รีเซต

ดรามาขุดเจอ ‘พระพุทธรูปริมฝั่งแม่น้ำโขง’ เปิดมุมมองเซียนพระไทยของเก่า - ของใหม่?

ดรามาขุดเจอ ‘พระพุทธรูปริมฝั่งแม่น้ำโขง’ เปิดมุมมองเซียนพระไทยของเก่า - ของใหม่?
TNN ช่อง16
20 พฤษภาคม 2567 ( 18:34 )
7
1
ดรามาขุดเจอ ‘พระพุทธรูปริมฝั่งแม่น้ำโขง’ เปิดมุมมองเซียนพระไทยของเก่า - ของใหม่?

กลายเป็นกระแสดราม่าระหว่างประเทศ หลังมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ขุดพบในลำน้ำโขง ฝั่ง สปป.ลาว เป็นพระที่ทำขึ้นใหม่ โดยมีการแสดงความเห็นว่าพ่อค้าวัตถุโบราณคนไทยอยู่เบื้องหลัง 

ล่าสุด นายศุภกนก์ธีร์  อนุศรี หรือ เสี่ยโต่ง ขอนแก่น อุปนายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่อง พระบูชาไทย ได้แสดงความเห็นผ่านโพสต์บนเฟซบุ๊ก ‘Suphakontee Anusri’ มีเนื้อหาบางตอนว่า ด้วยประสบการณ์เกิน 40 ปี ที่อยู่กับพระศิลปะล้านช้าง ยังมองไม่เห็นเลยว่า ตรงไหนที่เป็นพระสร้างใหม่  ถ้าไม่เก่าจริง จะบวชให้ตลอดชีวิตเลย วิธีการดู ไม่ยาก เม็ดพระศกปั้นเกลียว ฝีมือชั้นครู  ไม่ได้ตักหยอดแล้วมาแปะ 



ส่วนการหล่อเข้าลิ่ม หรือ สลัก เป็นเรื่องธรรมดาของแต่ละสกุลช่าง ที่ถนัดในการเคลื่อนย้าย และ ปั้นหุ่นเท โดยเห็นมานับร้อยองค์ที่แบบคอเป็นเดือยแท่ง ยกเศียรสวมยิ่งหายาก คำว่า สำริด จะมีส่วนผสมโลหะหลายอย่าง ตามภูมิประเทศนั้นๆ และ หากไม่ใช้แร่ หรือ โลหะบางอย่างใส่ลงไป จะทนทานต่อสภาวะอากาศมาก  จะตากแดด ตากลม จะฝังดิน ก็ไม่ได้ผุกร่อนง่ายๆเลย หากใช้เนื้อที่บริสุทธิ์เป็นตัวผสม


นายศุภกนก์ธีร์  ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมอีกว่า ภาพที่คนติดใจ คือ รอยต่อที่เหมือนการเชื่อมสมัยใหม่ ความจริง คือ เทคนิคช่างสมัยโบราณ ที่แก้ปัญหาเวลาโลหะ 2 ชิ้น ห่างกัน จะใช้การวิ่งตะกั่ว หรือ การบัดกรีตะกั่ว จากนั้น จึงลงรักปิดทอง ที่ไม่กัดกร่อน เพราะมวลวัตถุธาตุที่ผสมกันเป็นเนื้อบริสุทธิ์ และอยู่ในอุณหภูมิ สิ่งแวดล้อมที่ดี มีทรายละเอียดทับถม จึงรักษาสภาพได้ ถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ ที่จะมีการเลียนแบบแนบเนียน มองว่า ไม่มีทาง ช่างที่หล่อเข้าลิ่มแบบนี้ เสียชีวิตไปหมดแล้ว 



ทั้งนี้ตนขอเอาตำแหน่งอุปนายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่อง พระบูชาไทย รับประกันว่า พระพุทธรูปดังกล่าว เป็นพระแท้ ดูง่ายสบายตา ไซส์พระขนาดนี้ มองว่า องค์นี้มีความสวยงามติดอันดับ 1 ใน 20 ของโลก และมีความเก่าแก่ถึงยุค เกิน 500 ปี เป็นศิลปะล้านช้างเหนือ หรือ หลวงพระบาง ดูจากลักษณะหางตา กรีดขึ้นข้างบน ที่เป็นเอกลักษณ์  


คนไทยบางคนที่เข้าวงการพระเครื่องใหม่ ๆ จะมองว่า อยู่ในอาณาจักรเชียงแสน แต่จริง ๆ คือ ล้านช้างยุคต้น  โดยพระเชียงแสน สิงห์ 3 จะมีแหวนรองเกศเป็นมาตรฐาน แต่ล้านช้าง จะเป็นรูกลวง สามารถจับเกศตั้งสวมได้เลย


ข้อมูลจาก: ผู้สื่อข่าวภูมิภาคจังหวัดขอนแก่น 

ภาพจากผู้สื่อข่าวภูมิภาคจังหวัดขอนแก่น 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง