รีเซต

วัน 'ฮารีรายอ' (อีฎิ้ลฟิตริ) : ย้อนรู้จักดินแดน 'นครศักดิ์สิทธิ์' ในอิสราเอล

วัน 'ฮารีรายอ' (อีฎิ้ลฟิตริ) : ย้อนรู้จักดินแดน 'นครศักดิ์สิทธิ์' ในอิสราเอล
TeaC
13 พฤษภาคม 2564 ( 12:21 )
2.1K

 

วัน 'ฮารีรายอ' (อีฎิ้ลฟิตริ) อีกหนึ่งวันสำคัญของชาวอิสลามทั่วโลก!!!

 

 

สำหรับประเทศไทย วัน 'ฮารีรายอ' (อีฎิ้ลฟิตริ) ตรงกับวันที่ 13 พฤษภาคม 2564 หลังจากที่ผลการดูดวงจันทร์ได้ถูกประกาศออกมา โดยสำนักจุฬราชมนตรี กำหนดวันที่ 1 เดือนเซาวาล หรือวันอิฎิ้ลฟิตริ หรือวันฮารีรายอ อีดิลฟิตรี ประจำฮิจเราะห์ ศักราชที่ 1442 ตรงกับ วันพฤหัสบดี ที่ 13 พฤษภาคม 64  เนื่องจากวันนี้หลังอาทิตย์ลับขอบฟ้าไม่มีผู้เห็นดวงจันทร์ 

 

 

 

 

 

วัน 'ฮารีรายอ' (อีดิลฟิฏร์) คืออะไร?

 

 

จากการค้นข้อมูลประวัติพบว่า วัน 'ฮารีรายอ' (อีฎิ้ลฟิตริ) หรือ อีดิลฟิฏร์ รู้จักกันในชื่อ "การฉลองละศีลอด" หรือวันอีดเล็ก และในภาษามลายูปัตตานีว่า รายอปอซอ เป็นวันหยุดทางศาสนาที่ฉลองโดยมุสลิมทั่วโลก ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน การฉลองอีดทางศาสนามีแค่วันเดียวในเดือนเชาวาลซึ่งมุสลิมห้ามถือศีลอด วันเริ่มต้นในปฏิทินอิสลามมีความหลากหลายตามพื้นที่ว่าเห็นดวงจันทร์หรือไม่

 

 

อีดิลฟิฏร์ มีการละหมาดแบบเฉพาะที่มีแค่ 2 เราะกะอัต โดยทั่วไปมักละหมาดที่ทุ่งเปิด หรือห้องโถงใหญ่ และมีอีก 6 ตักบีร (ยกมือขึ้นถึงหูในขณะที่กล่าวว่า "อัลลอฮุอักบัร" ความหมายคือ "อัลลอฮ์ผู้ทรงเกรียงไกร") ในมัซฮับฮะนะฟีของซุนนี

 

 

โดยกล่าวสามครั้งตอนเราะกะอัตแรก และอีกสามครั้งก่อนรุกูอ์ในเราะกะอัตที่สอง ในขณะที่มัซฮับอื่นของซุนนีมีถึง 12 ตักบีร โดยแบ่งเป็น 7 และ 5 ส่วนชีอะฮ์มี 6 ตักบีรในเราะกะอัตแรกในตอนจบกิรออะฮ์ ก่อนรุกูอ์ และอีกห้าครั้งในเราะกะอัตที่สอง

 

 

อีกทั้ง ตามประวัติถูกริเริ่มโดยศาสดามุฮัมมัด ตามรายงานในบางฮะดีษ เทศกาลนี้ถูกจัดขึ้นที่มะดีนะฮ์ หลังจากมุฮัมมัดอพยพออกจากมักกะฮ์ อะนัส อิบน์ มาลิก รายงานว่า เมื่อท่านศาสดามาถึงมะดีนะฮ์ ท่านเห็นผู้คนฉลองในสองวันนั้นด้วยนันทนาการและความรื่นเริง

 

 

ดังนั้น ท่านศาสดาได้เปลี่ยนสองวันแห่งเทศกาลไปเป็นสิ่งที่ดีกว่า คือ อีดิลฟิฏร์ กับอีดิลอัฎฮา

 

 

พิธีทั่วไป ในวันอีดิลฟิฏร์



การละหมาดอีดิลฟิฏร์ร่วมกันในมัสยิดอิสติกลาล, จาการ์ตา, ประเทศอินโดนีเซีย ตามธรรมเนียม อีดิลฟิฏร์เริ่มในตอนดวงอาทิตย์ตกในคืนที่ส่องดวงจันทร์เสี้ยว ถ้าไม่มีการเห็นดวงจันทร์ในวันที่ 29 ของเดือนเราะมะฎอน (อาจเพราะเมฆบังหรือท้องฟ้าสว่างเกินเมื่อดวงจันทร์ขึ้น) วันอีดก็จะฉลองในวันถัดไป อีดิลิฏร์จะมีการฉลอง 1 - 3 วัน ขึ้นอยู่กับประเทศ เป็นเรื่องต้องห้ามที่จะถือศีลอดในวันอีด และมีละหมาดเฉพาะของวันนี้ ตามความจำเป็นในการบริจาค เงินจะถูกบริจาคแก่คนยากจนและคนที่ควรได้เงินบริจาค (ซะกาตฟิฏเราะฮ์) ก่อนละหมาดอีด

 

 

มุสลิมไทย งดละหมาด อิฎิ้ลฟิตริ ที่มัสยิด

 

 

ทั้งนี้ วัน 'ฮารีรายอ' (อีดิลฟิฏร์) เป็นวันสำคัญต่อชาวมุสลิมทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 การจัดพิธีดังกล่าวจึงถูกเข้มงวดมากขึ้น เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโควิด ซึ่งสำนักจุฬาราชมนตรี จึงกำหนดให้มุสลิมที่อยู่ในพื้นที่ สีแดงเข้ม หรือพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด

 

  • กทม.
  • ชลบุรี
  • เชียงใหม่
  • นนทบุรี
  • สมุทรปราการ

 

ขอให้งดละหมาดอิฎิ้ลฟิตริที่มัสยิด ให้ละหมาดที่บ้านภายในครอบครัว ด้วยมาตรการเช่นเดียวกับการละหมาดที่มัสยิด

 

 

ส่วนในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและพื้นที่ควบคุมนั้น คณะกรรมการอิสลามจังหวัด พิจารณาร่วมกับศบค.ในพื้นที่ เพื่อกำหนดมาตรการ การเฝ้าระวังการแพร่ละบาดโของโรค และการปฏิบัติศาสนกิจให้สอดคล้อง 

 

 

 

ย้อนรู้จักดินแดน "นครศักดิ์สิทธิ์" จุดกำเนิดรวม 3 ศาสนาของชาวอิสลามที่อยู่ใน อิสราเอล

 

 

ขณะที่ ประวัติดินแดนที่อาจเป็นไปได้ว่าเป็นจุดกำเนิดของ 3 ศาสนาที่รวม ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ ซึ่งประเทศที่น่าสนใจอย่าง อิสราเอล เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีประวัติศาสตร์ที่สำคัญมาอย่างยาวนาน ยังได้รับการกล่าวขานว่าเป็นดินแดนแห่งพันธสัญญาอีกด้วย

 

 

ซึ่งจากข้อมูล มุสลิมซึ่งส่วนใหญ่ พลเมืองอาหรับของอิสราเอลคิดเป็น 17.7% ของ ชาวอิสราเอล ทำให้พวกเขาเป็นชนกลุ่มน้อยที่ใหญ่ที่สุดในอิสราเอล

 

 

และเมือง เยรูซาเล็ม (Al Quds) เป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์อันดับสามของศาสนาอิสลามรองจาก เมกกะ และ เมดินา ใน ซาอุดิอาราเบียวิหารศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเดิมเป็นส่วนหนึ่งของชาวยิว เทมเปิลเมาท์ ของเยรูซาเล็มชาวมุสลิมเชื่อว่าเป็นที่ตั้ง มูฮัมหมัด ขึ้นสู่สวรรค์ ความเชื่อของอิสลามที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางนี้ทำให้ความสำคัญทางศาสนาและจิตวิญญาณแก่พวกเขา

 

 

ทั้งนี้ เฉพาะชาวมุสลิมเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้สวดมนต์บนเทมเพิลเมาท์ ซึ่งบริหารวันต่อวันโดยอิสลามของจอร์แดน Waqf ซึ่งเป็นหน่วยงานบริหารที่รับผิดชอบการดำเนินกิจการศาสนาอิสลามในภูมิภาค Temple Mount

 

 

สำหรับ เยรูซาเล็ม ได้รับขนานนามว่าเป็น "นครศักดิ์สิทธิ์" ของศาสนาทั้งสามในกลุ่มศาสนาอับราฮัมอันได้แก่ ศาสนายูดาห์, ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม 

 

 

ปัจจุบัน สถานภาพของเยรูซาเลม ยังเป็นประเด็นแกนกลางประเด็นหนึ่งในความขัดแย้ง อิสราเอล–ปาเลสไตน์ ที่ยังคงครุกรุน

 

 

ข้อมูล : วิกิพีเดีย

 

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

 

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง