งานร่วมกันในที่สาธารณะ เช่น กลอนหรือลูกบิดประตู ราวจับหรือ ราวบันได เป็นต้น
5. หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก โดยไม่จำเป็น
6. ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 70 ปี ผู้มีโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดัน โลหิตสูง โรคปอด และเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ให้เลี่ยงการออกนอกบ้าน เว้นแต่จำเป็น ให้ออกนอกบ้าน น้อยที่สุด ในระยะเวลาสั้นที่สุด
7. แยกของใช้ส่วนตัว ไม่ควรใช้ของร่วมกับผู้อื่น
8. เลือกทานอาหารที่ร้อนหรือปรุงสุกใหม่ๆ ควรทานอาหารแยกสำรับ หรือหากทานอาหารร่วมกันให้ใช้ ช้อนกลางส่วนตัว ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ
9. หากเดินทางกลับจากประเทศหรือพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ควรกักตัวเองที่บ้าน 14 วัน และปฏิบัติตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข
10. หมั่นสังเกตอาการตนเอง หากมีอาการไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ให้ไปรับ การตรวจรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้านทันที
เช็กสถานที่ตรวจโควิดกทม.
ทีมพิเศษเฉพาะกิจลงพื้นที่ดาวกระจายใน 6 กลุ่มเขต ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 11 พ.ค.64 โดยมีเป้าหมายคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงให้ได้ 3,000 คนต่อวัน ดังนี้
• กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ : ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่
• กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก : สวน 70 พรรษามีนบุรี เขตมีนบุรี
• กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง : สนามกีฬาห้วยขวาง เขตห้วยขวาง
• กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ : ใต้ทางด่วนพระราม 3 เขตยานนาวา
• กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ : สวนสาธารณะใต้สะพานพระราม 8 เขตบางพลัด
• กลุ่มเขตกรุงธนใต้ : เดอะมอลล์บางแค เขตบางแค
สำนักงานเขตคลองเตย ร่วมกับ สปคม.ให้บริการ SAWB ตรวจหาเชื้อ 3 จุด ได้แก่
1. จุดวัดสะพาน
2. จุดโรงเรียนชุมชนพัฒนา
3. จุดตลาดคลองเตย
อัพเดตโควิดในชุมชนเขตคลองเตย
ทั้งนี้ กทม. ได้ขยายศักยภาพการตรวจหาเชื้อเพิ่มอีกให้ได้วันละ 4,500 ราย เพื่อควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดให้เร็วที่สุด ข้อมูล ณ วันที่ 7 พ.ค. 64
สรุปผลการตรวจ SWAB จำนวน 8,022 ราย
ผลไม่ติดเชื้อ (-) 5,614 ราย คิดเป็นร้อยละ 69.98
ผลติดเชื้อ (+) 219 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.72
ข้อมูลจาก กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์ , เฟซบุ๊ก ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Chan-o-cha , ศูนย์ข้อมูล COVID-19 , กรมควบคุมโรค
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- เปิดเงื่อนไขการรักษาโควิด-19 ฟรี! ทุกรพ. รัฐจ่ายให้
- ไฟเซอร์มาไทยแน่! เจาะลึกประสิทธิภาพ "วัคซีนไฟเซอร์-Pfizer" ที่ใครๆก็อยากฉีด
- จุดตรวจโควิดเชิงรุก! อยู่ไหนบ้าง? เช็ก '6 กลุ่มเขต' ที่นี่!
- ปรับแนวทางการรักษาโควิด-19 ใหม่ “กักตัวที่บ้าน” ได้ หากอาการดีแล้ว
- โฆษกกทม. แจงข้อเท็จจริงปม คลัสเตอร์บางแค พบติดเชื้ออีก 191 ราย