รีเซต

“เล็บเหลือง” สัญญาณเตือนเบาหวาน-ไทรอยด์ จริงหรือไม่?

“เล็บเหลือง” สัญญาณเตือนเบาหวาน-ไทรอยด์ จริงหรือไม่?
TNN ช่อง16
26 พฤษภาคม 2565 ( 14:04 )
104

วันนี้ ( 26 พ.ค. 65 )ตามที่มีการกล่าวถึงในประเด็นเรื่องเล็บเหลือง เป็นสัญญาณเตือนของโรคเบาหวาน โรคปอด และโรคไทรอยด์ ทาง ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขพบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีมีบทความบนสื่อออนไลน์กล่าวถึงเรื่องเล็บเหลือง อาจเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น กลุ่มอาการเล็บเหลือง การติดเชื้อราที่เล็บ การแพ้ยาทาเล็บ รวมถึงอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคเบาหวาน โรคปอด โรคไทรอยด์ และโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ ซึ่งอาจจำเป็นต้องเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจหาสาเหตุและทำการรักษาอย่างเหมาะสม ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า เล็บสีเหลืองไม่ได้เป็นสัญญาณเตือนของโรคเบาหวาน โรคปอด และโรคไทรอยด์  กลุ่มโรคเล็บเหลือง (Yellow nail syndrome) จะมีอาการเล็บเป็นสีเหลืองทุกเล็บ จะโรคที่พบร่วมกับทางเดินน้ำเหลืองที่มีการอุดตันทำให้เกิดแขนหรือขาบวมและมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดหรือการอักเสบของหลอดลม และไซนัสได้

เล็บที่มีสุขภาพดี คือเล็บที่มีสีออกชมพูจางๆ จากสีผิวของเนื้อข้างใต้เล็บมีพื้นผิวเรียบ ผิวหนังรอบเล็บมีความแข็งแรงและเล็บมีความหนาไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป  ถ้าเล็บมีความแตกต่างไปจากนี้ ถือว่าเป็นเล็บที่ไม่ปกติจะเป็นสัญญาณบอกโรคได้ เช่น โรคเชื้อรา ที่นอกจากเล็บจะหนาขึ้นแล้ว อาจมีสีเปลี่ยนไปเป็นสีเหลืองหรือขาวหรือน้ำตาลร่วมกับมีปลายเล็บร่อน โรคสะเก็ดเงินมักจะมีอาการเล็บหนามีสีเหลืองได้มักเป็นหลายๆ เล็บที่มีสีขาวครึ่งเล็บพบได้ในคนที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังเล็บที่มีสีขาว 2 ใน 3 ของเล็บพบได้ในคนเป็นโรคเบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง โรคตับแข็งและโรคหัวใจวาย เล็บที่มีสีขาวเป็นแถบขวางอาจเป็นโรคโปรตีนในร่างกายต่ำ 

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการแพทย์ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.dms.go.th หรือโทร 02 5906000

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : เล็บสีเหลืองไม่ได้เป็นสัญญาณเตือนของโรคเบาหวาน โรคปอด และโรคไทรอยด์ แต่เล็บสีเหลืองจะเป็นสัญญาณของโรคที่พบร่วมกับทางเดินน้ำเหลืองที่มีการอุดตันทำให้เกิดแขนหรือขาบวมและมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดหรือการอักเสบของหลอดลม และไซนัสได้

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข


ข้อมูลจาก  : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม

ภาพจาก : AFP

ข่าวที่เกี่ยวข้อง