รีเซต

ปาเลสไตน์ คือประเทศอะไร? มีบทบาทอะไรในเวทีโลก?

ปาเลสไตน์ คือประเทศอะไร? มีบทบาทอะไรในเวทีโลก?
TrueID
19 พฤษภาคม 2564 ( 09:02 )
32.9K
ปาเลสไตน์ คือประเทศอะไร? มีบทบาทอะไรในเวทีโลก?

จากเหตุการณ์การสู้รบระหว่างอิสราเอล กับ ปาเลสไตน์ ที่ปะทุส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตนับร้อยราย บาดเจ็บมากกว่า พันรายจากเครื่องบินรบของอิสราเอล อิสราเอลที่รู้จักกันก็คือประเทศของชาวยิว แต่ปาเลสไตน์เป็นประเทศอะไร วันนี้ trueID จะมาไขข้อข้องใจว่าปาเลสไตน์คือประเทศหรือเป็นอะไรกันแน่?

 

 

 

 

ปาเลสไตน์ เป็นประเทศหรือไม่?

 

รัฐปาเลสไตน์ เป็นรัฐที่ประกาศเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 1988 โดยสภาแห่งชาติขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ที่พลัดถิ่นในกรุงแอลเจียร์ ซึ่งเห็นชอบคำประกาศอิสรภาพปาเลสไตน์ฝ่ายเดียว รัฐปาเลสไตน์อ้างสิทธิ์เหนือดินแดนปาเลสไตน์ ซึ่งนิยามตามพรมแดนเมื่อปี 1967 และกำหนดเยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวง พื้นที่ที่พรรณนาว่าจะประกอบเป็นรัฐปาเลสไตน์นั้นถูกอิสราเอลยึดครองตั้งแต่ปี 1967 ...สรุปแล้วปาเลสไตน์ ไม่ใช่ประเทศแต่เป็น รัฐ

 

 

ครอบครองส่วนไหน?

 

ส่วนหนึ่งของดินแดนนี้ที่อยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน เคยถูกเรียกว่า "ดินแดนคะนาอัน" (Canaan) ในช่วงที่อยู่ใต้การปกครองของอียิปต์ ในภายหลังได้แบ่งการปกครองออกเป็นสองส่วน ส่วนทางใต้กลายเป็นราชอาณาจักรยูดาห์ ส่วนทางเหนือคือราชอาณาจักรอิสราเอล

 

 

ปาเลสไตน์ในเวทีโลก

 

องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ก็มิได้เข้าร่วมสหประชาชาติในขีดความสามารถที่เป็นรัฐบาลของรัฐปาเลสไตน์ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2012 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติผ่านข้อมติที่ 67/19 ยกระดับปาเลสไตน์จาก "องค์การผู้สังเกตการณ์" (observer entity) เป็น "รัฐผู้สังเกตการณ์ที่มิใช่สมาชิก" ในระบบสหประชาชาติ ซึ่งถือเป็นการรับรองอธิปไตยขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์โดยปริยาย

 

การขอเป็นสมาชิกสหประชาชาติ 2011

ในวันที่ 23 กันยายน 2011 ประธานาธิบดีมาห์มูด อับบาส แห่งปาเลสไตน์ ได้ยื่นสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งเสมือนเป็นการรับรองรัฐปาเลสไตน์ โดยยูเนสโกเป็นองค์การชำนาญพิเศษของยูเอ็นแห่งแรกที่ปาเลสไตน์ได้เป็นสมาชิกเต็ม

 

ได้เป็นสมาชิกยูเนสโก ลำดับที่ 195

ในวันที่ 31 ตุลาคม 2011 ที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ลงมติรับรองสถานภาพสมาชิกแก่ปาเลสไตน์โดยสมบูรณ์

 

โดยชาติสมาชิกทั้งหมด 173 ประเทศ ณ ที่ประชุมสมัชชาใหญ่ยูเนสโก ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส สนับสนุนให้ปาเลสไตน์ได้รับสถานภาพเป็นสมาชิกยูเนสโกเต็มตัว โดยมีชาติสมาชิกสนับสนุน 107 ประเทศ คัดค้าน 14 ประเทศ และงดออกเสียง 52 ประเทศ

 

ซึ่งถือเป็นมติรับรองปาเลสไตน์เกินกว่า 2 ใน 3 ที่ทำให้ปาเลสไตน์ได้รับสถานะสมาชิกภาพของยูเนสโกในลำดับที่ 195 ในขณะที่สหรัฐฯ อิสราเอล แคนาดา เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์ โหวตค้านการรับรองปาเลสไตน์ ส่วนบราซิล รัสเซีย จีน อินเดีย แอฟริกาใต้ และฝรั่งเศส ต่างโหวตสนับสนุน ขณะที่อังกฤษและอิตาลีของดออกเสียง

 

การได้เป็นสมาชิกผู้สังเกตการณ์สหประชาชาติ 2012

ยูเอ็นได้ลงมติยอมรับปาเลสไตน์ในฐานะรัฐผู้สังเกตการณ์ เทียบเท่ากับสถานะของนครรัฐวาติกัน ซึ่งทางยูเอ็นลงมติด้วยคะแนน 138 ต่อ 9 เสียง เมื่อวันที่ 29 พ.ย. ยอมรับปาเลสไตน์ในฐานะรัฐผู้สังเกตการณ์ซึ่งไม่ใช่สมาชิกยูเอ็น

 

โดยนายอับบาสระบุว่ามติของยูเอ็นเปรียบได้กับใบแจ้งเกิดที่จะนำไปสู่การยอมรับความเป็นรัฐปาเลสไตน์ในอนาคต แม้ว่าเส้นทางการต่อสู้ไปสู่เสรีภาพที่แท้จริงยังอีกยาวไกล แต่การยอมรับสถานะรัฐปาเลสไตน์จะช่วยกดดันให้รัฐบาลอิสราเอลกลับเข้าสู่กระบวนการเจรจาสันติภาพร่วมกับปาเลสไตน์อีกครั้ง หลังความพยายามในการเจรจาต่อรองหยุดชะงักมานานกว่า 2 ปี

 

ส่วนนายเบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล แถลงประณามคำปราศรัยของอับบาสว่าเป็นยาพิษที่ส่งผลมอมเมาประชาคมโลก ขณะที่กองกำลังติดอาวุธฮะมาสในดินแดนฉนวนกาซาของปาเลสไตน์ได้ร่วมแสดงความยินดีต่อชัยชนะของรัฐบาลปาเลสไตน์ในเขตเวสต์แบงก์ด้วย

 

 

สถานะปัจจุบันของปาเลสไตน์

 

ชาวปาเลสไตน์ยังคงต่อสู้เพื่อรัฐที่เป็นทางการซึ่งได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากทุกประเทศ

 

แม้ว่าชาวปาเลสไตน์จะครอบครองพื้นที่สำคัญของดินแดนซึ่งรวมถึงเวสต์แบงก์และฉนวนกาซา แต่ชาวอิสราเอลบางส่วน ก็ยังคงตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ที่ตกลงกันโดยทั่วไปว่าอยู่ภายใต้การควบคุมของปาเลสไตน์

 

กลุ่มสิทธิระหว่างประเทศหลายกลุ่มมองว่าการตั้งถิ่นฐานดังกล่าวผิดกฎหมายพรมแดนไม่ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องยังคงเป็นบรรทัดฐาน สัดส่วนของอิสราเอลยังไม่เห็นด้วยกับการตั้งถิ่นฐานและต้องการที่จะหาวิธีที่เงียบสงบในการแก้ไขข้อพิพาทที่ดินของพวกเขากับชาวปาเลสไตน์

 

ในเดือนพฤษภาคม 2017 ผู้นำของฮามาสได้นำเสนอเอกสารที่เสนอการก่อตัวของรัฐปาเลสไตน์โดยใช้พรมแดนที่กำหนดไว้ในปี 1967 โดยมีกรุงเยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวง อย่างไรก็ตามกลุ่มนี้ปฏิเสธที่จะยอมรับว่าอิสราเอลเป็นรัฐและรัฐบาลอิสราเอลปฏิเสธแผนดังกล่าวในทันที

 

ในเดือนพฤษภาคม 2018 ความตึงเครียดปะทุขึ้นเมื่อสถานทูตสหรัฐฯย้ายสถานทูตจากเทลอาวีฟไปยังเยรูซาเล็ม เมื่อมองว่านี่เป็นสัญญาณของการสนับสนุนของชาวอเมริกันที่ให้เยรูซาเล็มในฐานะเมืองหลวงของอิสราเอลชาวปาเลสไตน์จึงตอบโต้ด้วยการประท้วงที่ชายแดนฉนวนกาซา - อิสราเอลซึ่งพบกับกองกำลังของอิสราเอลส่งผลให้มีผู้ประท้วงเสียชีวิตหลายสิบคน 

 

ในขณะที่ประวัติศาสตร์ของปาเลสไตน์ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการนองเลือดการพลัดถิ่นและความไม่มั่นคง แต่ผู้นำระดับโลกหลายคนยังคงดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาที่จะส่งผลให้เกิดสันติภาพทั่วทั้งภูมิภาค

 

ข้อมูลข่าว : wikipedia , history

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วัน 'ฮารีรายอ' (อีฎิ้ลฟิตริ) : ย้อนรู้จักดินแดน 'นครศักดิ์สิทธิ์' ในอิสราเอล

สรุปปมขัดแย้ง อิสราเอล VS ปาเลสไตน์ แห่งนครศักดิ์สิทธิ์เยรูซาเล็ม

เยรูซาเล็ม ประวัติ เมืองศักดิ์สิทธิ์ กว่าพันปี ของ 3 ศาสนา และ ศาสนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในโลก

ประวัติ อิสราเอล ดินแดนแห่งพันธสัญญา คานาอัน

รู้จัก "เบนจามิน เนทันยาฮู" ผู้นำทัพอิสราเอล ถล่มปาเลสไตน์

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง