รีเซต

หน้าเหมือนเป๊ะ ! "มาร์ค" เวอร์ชันร่างอวาตาร์ โผล่จัดพอดแคสต์คู่พิธีกรเทค

หน้าเหมือนเป๊ะ ! "มาร์ค" เวอร์ชันร่างอวาตาร์ โผล่จัดพอดแคสต์คู่พิธีกรเทค
TNN ช่อง16
17 ตุลาคม 2566 ( 11:05 )
70
หน้าเหมือนเป๊ะ ! "มาร์ค" เวอร์ชันร่างอวาตาร์ โผล่จัดพอดแคสต์คู่พิธีกรเทค

ปฏิเสธไม่ได้ว่ามาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) ซีอีโอของ เมตา (Meta) บริษัทแม่ของเฟซบุ๊ก ดูจะคลั่งใคล้ในเมตาเวิร์ส (Metaverse) มากเสียจนเขาไม่ยอมปรากฏตัวด้วยร่างจริง โดยล่าสุดเขาเลือกปรากฏตัวด้วยอวาตาร์ (Avatar) แบบหน้าเหมือนเป๊ะ ๆ ในรายการพอดแคสต์ของเล็กซ์ ฟริดแมน (Lex Fridman) พิธีกรด้านเทคโนโลยีชาวอเมริกัน


โดยทั้งคู่สนทนากันเป็นเวลากว่า 1 ชั่วโมงในรูปแบบอวาตาร์เสมือนจริง พร้อมกับสวมชุดหูฟังเควสต์ โปร (Quest Pro) ของเมตาไปด้วย โดยฟริดแมนถึงกับเอ่ยว่า เหตุการณ์นี้ “เป็นการสัมภาษณ์ครั้งแรกในเมตาเวิร์ส มันน่าเหลือเชื่อจริง ๆ เห็นตั้งแต่รอยกระไปจนถึงริ้วรอยการย่นเวลาเขายิ้ม” ซึ่งในรายการแม้พวกเขานั่งติดกันในห้องเดียวกัน แต่จริง ๆ แล้วทั้งคู่อยู่ไกลกันหลายร้อยกิโลเมตร 



สำหรับเทคนิกการย้ายร่างกายเข้าสู่โลกดิจิทัล ฟริดแมน และซัคเกอร์เบิร์ก ได้เริ่มกระบวนการสแกนและบันทึกตัวเองเพื่อแสดงออกทางสีหน้าและการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ด้วยการใช้แบบจำลองของเทคโนโลยีที่มีชื่อว่า โคเดค อวาตาร์ (Codec Avatars) ซึ่งเป็นโครงการที่เมตาพัฒนามานานหลายปี 


โคเดค อวาตาร์ เป็นระบบที่ทำงานโดยการย่อรูปภาพที่สแกนด้วยกล้องลงไปในโคเดค หรือสัญญาณแปลง และสัญญาณเหล่านี้จะถูกส่งไปยังชุดหูฟังเพื่อแปลงเป็นภาพการแสดงออกสีหน้า หรือการขยับตัวแบบตามเวลาจริง (Real-Time) ไปยังตัวละครอวาตาร์อย่างเป็นธรรมชาติ โดยมาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก อธิบายเพิ่มเติมว่า ขั้นตอนนี้คือการส่งภาพเสมือนตัวตนของเราในเวอร์ชันเข้ารหัสไปยังระบบดิจิทัลนั่นเอง นอกเหนือจากนั้นเขายังเคลมว่า วิธีนี้ทำให้ช่วยลดแบนด์วิธการส่งข้อมูลให้น้อยลงกว่าการใช้งานระบบวิดีโอแบบประสิทธิภาพสูงอีกด้วย  


อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของกระบวนการ “แปลงร่าง” เข้ามาสู่โลกเมตาเวิร์สนั้น ฟริดแมน พิธีกรรายการระบุว่ามันยังใช้เวลามากพอสมควร แต่ซัคเกอร์เบิร์ก ซีอีโอของเมตาระบุว่า ในอนาคตอันใกล้ ผู้ใช้สามารถสร้างโมเดล 3 มิติของตัวเองได้อย่างรวดเร็วโดยใช้สมาร์ตโฟนและขนส่งพวกเขาไปยัง “จักรวาลนฤมิตร” ได้ในเวลาเกือบทันที โดยการใช้โทรศัพท์สแกนใบหน้าอย่างรวดเร็วด้วยโทรศัพท์มือถือในเวลา 2-3 นาที รวมถึงการใช้เสียงพูดเล็กน้อยเท่านั้น


ที่มาของข้อมูล Designtaxi

ที่มาของรูปภาพ Youtube



ข่าวที่เกี่ยวข้อง