รีเซต

เด็กติดโควิด กินยาอะไรได้บ้าง? ผู้ปกครองควรสังเกตุอาการอย่างไร

เด็กติดโควิด กินยาอะไรได้บ้าง? ผู้ปกครองควรสังเกตุอาการอย่างไร
TNN ช่อง16
24 มีนาคม 2565 ( 12:04 )
184
เด็กติดโควิด กินยาอะไรได้บ้าง? ผู้ปกครองควรสังเกตุอาการอย่างไร

24 มีนาคม 2565    ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยให้ข้อมูลเกี่ยวกับการติดเชื้อโควิด 19 ในเด็ก ไว้ว่า   


เด็กติดเชื้อโควิค 19  อาการจะน้อยมาก หรือไม่มีอาการเป็นส่วนใหญ่ อันตรายถึงชีวิตยิ่งน้อยมากๆ 

การศึกษาในอเมริกา ในช่วงที่มีการระบาดสูงมากของโอมิครอน เด็กเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นก็จริง เพราะมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก และเด็กจำนวนหนึ่งที่เข้ารับการรักษาด้วยสาเหตุอื่น แต่ตรวจพบโควิด 19 ก็มีมากขึ้น


ปัญหาสำคัญของการติดเชื้อในเด็ก ที่มีอาการน้อย แต่ เด็กจะเป็นผู้กระจายเชื้อหรือแพร่เชื้อได้ดีมาก 

เด็กป่วย ไม่สามารถแยกตัวเองออกไปได้ พ่อแม่ผู้ปกครองจะคอยดูแลอย่างใกล้ชิด และเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่ติดโรค 

ผมมีคนไข้เด็กที่ติดจากสถานเลี้ยงเด็ก เมื่อตรวจพบ แม่ยอมติดเชื้อด้วย เพราะต้องดูแลรักษาลูก รวมทั้งบุคคลในบ้าน เมื่อเด็กคนหนึ่งเป็น พี่น้องที่วิ่งเล่นด้วยกัน ก็จะติดกันอย่างแน่นอน


ในอดีตที่ผ่านมา เชื้อส่วนใหญ่อยู่ในผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่สามารถแยกตัวออกมาได้ ป้องกันไม่ให้ติดเด็ก  แต่เมื่อมีการระบาดอย่างมากโดยเฉพาะ โอมิครอน การติดเชื้อจะลงมาสู่เด็กอย่างแน่นอน   เด็ก ภาระความรุนแรงโรคน้อยมาก แต่จะเป็นผู้กระจายโรค ไปสู่คนในบ้าน  เด็กเล็กจะกระจายไปสู่ผู้ดูแล ด้วยการสัมผัสใกล้ชิด กอดจูบ เล่นด้วยกันระหว่างเด็ก 


เด็กจำเป็นต้องไปโรงเรียน ในอนาคตเราคงหนีไม่พ้น การติดในโรงเรียน ที่เหมือนแบบโรคหวัดทั่วไปโดยเฉพาะในเด็กเล็ก เด็กโตหรือวัยรุ่น จะมีสภาพสังคม และการเคลื่อนย้ายได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการระบาดในวงกว้างได้มากกว่าเด็กเล็ก  ถึงแม้ว่าความรุนแรงของโรคในเด็กจะน้อยมาก เมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ ความสำคัญในการแพร่กระจายโรคมีมากกว่า 


วัคซีนที่ใช้ในเด็ก ที่ต้องการจะต้องมีความปลอดภัย ต้องมาก่อน และจะต้องมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการติดเชื้อมากกว่า ลดความรุนแรงของโรค เพราะถ้าให้วัคซีนแล้วเด็กยังสามารถติดเชื้อ โดยไม่มีอาการ จะไม่เกิดประโยชน์ในการลดการแพร่กระจายโรคได้  

ช่วงเวลาที่ผ่านมา เด็กมีปัญหาเรื่องการเรียน ที่ต้องเรียนทางไกล ทำให้ประสิทธิภาพการศึกษาของเด็กลดลงอย่างมาก ผ่านมา 2 ปีแล้ว ในอนาคตเด็กต้องไปโรงเรียนอย่างแน่นอน โรคโควิด 19 โอมิครอน มีแนวโน้มความรุนแรงโรคลดลง ก็น่าจะเป็น coronavirus อีกตัวหนึ่งจากที่เคยมีอยู่แล้ว 4 ตัว ที่เราไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ 


ผู้ใหญ่ทุกคนจะต้องมีภูมิต้านทาน ไม่ว่าจะเป็นการได้รับวัคซีนหรือการติดเชื้อ และ ชีวิตของเด็ก ก็จะต้องกลับเข้าสู่สภาพเดิมโดยเฉพาะชีวิตในโรงเรียน



โรงพยาบาลวิชัยเวช อ้อมน้อย ให้ข้อมูลไว้ว่า  สำหรับสถานการณ์โควิด-19 ระลอก 3 ในประเทศไทย เริ่มพบการติดเชื้อในเด็กเพิ่มมากขึ้น โดยส่วนใหญ่เด็กติดโควิด-19 มาจากผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิด โดยเฉพาะคนในครอบครัว เพราะฉะนั้นหากลูกได้รับเชื้อจะมีอาการแตกต่างจากผู้ใหญ่อย่างไร และต้องมีวิธีปฎิบัติตัวอย่างไรถึงจะปลอดภัยกับตัวเด็กและผู้ปกครอง  



วิธีสังเกตอาการของเด็กที่มีความเสี่ยงว่าจะติดเชื้อโควิด-19 โดยอาการของเด็กที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่พบมากที่สุด


1. มีไข้หลายวัน อาจจะไข้สูงหรือไข้ต่ำก็ได้

2. ไอแห้ง

3. อ่อนเพลีย

4. เจ็บคอ

5. อาจมีหรือไม่มีน้ำมูกก็ได้ คัดจมูก

6. บางรายอาจมีผื่นแดง จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส

7. อาจพบอาการปวดเมื่อยตัว

8. เบื่ออาหาร หรือในเด็กทารกอาจจะกินนมได้น้อยลง


หรืออาจมีอาการท้องเสีย ปวดท้อง ซึ่งพบได้เล็กน้อย

แม้การติดเชื้อโควิด-19 ในเด็กส่วนใหญ่กว่า 90% จะมีอาการไม่รุนแรง แต่กลุ่มที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ เด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี และเด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด หรือภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เพราะเด็ก ๆ กลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะป่วยหนัก ปอดอักเสบ ระบบหายใจล้มเหลว และอาจเสียชีวิต ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ผู้ใหญ่ควรงดสัมผัสหรือหอมแก้มเด็กเล็กโดยไม่จำเป็น โดยระยะฟักเชื้อจะอยู่ที่ประมาณ 14 วันโดยประมาณ และมักจะมีอาการของโรคใน 4-5 วันหลังจากที่ได้รับเชื้อ


การตรวจวินิจฉัยในเด็ก

คุณหมอจะซักประวัติคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองหรือบุคคลใกล้ชิดว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ หรือได้เดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงหรือไม่ หรือมีโอกาสสัมผัสเชื้อมากน้อยแค่ไหน หลังจากนั้นจึงตรวจคอนเฟิร์มการติดเชื้อโควิด-19 ในเด็ก


กรณีที่มีผลตรวจยืนยันแล้วว่าลูกหรือเด็กในบ้านติดเชื้อโควิด -19

อาจจะสามารถแบ่งได้เป็นหลายกรณี


กรณีที่ 1 เด็กติดเชื้อและผู้ปกครองติดเชื้อ สามารถเข้ารับการรักษาโดยเน้นจัดอยู่เป็นครอบครัว ไม่ควรแยกเด็กเล็กออกจากผู้ปกครอง

กรณีที่ 2 เด็กติดเชื้อ แต่ผู้ปกครองไม่ติดเชื้อ ให้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือ Hospitel โดยเด็กจะต้องถูกส่งตัวไปรักษาและกักตัวที่โรงพยาบาลหรือ Hospitel อย่างน้อย 14 วัน ซึ่งการกักตัวสำหรับเด็กมีความซับซ้อนกว่าเคสของผู้ใหญ่ในเรื่องของจิตใจ โดยเฉพาะเด็กเล็กที่ต้องแยกห่างจากพ่อแม่หรือผู้ปกครอง แพทย์แนะนำว่า เมื่อเด็กต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลควรมีคนเฝ้า เพื่อให้เด็กไม่รู้สึกเคว้งคว้าง โดยผู้เฝ้าต้องเป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง อายุไม่เกิน 60 ปี และไม่มีโรคประจำตัว

กรณีที่ 3 เด็กไม่ติดเชื้อ แต่ผู้ปกครองติดเชื้อ ควรให้ญาติที่ไม่ติดเชื้อเป็นผู้ดูแลเด็ก หากไม่มีผู้ดูแลควรส่งเด็กไปยังสถานสงเคราะห์ หรือบ้านพักในสังกัดกระทรวงเป็นการชั่วคราว

กรณีที่ 4 เกิดการระบาดเป็นกลุ่มในโรงเรียน หรือในเนิร์สเซอรี่ พิจารณาใช้พื้นที่เนิร์สเซอรี่เป็นโรงพยาบาลสนามเฉพาะกิจ โดยดูจากความพร้อมของสถานที่และบุคลากรตามความเหมาะสม

ลูกติดโควิด19ต้องทำยังไง




สำหรับเด็กเล็กที่ติดเชื้อโควิด-19 แต่ต้องกักตัวที่บ้าน (Home Isolation)

อุปกรณ์ที่ใช้ติดตามอาการและบรรเทาอาการเด็กที่บ้าน ได้แก่


ปรอทวัดไข้

เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว

อุปกรณ์ที่สามารถใช้ถ่ายภาพ หรือบันทึกอาการของเด็กได้

ยาสามัญประจำบ้านเพื่อบรรเทาอาการ ได้แก่ ยาลดไข้ (พาราเซตามอล) ยาแก้ไอ ยาลดน้ำมูก เกลือแร่

โดยสังเกตอาการโดยรวมของเด็กอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง โดยแย่งระดับอาการของเด็ก ออกเป็น 2 ระดับ


ระดับที่ 1 คือ อาการที่ยังสามารถสังเกตอาการของเด็กที่บ้านต่อไปได้ ได้แก่ มีไข้ต่ำ มีน้ำมูก ไอเล็กน้อย ไม่มีอาการหอบเหนื่อย ถ่ายเหลว ยังคงกินอาหารหรือนมได้ตามปกติ ไม่ซึม

ระดับที่ 2 คือ ระดับที่ผู้ปกครองควรติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อนำเด็กไปส่งโรงพยาบาล คือ ไข้สูงกว่า 38.5 องศาเซลเซียส หายใจหอบเร็วกว่าปกติ ใช้แรงในการหายใจมาก อกบุ๋ม ปีกจมูกบานตอนหายใจ ปากเขียว ระดับออกซิเจนปลายนิ้วน้อยกว่า 95% ซึมลง งอแง ไม่ดูดนม ไม่กินอาหาร

ความเสี่ยงของเด็กหากติดเชื้อโควิด-19


เชื้ออาจลงปอด ทำให้เกิดอาการรุนแรง ถึงเสียชีวิต

มีผลกระทบในด้านจิตใจ และพัฒนาการ เนื่องจากต้องได้รับการกักตัว กักบริเวณ หรืออยู่ในพื้นที่แคบ ในระยะเวลานาน

เด็กที่หายป่วยจากโควิด-19 อาจเกิดภาวะ MIS-C คล้ายโรคคาวาซากิ แต่รุนแรงกว่าจนอาจถึงขั้นเสียชีวิต พบในเด็กไทยแล้วประมาณ 20-25 ราย (ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2564)



ขอบคุณข้อมูล : โรงพยาบาลวิชัยเวช





เด็กติดเชื้อโควิด-19 กินยาอะไรได้บ้าง?



ข้อมูลโดย

แพทย์หญิง กมลลักษณ์ อนันต์นิธิวุฒิ

แพทย์ประจำสาขากุมารเวชทั่วไป

โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง