รีเซต

ร้อนฉ่า! ค่าโง่เหมืองทองอัครา

ร้อนฉ่า! ค่าโง่เหมืองทองอัครา
062528XXXX
27 สิงหาคม 2563 ( 12:33 )
11K
3

     ย้อนรอยเหมืองทองอัครา หนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ และผลพวงคำสั่ง คสช.ที่ 72/2559 สั่งปิดเหมืองทองคำ ขณะที่ ส.ส.วิโรจน์ จากพรรคก้าวไกล ตั้งข้อสังเกตงบประมาณสู้คดี 3 ปี ใช้กว่า 300 ล้านบาท พร้อมยกคำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ ซึ่งเคยประกาศว่า จะรับผิดชอบต่อการใช้ ม.44 ในการปิดเหมืองทองอัคราเอง มาทวงถามอีกครั้ง 

 

     ข้อพิพาทเหมืองทองอัครา คือ กรณี ที่รัฐบาล คสช. ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งที่ 72/2559 สั่งระงับการอนุญาตและการทำเหมืองแร่ทองคำทั้งหมดในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวโดยต้องระงับการประกอบกิจการตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2560 เป็นต้นไป

 

 



ส่งผลให้ “บริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดทเต็ด ลิมิเต็ด” บริษัทสัญชาติออสเตรเลีย ผู้ชนะประมูล ที่ได้สิทธิสัมปทานการขุดเหมืองชาตรีใต้ (บริเวณรอยต่อ จ.พิจิตร , พิษณุโลกและเพชรบูรณ์) รวม 1,259 ไร่ ระยะเวลา 20 ปีที่จะสิ้นสุดวันที่ 18 มิ.ย.63 และได้ขยายพื้นที่ทำเหมืองที่ได้สิทธิสัมปทานเพิ่มเติมใน จ.พิจิตรเหมืองชาตรีเหลืออีก 9 แปลง พื้นที่ 2,466 ไร่ระยะเวลา 20 ปี



ซึ่งจะครบในวันที่ 20 ก.พ.2571 ที่มีบริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด ที่เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) บริษัทลูกในประเทศไทย ที่ดำเนินการขุดเหมือง ต้องปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงานทั้งหมด บริษัทคิงส์เกตฯ เจ้าของสัมปทาน จึงได้นำเรื่องสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ตามข้อบังคับ UNCITRAL Arbitration Rules



ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีไทยออสเตรเลียหรือที่เรียกกันว่า TAFTA เพื่อให้รัฐบาลไทยชดใช้ค่าเสียหายจากการปิดเหมืองเป็นจำนวนกว่า 3 หมื่นล้านบาทหลังจากเจรจากับรัฐบาลไทยแล้วไม่สามารถตกลงกันได้ ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ เคยระบุไว้เมื่อปี 2562 ว่าจะรับผิดชอบกับกรณีดังกล่าวด้วยตัวเอง

 

 

ย้อนเส้นทางการปิดสัมปทานเหมืองทองอัคราไมนิ่ง

 

            “อัคราไมนิ่ง” หรือ บริษัทอัครา รีซอร์สเซส จำกัด(มหาชน) ร่วมทุนกับ บริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด (Kingsgate Consolidated NL) ประเทศออสเตรเลียสำรวจและผลิตและจำหน่ายแร่ทองคำและเงิน ได้อาชญาบัตรพิเศษสำรวจสายแร่ทองคำ นับแต่ปี 2530 และจดทะเบียนก่อตั้ง 13 ส.ค.2536 มีสัมปทานเหมืองแร่ชาตรี บริเวณเขาหม้อ เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร ตามใบประทานบัตร 14 แปลง เนื้อที่ประมาณ 110,000 ไร่บริเวณรอยต่อจังหวัดเพชรบูรณ์ พิจิตร พิษณุโลก

 

ซึ่งมีการประเมินว่า มีสินแร่ภูเขาไฟอยู่ 14.5 ล้านตัน ปริมาณทองคำเฉลี่ย 2.6 กรัม และแร่เงิน 13.3 กรัมต่อสินแร่หนัก 1 ตัน สามารถสกัดเป็นโลหะ ทองคำได้ 32 ตัน โลหะเงิน 98 ตัน มูลค่า 10,000 ล้านบาท และ 600 ล้านบาท (ตามลำดับ)

 

ปี 2538 > บริษัทอัคราไมนิ่ง สำรวจพบสายแร่ทองจังหวัดพิจิตรและเพชรบูรณ์ และยื่นขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ทองคำสำเร็จ กระทั่ง 27 ธันวาคม 2542 ก็ได้ทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามใบอนุญาตประทานบัตรจำนวน 5 แปลง พื้นที่ประมาณ 1,259 ไร่ พร้อมได้ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่เพื่อการเก็บขังน้ำขุ่นข้นหรือมูลดินทรายนอกเขตเหมืองแร่ พื้นที่ประมาณ 1,575 ไร่ เพื่อเปิดการผลิตเหมืองแร่ทองคำชาตรี(ใต้)        

 

สำหรับเหตุที่ใช้คำว่า “ชาตรี” ก็เพื่อเป็นการระลึกถึง นายชาตรี ชัยชนะพูลผล อดีตเป็นเจ้าหน้าที่ของบริษัทอัคราฯ ซึ่งเป็นผู้เริ่มสำรวจทองคำในบริเวณนี้และได้เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ (สำนักข่าวอิสรา. "อิศรา" บุก "อัคราฯ" ลัดเลาะดูรอบเหมืองทองชาตรี จ.พิจิตร, 2558)

 

มิถุนายน 2543 > บริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด ได้รับใบประทานบัตร ขุดสำรวจ ขุดแร่ ผลิตและจำหน่ายแร่ทองคำ ที่ ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร (19 มิ.ย.2543–18 มิ.ย. 2563) ตามโครงการเหมืองทองคำชาตรี จำนวน 5 แปลง เนื้อที่ประมาณ 1,259 ไร่ เดินสายพานผลิตแร่ทองคำส่งไปสกัดเป็นทองบริสุทธิ์ที่ออสเตรเลีย และนำเข้าเมืองไทยอีกครั้ง

 

12 ธันวาคม 2544 > นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปทำพิธีเปิดเหมืองทองคำผลิตทองคำแท่งเชิงพาณิชย์ของเหมืองแร่ทองคำชาตรีใต้ก้อนแรก พร้อมกันนั้นก็ได้ทำทุกวิถีทางกว้านซื้อที่ดินต่อจากชาวบ้าน ทุ่มจ่ายทั้งค่านายหน้า ค่ารื้อถอน เรียกว่า เงินสะพัดไปทั่วพื้นที่รอบๆเหมืองทอง

 

อย่างไรก็ตาม ด้านหนึ่งการต่อต้านเริ่มปรากฎหนักขึ้น เพราะวิถีชีวิตของชาวบ้านรอบเหมืองเริ่มเปลี่ยน ข้าวปลาอาหาร น้ำอุปโภค-บริโภค-น้ำในการเกษตรเหือดแห้ง ชาวบ้านต้องซื้อน้ำกินน้ำใช้ และเริ่มเจ็บป่วยด้วยอาการแพ้ มีผื่นคันเป็นตุ่มบริเวณผิวหนัง มีการร้องเรียนไปยังหน่วยงานต่างๆต่อเนื่อง

 

12 กุมภาพันธ์ 2550 > บริษัทอัคราฯ ได้ทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม กรณีขอประทานบัตรจำนวนอีก 9 แปลง พื้นที่ประมาณ 2,466 ไร่ ตามโครงการเหมืองแร่ทองคาชาตรีเหนือ และขอจัดตั้งสถานที่เก็บขังน้ำขุ่นข้นหรือมูลดินทรายนอกเขตเหมืองแร่ พื้นที่ประมาณ 161 ไร่ รวมทั้ง 2 แหล่ง บริษัท อัคราฯ ได้ประทานบัตรจำนวน 14 แปลง พื้นที่ 3,926 ไร่

 

พฤศจิกายน 2550 > เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย หารือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ด้วยตนเอง เพื่อขอสิทธิสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำของ บริษัท อัคราไมนิ่ง จากัด กระทั่งได้ใบประทานบัตร 9 แปลงในที่สุด และยังขออาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ทองคำจำนวน 44 แปลง พื้นที่ประมาณสี่แสนไร่ที่เพชรบูรณ์ ซึ่งต่อมาคาดว่า เป็นแหล่งแร่ทองคำสุวรรณ และแหล่งทองคำโชคดี

 

ปี 2551 > บริษัท อัคราไมนิ่งฯ ได้ขอขยายพื้นที่และโรงงานเหมืองและผลิตโลหกรรมเพิ่มเติม ใช้ชื่อว่า “โครงการเหมืองแร่ทองคาชาตรีเหนือ” ซึ่งอยู่ติดกับพื้นที่เดิม (เหมืองชาตรีใต้) ท่ามกลางเสียงคัดค้านของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากเห็นว่าการขอขยายพื้นที่ ไม่มีการจัดทารายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ตามมาตรา 46-49 พ.ร.บ.สวล.2535 แต่ก็มีการออกใบอนุญาตให้บริษัทอัคราไมนิ่งฯ ขยายพื้นที่ดังกล่าวได้        

 

โดยช่วงเดือนพฤศจิกายน 2551 เริ่มดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ โครงการเหมืองแร่ทองคาชาตรีเหนือ

 

ปี 2553 > บริษัท อัคราไมนิ่งฯ สร้างบ่อทิ้งเก็บกากแร่แห่งที่ 2 บนพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เป็นที่เก็บขังน้ำขุ่นข้นหรือมูลดินตามโครงการเหมืองแร่ทองคำชาตรี (เดิม) ซึ่งส่อผิดวัตถุประสงค์ของการขออนุญาตใช้พื้นที่ รวมทั้ง EIA ก็กำหนดให้บ่อทิ้งเก็บกากแร่แห่งที่ 2 อยู่ห่างจากคลองและชุมชนอย่างน้อย 1 กิโลเมตร นั่นหมายถึงเหมืองต้องซื้อที่ดินและบ้าน บริเวณริมบ่อเก็บกากแร่ที่ 2 ทันที เพราะห่างเพียง 300 เมตร

 

 

10 พฤศจิกายน 2553 > ตัวแทนประชาชนหมู่ 9 บ้านเขาหม้อ จำนวน 44 คนยื่นฟ้องศาลปกครองพิษณุโลก กรณีบ่อเก็บเก็บกากแร่แห่งที่ 2 ทับเส้นทางสาธารณประโยชน์สายนาตาหวาย-อ่างหิน เพราะเป็นการก่อสร้างบนโฉนดที่ดินของ บริษัทสวนสักพัฒนา จากัด ซึ่งออกตาม น.ส. 3 ก. เลขที่ 1834 ดำเนินคดีกับ 5 หน่วยงานรัฐ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ คณะกรรมการเหมืองแร่ อธิบดีกรมป่าไม้ และองค์การบริหารส่วนตำบลเขาเจ็ดลูก ที่ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่

 

และขอให้ศาลมีคาสั่งเพิกถอนประทานบัตร 5 แปลงแรกของบริษัทฯ ที่ไม่ได้มีการทำ EHIA และยุติการดำเนินการใด ๆในเขตประทานบัตรเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายเป็นการชั่วคราว รวมถึงขอให้เพิกถอนการอนุญาตเข้าทำประโยชน์ในเหมืองแร่ โดยกรมป่าไม้ และเพิกถอนมติสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเขาเจ็ดลูก เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2548 ที่ไม่ได้เปิดให้ประชาชนที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงมีส่วนร่วม

 

ระหว่างระบวนการทางศาล เหมืองทองชาตรีไม่ได้หยุด และมีการขอขยายพื้นที่ทำเหมือง โรงงานทำเหมืองแร่และผลิตโลหะกรรมเพิ่มเติมในแปลงประทานบัตร 9 แปลง นำไปสู่การร้องเรียน-ยื่นฟ้องกรณีผลกระทบเพิ่มขึ้น

 

กระทั่ง ธันวาคม 2553 ศาลปกครอง สั่งให้หยุดการทำงานของเครื่องจักรและให้หยุดทำเหมืองทองคำ จนกว่าแก้ไขเสียงดัง จากนั้นได้มีการวัดคุณภาพของน้ำ กระทั่งศาลมีคำพิพากษาให้ถอนประทานบัตรทั้ง 5 แปลง ระบุเพิกถอนมีผลในวันที่ผู้ร้องสอดไม่จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการเหมืองแร่ทองคำให้เป็นไปประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทาง

 

 

ปี 2554-2556 > กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งศึกษาวิจัย แต่ไม่พบมีการแพร่กระจายของไซยาไนด์ เล็ดลอด

 

พฤษภาคม 2556 > กลุ่มพีมูฟ (ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม)และตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบเหมือง ถูกบริษัทฟ้องกรณีบุกรุกและเข้าไปยังสถานที่เหมือง ทำให้คนคัดค้านเหมืองทองถูกบริษัทอัคราไมนิ่งฯ แจ้งความข้อหาหมิ่นประมาท

 

พฤษภาคม 2557 > ประชาชนยื่นหนังสือร้องเรียนไปยังสานักนายกรัฐมนตรี และนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยรังสิต ลงพื้นที่ตรวจเจาะเลือด โดยผลการตรวจคนรอบเหมืองทองจานวน 738 คน เด็ก 67 คน มีสารหนูในเลือดสูง และผู้ใหญ่ 664 คน มีสารหนู 104 คน ส่วนผลตรวจจากสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ระบุว่าประชาชน 200 ราย มี DNA ผิดปกติ ทำให้อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ยุคนั้นออกคำสั่งห้ามทำเหมือง 30 วัน มีผลตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2558 เพื่อให้แก้ปัญหา แต่บริษัทอัคราไมนิ่งฯ ได้ยื่นอุทธรณ์คาสั่งดังกล่าว

 

ธันวาคม 2557 > ชาวบ้านจาก 5 จังหวัด (พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ลพบุรี สระบุรี) ประมาณ 40 คน ยื่นหนังสือต่อคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชน และพิจารณาเป็นตัวแทนเป็นโจทก์หรือตัวแทนประชาชนผู้ได้รับผลกระทบต่อการทำเหมืองทองคำ ฟ้องร้องเอาผิดต่อ บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด(มหาชน)

 

กันยายน 2558 > กลุ่มพิทักษ์สิ่งแวดล้อมเนินมะปราง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก ต่อนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล ค้านการทำเหมืองแร่ทองคำ

 

สิงหาคม-พฤศจิกายน 2558 > ดร.สมิทธ ตุงคะสมิทธ ผู้เชี่ยวชาญด้านสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต รายงานผลการตรวจเลือดของชาวบ้าน 3 จังหวัด คือ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ จำนวน 1,004 คน ว่าพบสารปนเปื้อนในร่างกายเกินมาตรฐาน

 

ตุลาคม 2558 > กลุ่มประชาสังคมปฏิรูปทรัพยากรและทองคำ (ปปท.) ยื่นหนังสือคัดค้านอีก ขอให้ยุติและเพิกถอนประทานบัตร อาชญาบัตร อาชญาบัตรพิเศษ และให้ระงับการทำเหมืองแร่ทองคำ ต่อสำนักนกยกรัฐมนตรี พร้อมกับเรียกร้องให้ตรวจรักษาสุขภาพคนรอบเหมือง และชดเชยความเสียหายแก่ประชาชนและสิ่งแวดล้อม

 

มีนาคม 2559 > มีการยืนยันผลสรุปการสุ่มตรวจเลือดของชาวบ้านรอบเหมืองทอง 1,004 คน พบว่า 675 คน มีค่าสารโลหะหนักเกินมาตรฐาน แบ่งเป็นแมงกานีสเกินมาตรฐาน 420 คน หรือร้อยละ 41.83 เพิ่มขึ้นกว่าปี 2557 ที่พบร้อยละ 35.7 ค่าสารหนูเกินค่ามาตรฐาน 196 คน หรือร้อยละ 19.52 ลดลงจากปี 2557 ที่พบเกินค่ามาตรฐานร้อยละ 21.3 และพบมีสารไซยาไนด์เป็นครั้งแรก เกินค่ามาตรฐาน 59 คน หรือร้อยละ 5.88 ขณะที่เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี 297 คน พบว่า มีแมงกานีสเกินมาตรฐาน 165 คน หรือร้อยละ 55.56 ค่าสารหนูเกินมาตรฐาน 53 คน หรือร้อยละ 17.85 ไซยาไนด์เกินค่ามาตรฐาน 2 คน หรือร้อยละ 0.67

 

13 ธันวาคม 2559 > พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยุครัฐบาล คสช. ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งที่ 72/2559 เรื่องการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำ ให้ระงับการอนุญาตและการทำเหมืองแร่ทองคำทั้งหมดในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว สั่งปิดเหมืองทองคำทั่วประเทศไทยร่วมทั้ง จ.พิจิตร ตั้งแต่ 1 มกราคม 2560 เพราะมีปัญหากับชาวบ้านในพื้นที่ทำเหมืองมีผลกระทบจากสารโลหะหนัก ปนเปื้อนสารพิษในแหล่งน้ำ และนาข้าว

 

ที่มา : https://ibusiness.co/detail/9620000106024

 

 

กรกฎาคม พ.ศ.2561 > คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา ข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการทำเหมืองแร่ทองคำ อันเนื่องมาจากคำสั่งปิดเหมืองทอง ได้รายงานผลการศึกษาโครงการ “การสำรวจตรวจสอบโอกาสการรั่วไหลของสารพิษจากบ่อกักเก็บกากแร่ที่ 1 (TSF1)” โดย ผศ.ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และคณะ พบว่า บ่อกักเก็บกากแร่ที่ 1 มีการรั่วซึมจริง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้สารโลหะหนักที่กักเก็บในบ่อกักเก็บกากแร่ของเหมือง รั่วซึมปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม และกระทบกับสุขภาพของประชาชนรอบเหมือง

 

ที่มา      https://greennews.agency/?p=19749

 

พฤศิกายน 2562 > นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม ได้เปิดเผยถึงแนวทางการเจรจาข้อยุติกับบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดตเต็ด ลิมิเต็ด ซึ่งรวมถึงการยื่นข้อเสนอให้ดำเนินการต่อได้แต่ต้องปฏิบัติตาม “พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2560” ซึ่งเพิ่งมีผลบังคับใช้ 29 ส.ค. 2560 เท่านั้น โดยมี 4 แนวทาง ประกอบด้วย 1.จ่ายเงินให้ แล้วให้ อัคราไมนิ่ง เลิกกิจการไป 2.ทำตามข้อเสนอของบริษัทฯ เพื่อจะได้ไม่ต้องจ่ายเงิน 3.รอผลการตัดสินของคณะอนุญาโตแล้วปฏิบัติตาม และ 4.จ่ายค่าปรับบางส่วน แล้วหาช่องทางชดเชย แล้วให้ดำเนินกิจการต่อ

 

ทั้งนี้ ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2562 >ในการประชุมนัดดังกล่าวมีการหารืออย่างกว้างขวางในเรื่องบริษัท คิงส์เกตฯ ในฐานะ บริษัทแม่ของอัคราไมนิ่ง ฟ้องร้องรัฐบาลไทย หลังจากโดนคำสั่ง คสช.ปิดเหมือง โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและรมว.กลาโหม พูดในที่ประชุมว่า ขอเวลาคิดก่อนว่าจะใช้แนวทางใด ซึ่งเวลานี้ยังไม่ขอตัดสินใจ แต่ขอรับผิดชอบด้วยตัวเอง เพราะเป็นผู้ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ต้น

 

ล่าสุด วันที่ 28 สิงหาคม 2563 > แฮชแท็ก #เหมืองทองอัครา กลับมาติดเทรนด์ทวิตเตอร์อีกครั้ง เมื่อมีการเผยแพร่เอกสารงบประมาณปี 2564 โดยเป็นรายละเอียดระบุถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินการระงับข้อพิพาทระหว่างราชอาณาจักรไทย กับบริษัท คิงส์เกต จากประเทศออสเตรเลีย


โดยทวิตเตอร์ @wirojlak ของ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.พรรคก้าวไกล มีการโพสต์ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้งบประมาณรัฐ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ดังนี้

 

 




 

ในปี 2562 รัฐบาลใช้งบเรื่องนี้ 60 ล้านบาท ส่วนปี 2563 ใช้งบไป 218 ล้านบาท และในปี 2564 กำลังตั้งงบประมาณสำหรับเรื่องนี้ 111 ล้านบาท รวมแล้วเกิน 300 ล้านบาท

 

ดยมีหลักฐานอ้างอิงมาจาก รายงานการวิเคราะห์งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของกระทรวงอุตสาหกรรม

 

 


ทั้งนี้ นายวิโรจน์ มองว่า เราไม่รู้ว่าทางรัฐจะต้องเสียภาษีอีกเท่าไร เพื่อใช้ระงับข้อพิพาทนี้ พร้อมยกคำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ ซึ่งเคยประกาศว่า จะรับผิดชอบต่อการใช้ ม.44 ในการปิดเหมืองทองอัคราเอง.

 

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/politics/792265

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

>>> ศรีสุวรรณ ค้านเพชรบูรณ์ ชงอนุญาต บ.อัคราทำเหมืองทองในเขตป่า

>>> ราคาทองคำล่าสุดวันนี้

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง