รีเซต

รู้จัก "เบนจามิน เนทันยาฮู" ผู้นำทัพอิสราเอล ถล่มปาเลสไตน์

รู้จัก "เบนจามิน เนทันยาฮู" ผู้นำทัพอิสราเอล ถล่มปาเลสไตน์
Ingonn
19 พฤษภาคม 2564 ( 16:06 )
574

“กลุ่มฮามาสบังอาจล้ำเส้น อิสราเอลจึงต้องตอบโต้ด้วยปฏิบัติการโจมตีทางอากาศในฉนวนกาซ่าของปาเลสไตน์ต่อ จนกว่าอิสราเอลจะปลอดภัยจากการโจมตีด้วยจรวดของกลุ่มฮามาส” เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล กล่าวไว้หลังจากเกิดสงครามระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ต่อเนื่องนานกว่าสัปดาห์แล้ว โดยเบนจามิน เนทันยาฮู เปรียบเสมือนแม่ทัพอิสราเอลที่คอยควบคุมกองทัพให้เดินหน้าเพื่อป้องกันแผ่นดินอิสราเอล 

 

 

วันนี้ TrueID จึงพาทุกคนมารู้จักเบนจามิน เนทันยาฮู ผู้นำทัพอิสราเอล ว่าเขาคือใคร ทำไมฝังใจและหัวรุนแรงกับชาวปาเลสไตน์ได้ขนาดนี้

 

 

ประวัติเบนจามิน เนทันยาฮู

 

 

 

เบนจามิน เนทันยาฮู เกิดเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1949 ในกรุงเทลอาวีฟ โดยทั้งพ่อและแม่เป็นชาวยิว ปัจจุบันมีลูกชาย 2 คนกับภรรยาคนปัจจุบันชื่อ ซาร่า และมีลูกสาวอีก 1 คนกับภรรยาคนก่อน จบการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือเอ็มไอที ใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างเชี่ยวชาญ

 

 

เนทันยาฮู เคยได้รับบาดเจ็บจากการรับใช้ชาติในสงคราม และต้องสูญเสียน้องชายระหว่างภารกิจหน่วยคอมมานโด บุกช่วยตัวประกันที่สนามบินในประเทศอูกันดา เมื่อปี ค.ศ. 1976 และก้าวเข้าสู่แวดวงการเมืองหลังได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตอิสราเอล ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ก่อนจะได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำสหประชาชาติ 

 

 

เขาเป็นนายกรัฐมนตรีที่ครองอำนาจนานที่สุดในอิสราเอล ใต้สังกัดพรรค ‘ลิคุด’ ซึ่งเป็นพรรคที่เน้นความมั่นคงของชาติ เศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรีนิยม ปกครองประเทศตั้งแต่ปี 1973 ปกครองมาแล้วห้าสมัย ในปี 1996-1999 และตั้งแต่ปี 2009 จนถึงปัจจุบัน ที่ผ่านมาเขานำอิสราเอลรับศึกศัตรูใหญ่มากมาย เช่น อิหร่าน ซึ่งสามารถสู้ได้ ไม่เพลี่ยงพล้ำ

 

 

ขณะเดียวกันเนทันยาฮู เจออุปสรรคที่สุดในชีวิต หลังอัยการสูงสุด ประกาศจะตั้งข้อหาในคดีทุจริตคอร์รัปชัน ฉ้อโกง รับสินบน และละเมิดความไว้วางใจ ทำให้หลายฝ่ายคาดว่าเนทันยาฮู จะใช้เอกสิทธิคุ้มครองจากคดีความทั้งหมดหากสามารถตั้งรัฐบาลได้และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่ออีกสมัย แต่ความนิยมในตัวเขาก็ลดลงเช่นกัน

 

 

ในปี 2019 นั้น เนทันยาฮู ไม่สามารถไม่สามารถตั้งรัฐบาล จึงจำเป็นต้องมีการเลือกตั้งใหม่ คู่แข่งของเขาก็ไม่สามารถรวมคนตั้งรัฐบาลได้เช่นกัน แม้ว่าพรรคลิคุดและพันธมิตร จะมีคะแนนนำมาเป็นอันดับที่ 1 จากเหตุการณ์นี้ทำให้อิสราเอลก้าวสู่ช่วง ‘วิกฤตทางการเมือง’

 

 

วิกฤตทางการเมืองครั้งนี้ ทำให้อิสราเอลต้องมีการเลือกตั้งถึง 4 ครั้งในรอบ 2 ปี เนื่องจากสภาอิสราเอลมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนามากเกินไป อาจทำให้เกิดความแตกแยกกันเองได้ จนไม่ยอมตั้งรัฐบาลร่วมกัน แต่เมื่อการเลือกตั้งครั้งสุดท้ายพรรคของเนทันยาฮู ก็ได้คะแนนเสียงมากที่สุดอีกครั้ง และเป็นการชนะการเลือกตั้งในสมัยที่ 5 โดยจับมือกับนายเบนนี แกนซ์ ประธานรัฐสภา อดีตผู้บัญชาการทหารอิสราเอล หัวหน้ากลุ่มพันธมิตรบลูแอนด์ไวท์ ที่ต่อสู้กันในการเลือกตั้งถึง 3 ครั้งและไม่มีครั้งใดที่มีใครได้คะแนนเสียงข้างมากและสามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้โดยหลังการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 2 มีนาคม เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19ขึ้น ส่งผลให้เกิดเสียงเรียกร้องให้ตั้งรัฐบาลที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จแล้ว นับเป็นการสิ้นสุดวิกฤตทางการเมืองครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศลง

 

 

 

ความสั่นคลอนทางการเมืองเป็นบาดแผลทางสงคราม


ความไม่สงบเริ่มประทุขึ้นหลังจากการครองตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของเบนจามิน เนทันยาฮู การตัดสินใจของเขาในปี 1996 เพื่อเปิดอุโมงค์โบราณใกล้มัสยิดอัลอักซอทำให้ชาวปาเลสไตน์โกรธจนจุดประกายการต่อสู้ที่ดุเดือด แต่ไม่นานเขาจึงยอมยุติการกระทำดังกล่าวเพื่อรักษาความสงบสุขในปี 1993 และในปี 1997 ตกลงที่จะถอนทหารออกจากฝั่งตะวันตกเมืองฮีบรอน 

 

 

เนทันยาฮู โดนแรงกดดันจากพันธมิตรภายในส่วนใหญ่ ทำให้ตัดสินใจประกาศความตั้งใจที่จะจัดตั้งนิคมชาวยิวใหม่บนที่ดินชาวปาเลสไตน์ ทำให้เกิดการประท้วงอย่างรุนแรง รวมถึงมีการวางระเบิดอย่างต่อเนื่อง ในปี 1998 เนทันยาฮู และผู้นำชาวปาเลสไตน์ ยัสเซอร์อาราฟัต เข้าร่วมการเจรจาสันติภาพซึ่งส่งผลให้บันทึกข้อตกลง “Wye Memorandum” เงื่อนไขคือการส่งมอบ 40% ของเวสต์แบงก์ให้อยู่ภายใต้การควบคุมของปาเลสไตน์ ข้อตกลงดังกล่าวถูกคัดค้านโดยกลุ่มฝ่ายขวาในอิสราเอล และมีอีกหลายกลุ่มในรัฐบาลของเนทันยาฮูได้ถอนตัวออกรัฐบาล 

 

 

 

 

การเมืองเป็นปัจจัยความขัดแย้งอิสราเอล VS ปาเลสไตน์


นายกรัฐมนตรีแห่งอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮู อยู่ภายใต้แรงกดดันจากการเลือกตั้งที่ผ่านมา หลังคู่แข่งได้พยายามก่อตั้งรัฐบาลใหม่ 

 

ขณะที่การเมืองของปาเลสไตน์เองก็แตกแยกอย่างมาก เมื่อกลุ่มฮามาสที่ปกครองฉนวนกาซา ฟาทาห์ เขตปกครองเวสต์แบงค์ และการเลือกตั้งต้องเลื่อนออกไป ทำให้ฮามาสไม่พอใจอย่างรุนแรง อีกทั้งยังรู้สึกแย่มากที่ถูกมองข้าม หลังจากที่สหรัฐฯ ภายใต้อดีต ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ เริ่ม “ข้อตกลงอับราฮัม” สถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอล กับ UAE และบาห์เรน เมื่อปีที่แล้ว จนทำให้ปาเลสไตน์ประณามข้อตกลงนี้

 

 

 

การที่ผู้นำของทั้ง 2 ฝ่าย ใช้ถ้อยคำตอบโต้กันอย่างไม่ลดละ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง


“เราจะไม่ให้กลุ่มสุดโต่งใดมาทำลายสันติสุขในเยรูซาเลม เราจะบังคับใช้กฎหมายและคำสั่งอย่างเด็ดขาด และรับผิดชอบ เราจะดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่า ทุกศาสนามีเสรีภาพในการนับถือศาสนา แต่จะไม่ยอมให้เกิดความรุนแรง” นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู กล่าว


ขณะที่ อิสมาอิล ฮานิเยห์ ผู้นำขบวนการฮามาส ย้ำว่า หากอิสราเอลโจมตี เราก็พร้อมโจมตีกลับ และหากอิสราเอลหยุด เราก็พร้อมจะหยุดด้วย

 

 

ความขัดแย้งของอิสราเอลและปาเลสไตน์ ยุคใหม่ เริ่มขึ้นเมื่อ องค์การสหประชาชาติ ได้ออกมติให้อิสราเอลก่อตั้งรัฐใหม่ขึ้นได้บนดินแดนปาเลสไตน์ โดยจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งชาวปาเลสไตน์จะเหลือเพียงดินแดนเดียวนั่นก็คือฉนวนกาซากับเขตเวสต์แบงก์ แน่นอนว่ามตินี้สร้างความไม่พอใจให้แก่ชาวปาเลสไตน์รวมทั้งชาวอาหรับในประเทศใกล้เคียงมาก จนกลายเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งอันยาวนานระหว่างอิสราเอล ปาเลสไตน์รวมทั้งอาหรับในปัจจุบัน

 

 

ข้อมูลจาก มติชน , TNN WORLD , themomentum , israel-un

ภาพจาก AFP

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง