รีเซต

AI กำลังเป็นคีย์สำคัญในการวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งปอด

AI กำลังเป็นคีย์สำคัญในการวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งปอด
TNN ช่อง16
3 ตุลาคม 2563 ( 09:54 )
209

ในสหรัฐอเมริกา มีผู้ใหญ่กว่า 200,000 คน ที่คาดว่าจะถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปอดทุกปี ซึ่งจากมะเร็งทั้งหมด มะเร็งปอดจะถูกค้นพบประมาณ 13% โดยจากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าเกือบ 65 ล้านคนทั่วโลกต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยโรคปอดเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับที่ 3 ซึ่งจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้เกือบ 3 ล้านคนต่อปี ยิ่งไปกว่านั้น มีคนมากกว่า 300 ล้านคนที่เป็นโรคหอบหืด และโรคปอดบวมก็เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ขวบ และยังมีมากกว่า 10 ล้านคนที่เป็นวัณโรค

ภาวะปอดมีปัญหาดังกล่าวยังส่งผลต่อสุขภาพด้านอื่น ๆ เช่นโรคหัวใจ โรคซึมเศร้า เบาหวาน และภาวะหยุดหายใจในขณะหลับ คนหลายล้านคนยังเป็นโรคความดันโลหิตสูง และการหายในขณะที่นอนอย่างไม่เป็นระบบ


AI ของ VIDA Diagnostics Inc. 

VIDA Diagnostics Inc. เป็นบริษัทชั้นนำในด้านการดูแลปอดและระบบทางเดินหายใจที่ก้าวหน้า เมื่อปี 2019 ทาง VIDA ได้ทำการจับมือกับ TeraRecon บริษัทวิจัยและพัฒนาด้าน AI เพื่อสร้าง AI สำหรับใช้วินิจฉัยและสร้างภาพเพื่อรักษาโรคเกี่ยวกับปอดได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น ซึ่งนั่นก็ทำให้เกิด "LungPrint Discovery" และ "LungPrint Insight" ขึ้นมา

  • LungPrint Discovery - คือเทคโนโลยี AI สำหรับช่วยนักรังสีวิทยาวินิจฉัยโรคของผู้ป่วยให้มีความแม่นยำมากขึ้น โดย Dr. John Newell ได้เล่าว่า LungPrint Discovery ได้ช่วยให้เขาประหยัดเวลาและมั่นใจในการวินิจฉัยมากยิ่งขึ้น โดยช่วยลดเวลาในการวินิจฉัยลงไปมากถึง 35%
  • LungPrint Insight - คือเทคโนโลยี AI สำหรับใช้วิเคราะห์ของ CT scans และให้การซัพพอร์ตในด้านตัดสินใจเชิงคาดการณ์สำหรับการรักษาด้วย Lung Cancer Resection of the Lung Volume Analysis เช่น ตัว AI จะทำตรวจสอบสภาพของผู้ป่วยมะเร็งปอด เพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมในการผ่าตัด ซึ่งมีความแม่นยำกว่ามาก ถ้าเทียบกับวิธีเดิม ๆ สำหรับผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง การวิเคราะห์ปริมาณปอดจะสนับสนุนการตัดสินใจในการรักษาด้วยการวิเคราะห์ CT scan


AI ระบบทางเดินหายใจของ VIDA มีความสำคัญอย่างยิ่งในการวินิจฉัยและประเมินโรคปอดที่ซับซ้อน เช่น ความเสียหายของปอดที่เกี่ยวข้องกับโคโรนาไวรัสและโรคปอดอื่น ๆ อีกมากมายที่ส่งผลกระทบต่อคนนับล้านทั่วโลก


เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com 
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live 
twitter : TNNONLINE 
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE 
Instagram : TNN_ONLINE 
TIKTOK : @TNNONLINE

แหล่งที่มา sciencetimes.com

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง