ระทึก!ดาวเคราะห์น้อยเฉียดโลก ใกล้กว่าดวงจันทร์ 1 ก.ย.นี้
วันนี้ ( 21 ก.ค. 63 )นายวิมุติ วสะหลาย ฝ่ายวิชาการ สมาคมดาราศาสตร์ไทย เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ องค์กรบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือนาซา ได้เปิดเผยข้อมูลวัตถุใกล้โลกที่จะเฉียดโลก ในช่วง 40 วัน หลังจากนี้ จะมีดาวเคราะห์น้อยจำนวน6ดวง ซึ่ง มีอยู่1 ดวงชื่อ วัตถุชื่อ 2011 ES4 เข้าใกล้โลกในระยะ 71,645 กิโลเมตร ในเวลา 23.12 น. ของวันที่ 1 กันยายน 2563 โดยเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 8.2 กิโลเมตร ต่อวินาที
โดยระยะดังกล่าวถือว่าใกล้มาก เพราะระยะห่างจากโลกกับดวงจันทร์นั้นอยู่ที่ 384,403 กิโลเมตร แต่ จากวงโคจร ดาวเคราะห์ 2011 ES4 จะวิ่ง แทรกระหว่างโลกและดวงจันทร์ ใน ระยะ 71,645 กิโลเมตร
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลดังกล่าว ไม่มีอะไรน่ากังวลเพราะในแต่ละวันนั้นมีวัตถุท้องฟ้า ที่โคจรเฉียดไปเฉียดมากับโลกมากมาย ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้ถือเป็นรายงานเพื่อการเฝ้าระวังกับวัตถุอวกาศที่เข้าใกล้โลกในช่วง 60 วัน เฉพาะดวงที่จะเฉียดในระยะ 10 เท่าของระยะโลก-ดวงจันทร์
ทั้งนี้ ในช่วง ประมาณ 45 วันนี้ สรุปมี ดาวเคราะห์น้อยประมาณ 6 ดวง โคจรใกล้โลก
22 กรกฎาคม วัตถุชื่อ 2020 NO เข้าใกล้โลกในระยะ 776,916 กิโลเมตร
28 กรกฎาคม วัตถุชื่อ 202 NZ เข้าใกล้โลกในระยะ 3,085,337 กิโลเมตร
29 กรกฎาคม วัตถุชื่อ 2030 MX3 เข้าใกล้โลกในระยะ 3,609,943 กิโลเมตร
31 กรกฎาคม วัตถุชื่อ 2018 PY7 เข้าใกล้โลกในระยะ 2,984,906 กิโลเมตร
4 สิงหาคม วัตถุชื่อ 2018 BD เข้าใกล้โลกในระยะ 1,454,589 กิโลเมตร
1 กันยายน วัตถุชื่อ 2011 ES4 เข้าใกล้โลกในระยะ 71,645 กิโลเมตร
ปกติแล้วนาซาจะแสดงตัวเลขของวัตถุทุกชนิดที่โคจรเข้าใกล้โลกอยู่แล้ว โดยเคยมีวัตถุที่เข้าใกล้โลกมากๆชนิดที่ถากบรรยากาศของโลกแล้วกระเด็นหลุดออกไปก็เคยมีมาแล้ว ซึ่งหากวัตถุ หรือดาวเคราะห์น้อยดวงใดเข้าข่ายอันตรายกับโลกนาซาจะต้องออกมาเตือน จึงไม่ต้องเป็นกังวล
ขณะที่ NARIT หรือ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก วันนี้ (21 ก.ค. 63 )ตั้งแต่ 18.00-22.00 น. ชวนคนไทยชม ดาวเสาร์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ โดยจะมีดวงอาทิตย์ โลก ดาวเสาร์ เรียงกันในแนวเส้นตรง ส่งผลให้ดาวเสาร์มีระยะใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี ห่างประมาณ 1,346 ล้านกิโลเมตร ในวันดังกล่าวเมื่อดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้า จะมองเห็นดาวเสาร์ปรากฏอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และจะสังเกตได้ยาวนานตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า ดูผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 4 นิ้ว หรือมีกำลังขยายตั้งแต่ 50 เท่าขึ้นไป จะเห็นวงแหวน A และวงแหวน B แยกกันอย่างชัดเจนโดยมีช่องแบ่งแคสสินีอยู่ตรงกลางระหว่างวงแหวนทั้งสอง
ปรากฎการณ์ดาวเสาร์ ใกล้โลกที่สุดในรอบปี เริ่มมองเห็นได้ในช่วงหัวค่ำ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จากนั้นสังเกตการณ์ได้ยาวนานตลอดทั้งคืนถึงรุ่งเช้า
พร้อมลุ้น!ชมดาวหางนีโอไวส์รอบ เกือบ 7 พันปี เป็นวันที่เห็นที่คนไทยจะเห็นดาวหางนี้ชัดที่สุด เพราะเป็นคืนเดือนมืด ดูได้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ดาวหางจะปรากฏอยู่ใกล้เส้นขอบฟ้า ใกล้กับ"กลุ่มดาวจระเข้" รวมทั้งยังสามารถ ชมดาวพฤหัสบดีที่สว่างปรากฏใกล้กับดาวเสาร์อีกด้วย
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ตั้งกล้องโทรทรรศน์ 4 จุดสังเกตการณ์หลัก เชียงใหม่ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา สงขลา ในรูปแบบ New Normal ใกล้ที่ไหนไปที่นั่น ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย
เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online
TIKTOK : @tnnonline