'ผ่อนรถ-ผ่อนบ้าน' ไม่ไหว จะ'โดนยึด' แล้วต้องทำอย่างไร?
หนี้บ้าน หนี้รถ เริ่มเป็นปัญหาให้หลายคนๆเริ่มวิตกกังวล เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19ปัจจุบัน ที่ทำให้ขาดสภาพคล่องตัวทางการเงิน เกิดปัญหาผ่อนบ้านผ่านรถไม่ไหว จนบ้างรายถึงขั้น “ถูกยึดรถยึดบ้าน” สำหรับลูกหนี้ที่ได้ผลกระทบจากกรณีดังกล่าวหากไม่ต้องการประสบปัญหาข้างต้น trueID มีวิธีแก้ปัญหาให้คนที่กำลังผ่อนรถ ผ่อนบ้าน และประสบปัญหาทางการเงินหาทางออกในช่วงวิกฤติเช่นนี้ไปได้ โดยมีวิธีการดังนี้
มองหาสาเหตุและทางออก
เรายังมีเวลาไกล่เกลี่ยได้หลังผิดนัดพิพากษาแล้ว เพราะเจ้าหนี้รู้ดีว่าการขายทอดตลาดราคาจะต่ำกว่า ใช้หนี้ไม่หมดแน่ ๆ ถ้าใช้หนี้ไม่หมด ก็ยังฟ้องส่วนต่างต่อได้อีก คิดดอกเบี้ยไปอีก ตามยึดที่อื่นต่อ จะเสียหายไปอีก เจ้าหนี้มักจะรู้ดีอยู่แล้ว ว่าลูกหนี้มีทรัพย์อะไรบ้างจากกระบวนการสืบทรัพย์
ประเมินตัวเอง ไม่ไหวอย่าฝืน
อันดับแรกให้เราลองคำนวณค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในอีก 6 เดือนข้างหน้าว่ามีพอสำหรับใช้จ่าย และใช้หนี้ไหม หากเราคำนวณดูแล้วไม่สามารถหาเงินเพื่อชำระหนี้ได้ ให้รีบติดต่อธนาคารเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ หากรอจนถึงวันที่ไม่มีจ่ายก็จะทำให้เราเสียประวัติทางเงินได้
เช็กมาตรการช่วยเหลือต่างๆของธนาคารว่ามีอะไรบ้าง
มาตรการที่ทางธนาคารเริ่มออกมาในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ละธนาคารมีนโยบายที่แตกต่างกันออกไปตามประเภทของสินเชื่อ โดยหลักๆ มีลักษณะดังนี้
- พักชำระเงินต้น
- พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย
- ปรับลดอัตราดอกเบี้ย
- พักหนี้
- ปรับโครงสร้างหนี้ใหม่
หากเราจะโดนคำสั่งยึดจริงๆ นี่คือแผนสำรองที่จะแนะนำ
วิธีแรก บอกประกาศขายทรัพย์ ก่อนโดนยึดขายทอดตลาด
ข้อดีของการบอกประกาศขายทรัพย์ในลักษณะนี้คือ เราจะขายได้ในราคาที่ดีกว่าราคาขายทอดตลาดอย่างแน่นอน อีกทั้งยังสามารถต่อรองกับเจ้าหนี้ได้ หากมีราคาเสนอที่น่าพอใจเพื่อขอปิดหนี้
วิธีที่สอง รอขายได้แล้วปลดหนี้ที่เหลือ
วิธีเราอาจจะเสียดอกเบี้ยเพิ่มมาอีก แต่ก็ยังพอมีเวลาเก็บเงิน หรือหาคนมาซื้อแทนตัวเราเอง ล่าสุดห้ามค้านราคาแล้ว นั่นคือ ถ้าจะหาคนมาซื้อ ต้องรีบหา..เราอาจขายในราคาปิดหนี้ แล้วมาทำสัญญานอกรอบได้ ที่สำคัญคือ ต้องหาคนที่มีทุนและไว้ใจได้จริง อย่าเอาลูกเมียมาซื้อ เพราะอาจจะโดนสืบทรัพย์ต่อไปอีก
หนี้มาก หนี้น้อยไม่สำคัญ มันสำคัญที่เรามีสติ และบริหารจัดการหนี้ได้ไหม ทำวิธีไหนก็ตาม ที่เราจะสูญเสียน้อยที่สุด คุ้มค่าที่สุด และเสียเปรียบน้อยที่สุด
ข้อมูล : ธนาคารแห่งประเทศไทย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :