รีเซต

อาการลองโควิด (Long COVID) สำหรับผู้ป่วย "เบาหวาน ความดัน มะเร็ง" หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) มีอะไรบ้าง เสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

อาการลองโควิด (Long COVID) สำหรับผู้ป่วย "เบาหวาน ความดัน มะเร็ง" หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) มีอะไรบ้าง เสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
Ingonn
20 มิถุนายน 2565 ( 17:14 )
733

ติดโควิด เสี่ยงเป็น ลองโควิด (Long COVID) ได้อีก ซึ่งลองโควิด คือ ภาวะของคนที่หายป่วยโควิด-19 แล้วแต่ยังมีอาการที่หลงเหลืออยู่ ดังนั้นแม้ว่าจะหายป่วยโควิดดีแล้ว แต่อาจจะยังคงมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปวดหัว หรือนอนไม่หลับ ซึ่งโอกาสเกิดได้ 30-50% เลยทีเดียว โดยเฉพาะผู้ป่วย "เบาหวาน ความดัน มะเร็ง" หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) ควรหมั่นสังเกตอาการตนเอง หลังหายจากการติดเชื้อโควิดแล้ว อาจเกิดภาวะลองโควิด ทำให้การทำงานของอวัยวะต่างๆ ลดลง หากมีอาการควรรีบ พบแพทย์

 

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า มีการคาดประมาณว่า 1 ใน 4 ของผู้ป่วยประชากรโลกที่เป็นโรค NCD หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีความเสี่ยงสูงที่จะแพร่ระบาดและมีการติดเชื้อได้ง่ายมากขึ้น มีข้อมูลว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิดแล้ว จะเหลืออาการที่เรียกว่าอาการเรื้อรัง เกิดได้กับหลายระบบในร่างกาย หรือเรียกว่า ลองโควิด (Long Covid) สามารถเกิดขึ้นได้ทุกกลุ่มอายุ ส่วนใหญ่เกิดจากสุขภาพหรือโรคประจำตัว โดยเฉพาะคนที่มีความอ้วนและผู้หญิง จะมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคโควิดมากกว่า

 

นายแพทย์จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี กล่าวเพิ่มเติมว่า อาการของลองโควิด จะคล้ายกับอาการของโรค NCD หลายโรค ทั้งโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคทางเดินหายใจอุดตันอุดกั้นเรื้อรัง โรคที่มีผลต่อจิตใจและระบบประสาท มีอาการปวดทั่วๆไป ซึ่งต้องปรึกษาและรักษาด้วยแพทย์เฉพาะทาง โดยสรุปอาการลองโควิดของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) ดังนี้

 

อาการลองโควิด

  • อ่อนแรง  
  • หายใจเหนื่อยหายใจไม่อิ่ม 
  • เจ็บหน้าอก  
  • เจ็บกล้ามเนื้อ  
  • ใจสั่นหรือมีอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น 
  • การรับรู้ผิดปกติ  
  • การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ปอดและสมองลดลง รวมถึงไต  ตับ  ตับอ่อน  ม้าม  ต่อมหมวกไตและทางเดินอาหาร

 

ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวที่อาจเกิดขึ้น

  • กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 
  • สมองล้า  
  • ภาวะพร่องทางระบบประสาทอัตโนมัติ    
  • ภาวะ Guillain – Barre Syndrome (ภาวะระบบประสาทส่วนปลายถูกทำลายด้วยภูมิคุ้มกันแบบเฉียบพลัน)  
  • โรคเจ็บปวดตามกล้ามเนื้อเรื้อรัง  
  • โรคนอนไม่หลับ

 

นอกจากนี้ รศ.(พิเศษ) นพ.สถิตย์ นิรมิตรมหาปัญญา รองผู้อำนวยการด้านนวัตกรรมและวิจัยทางการแพทย์ รพ.ราชวิถี กล่าวว่า สำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวาน ความดัน มะเร็ง ทางเดินหายใจอุดตันเรื้อรัง ต้องได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญ แพทย์จะรักษาลองโควิดตามอาการเป็นหลัก ดังนั้นหากมีอาการแล้วพบแพทย์โดยเร็ว และตรวจสุขภาพเป็นประจำ จะช่วยให้รู้ทันความผิดปกติที่เกิดขึ้น รักษาได้ทันท่วงที และดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมจากภาวะแทรกซ้อนของลองโควิด

 

รักษาลองโควิด ที่ไหนได้บ้าง?

รายชื่อคลินิกรักษาลองโควิด Long COVID

  1. โรงพยาบาลกลาง ณ คลินิกประกันสุขภาพ ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.00-16.00 น.
  2. โรงพยาบาลตากสิน ณ ARI Clinic ทุกวันจันทร์ เวลา 13.00-16.00 น.
  3. โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ณ คลินิกอายุรกรรม ทุกวันพุธ เวลา 13.00-16.00 น.
  4. โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธฺโร อุทิศ ณ คลินิกอายุรกรรม ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.00-16.00 น.
  5. โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ ณ คลินิกอายุรกรรม ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.00-16.00 น.
  6. โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร ณ คลินิกอายุรกรรม ทุกวันอังคาร เวลา 08.00-12.00 น.
  7. โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ณ ARI Clinic ทุกวันพุธ เวลา 13.00-16.00 น.
  8. โรงพยาบาลสิรินธร ณ คลินิกวัณโรค ทุกวันอังคาร เวลา 08.00-12.00 น.
  9. โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน ณ คลินิกผู้ป่วยนอก ทุกวันพุธ 13.00-16.00 น.

 

คุณสมบัติผู้ป่วยลองโควิด ที่เข้ารักษาในคลินิก Long COVID ได้

ต้องเป็นผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายป่วยมากกว่า 1 เดือนขึ้นไป การให้บริการจะเน้นไปทางติดตามอาการที่เกิดหลังจากหายป่วยโควิด-19 โดยผู้ป่วยสามารถรับบริการผ่าน 2 ช่องทาง ดังนี้

    • ผู้ป่วยมาเข้ารับบริการที่คลินิกปกติ และแพทย์วินิจฉัยอาการที่เข้าได้กับ Long COVID และส่งผู้ป่วยมาที่คลินิกดังกล่าว
    • ผู้ป่วยที่สงสัยอาการตนเองและเข้ามารับบริการที่คลินิก Long COVID โดยตรง

 

วิธีนัดหมายรักษาอาการลองโควิด

โดยสามารถนัดหมายรับบริการผ่าน BFC ของโรงพยาบาลทั้ง 9 แห่ง และขยายช่องทางให้บริการตรวจรักษาผ่านระบบ telemedicine ในแอปพลิเคชัน “หมอ กทม.” เพื่อรองรับการให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครผ่านการเบิกจ่ายค่ารักษาตามสิทธิ

 

 

 

ข้อมูล กรมการแพทย์

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง