รีเซต

วิธีรักษาลองโควิด (Long COVID) ด้วยการออกกำลังกาย 5 สัปดาห์ หลังหายป่วยโควิด ทำตามนี้!

วิธีรักษาลองโควิด (Long COVID) ด้วยการออกกำลังกาย 5 สัปดาห์ หลังหายป่วยโควิด ทำตามนี้!
Ingonn
18 พฤษภาคม 2565 ( 10:39 )
509
วิธีรักษาลองโควิด (Long COVID) ด้วยการออกกำลังกาย 5 สัปดาห์ หลังหายป่วยโควิด ทำตามนี้!

หายป่วยโควิด ต้องทำไง? โดยผู้ที่ติดเชื้อโควิดหลายคนอาจประสบปัญหา “ลองโควิด (Long COVID)”  คือ กลุ่มอาการหรือความผิดปกติภายหลังจากที่มีการติดเชื้อโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปวดหัว หายใจไม่เต็มอิ่ม และอีกมากมาย ซึ่งปัจจุบันสามารถรักษาอาการลองโควิด (Long COVID) ได้ ด้วยการฟื้นฟูร่างกายประมาณ 5 สัปดาห์

 

หลักฐานปัจจุบันชี้ให้เห็นว่าราวร้อยละ 10-20 ของผู้ที่ติดเชื้อโควิด 19 จะประสบกับ “กลุ่มอาการหลังโควิด 19” หรือที่เรียกว่า “ลองโควิด” อันประกอบด้วยอาการเรื้อรังมากมาย ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้แม้กับผู้ที่มีอาการเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีอาการเลย อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่เรามีในขณะนี้แสดงให้เห็นว่า "อาการลองโควิด” มีความสัมพันธ์กับอาการป่วยที่รุนแรงจากการติดเชื้อที่เกิดขึ้นก่อนหน้า โดยทั่วไป “อาการลองโควิด” จะเริ่มขึ้นหลังจากที่ผู้ป่วยเริ่มฟื้นตัวจากการติดเชื้อโควิด-19 แบบรุนแรงเฉียบพลัน แต่ก็สามารถเกิดขึ้นในลักษณะที่ต่อเนื่องจากอาการป่วยที่มีมาแต่ต้นได้ด้วย อาการลองโควิดเกิดขึ้นและหายไปตามกาลเวลา และในบรรดาอาการที่พบกว่า 200 อาการ 3 อาการที่พบบ่อยที่สุดคือ หายใจไม่อิ่ม สมองล้า และอ่อนเพลีย

 

อาการลองโควิดที่พบบ่อย

  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ
  • ไอเรื้อรัง
  • เจ็บหน้าอก ใจสั่น
  • การรับรสและกลิ่นผิดปกติ
  • เครียด มีภาวะซึมเศร้า
  • หรือวิตกกังวล
  • ท้องเสีย
  • ผมร่วง

 

ภาวะ Long COVID ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด

บางอาการจะดีขึ้นภายใน 1 – 2 เดือน เช่น อาการรับรสหรือได้กลิ่น แต่บางอาการอาจใช้เวลากว่า 3 เดือน จึงจะดีขึ้น เช่น อาการอ่อนเพลีย อาการแตกต่างกันในแต่ละบุคคล บางอาการหายได้เร็ว บางอาการอาจหายช้า แต่จะหายได้ในที่สุด ในผู้ป่วยบางราย การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 หลังการติดเชื้อ 1 – 3 เดือน อาจช่วยให้อาการดีขึ้น

 

วิธีรักษาลองโควิด (Long COVID) 

การรักษาอาการลองโควิด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม (ขึ้นกับสาเหตุและอาการ)

  1. กลุ่มที่มีอาการและมีความผิดปกติของอวัยวะ 

    เช่น มีอาการเหนื่อยและตรวจพบเนื้อปอดมีพังผืด เส้นเลือดอุดตัน หัวใจอักเสบ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องเข้ารักษาในระบบ และติดตามอาการในระยะยาว


  2. กลุ่มที่มีอาการ แต่ไม่พบความผิดปกติของอวัยวะ
    เช่น อาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ขาดสมาะ ผู้ป่วยกลุ่มนี้แพทย์จะตามรักษาอาการ และให้ข้อแนะนำเรื่องการฟื้นฟูและการปรับพฤติกรรม เพื่อช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น

 

ในปัจจุบันมีแนวทางในการฟื้นฟูทั้งสภาพร่างกายโดยการออกกำลังกาย สำหรับผู้ที่มีอาการ Long COVID สามารถฟื้นฟูร่างกาย ได้ง่าย ๆ ด้วยการออกกำลังกายในแต่ละระยะ ดังนี้

สัปดาห์ที่ 1 : เตรียมความพร้อมของร่างกาย ควรใช้การเดิน ฝึกการหายใจเข้า-ออกให้สุดแบบช้า ๆ ให้อยู่ในระดับไม่เหนื่อยหรือเหนื่อยเล็กน้อย


สัปดาห์ที่ 2 : ออกกำลังในระดับเบา เช่น การเล่นโยคะเบา ๆ การทำงานบ้านเบา ๆ และเพิ่มระยะเวลาเป็นวันละ 10-15 นาที และให้อยู่ในระดับรู้สึกเหนื่อยเพียงเล็กน้อย


สัปดาห์ที่ 3 : ออกกำลังในระดับปานกลาง เน้นการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างต่อเนื่อง เช่น การปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ วิ่งเหยาะ ๆ เป็นต้น

 

สัปดาห์ที่ 4 : เพิ่มความซับซ้อนในการเคลื่อนไหว เช่น การวิ่งเปลี่ยนทิศทาง การวิ่งไปทางด้านข้าง และสามารถสลับวันในการออกกำลังกายได้เพื่อไม่ให้ร่างกายอ่อนเพลีย

 

สัปดาห์ที่ 5 : ในระยะนี้สามารถกลับไปออกกำลังได้ตามปกติ และสามารถเพิ่มระดับความหนักของการออกกำลังได้เท่าที่สามารถทำได้


เนื่องจากลองโควิดเป็นกลุ่มอาการที่กว้างมากและกระทบกับหลายระบบในร่างกาย จึงไม่มียาหรือวิธีรักษาเฉพาะ หากอาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองเพื่อยกระดับสุขภาวะของตนได้ เช่น ลดกิจกรรมเมื่อรู้สึกเหนื่อยล้าหรือหายใจไม่อิ่ม และหากมีปัญหาด้านการควบคุมสมาธิ ให้ค่อย ๆ จดจ่อกับงานทีละชิ้น ถ้าหากอาการเหล่านี้กระทบต่อชีวิตของคุณอย่างมาก หรือหนักขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงไป องค์การอนามัยโลกแนะนำให้พบแพทย์ ซึ่งอาจแนะนำให้คุณเข้ารับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ

 

 

ข้อมูล องค์การอนามัยโลก , โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง