รีเซต

ทำความรู้จัก "หลี่ เฉียง" ว่าที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของจีน

ทำความรู้จัก "หลี่ เฉียง" ว่าที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของจีน
TNN ช่อง16
24 ตุลาคม 2565 ( 12:31 )
81
ทำความรู้จัก "หลี่ เฉียง" ว่าที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของจีน

เมื่อ "หลี่ เฉียง" เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำนครเซี่ยงไฮ เดินตามประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ขึ้นเวทีเป็นรายที่สอง ของคณะกรรมการถาวรประจำกรมการเมืองแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีน หรือ Politburo Standing Committee เป็นการแสดงอย่างชัดเจนว่า "หลี่ เฉียง" คือว่าที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของจีน ซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งในการประชุมสภานิติบัญญัติในเดือนมีนาคมปีหน้า

ทั้งนี้ "หลี่ เค่อเฉียง" วัย 67 ปี ต้องวางมือเนื่องจากสิ้นสุดการดำรงตำแหน่งสมัยสอง โดยทั่วไปแล้ว ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจีนนั้น สงวนไว้สำหรับคณะกรรมการโปลิตบูโรลำกับที่ 2 หรือ 3 ซึ่งเป็นสมาชิกลำดับสำคัญและเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานด้านภูมิภาคในกว้างๆ

ดังนั้นการที่ "หลี่ เฉียง" ก้าวมาอยู่ในลำดับที่สองนั้น จึงส่งสัญญาณว่าพร้อมขึ้นรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะเป็นผู้กำกับกูแลด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจีน


ในฐานะนายกรัฐมนตรี เขาจะเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงสุดที่ช่วยประธานาธิบดีสีในการรับมือความท้าท้ายในการฟื้นฟูเศรษฐกิจจีน ที่ชะลอตัวอันเป็นผลมาจากมาตรการควบคุมโควิด-19 อันเข้มงวดมาหลายปีแล้ว ตลอดจนปัญหาความต้องการผู้บริโภคอ่อนแอ และความตึงเครียดกับสหรัฐฯ รวมถึงชาติตะวันตกอื่นๆ

South China Morning Post รายงานว่า "หลี่ เฉียง" นั้น มีประสบการณ์มาหลายทศวรรษด้านการพัฒนาและการบริหารจัดจาการเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค แต่สิ่งที่มากไปกว่านั้น เขาได้รับความไว้วางใจและไมตรีจิตอย่างมากจากประธานาธิบดี ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการรับหน้าที่ใหม่

เติ้ง อู่เหวิน อดีตบรรณาธิการของ Study Times สื่อทางการของโรงเรียนพรรคคอมมิวนิสต์จีนกล่าวว่า หลี เฉียง มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับนายสี มากกว่าหลี่ เค่อ เฉียง และหากหลี่ เฉียงได้เป็นนายกรัฐมนตรี คาดว่าสี จิ้นผิง จะให้พื้นที่และอำนาจแก่เขามากขึ้น ในการบริหารจัดการเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ตาม ลำพังการสนับสนุนจากประธานาธฺบดีสี อาจยังไม่พอ โดยในช่วงแรกๆ นี้ หลี่ เฉียงต้องพยายามเอาชนะความเชื่อมั่นของคณะมนตรีรัฐกิจ และประชาคมโลกด้วย


สำหรับความสัมพันธ์ของสีและหลี่ นั้น ย้อนไปตั้งแต่ปี 2004 เมื่อสีเป็น เลขาธิการพรรคประจำมณฑลเจ้อเจียง ส่วนนายหลี่ เป็นผู้ช่วยส่วนตัวกว่าสามปี จนกระทั่งนายสี ย้ายไปเป็นเลขาธิการพรรคที่เซี่ยงไฮ้

ในช่วงเวลาที่เจ้อเจียง นายหลี่ติดตามนายสีไปตรวจงานเกือบทุกครั้ง และเป็นผู้ปรับแก้สุนทรพจน์ต่างๆ ของนายสี ซึ่งรวมถึงคอลัมน์พิเศษในสื่อท้องถิ่นของพรรค ซึ่งต่อมาบทความเหล่านั้น ได้มีการนำมารวบรวมไปใส่ในหนังสือที่ชื่อว่า “ความคิดของสี จิ้นผิง” ด้วย

"หลี่ เฉียง" ปัจจุบันอายุ 63 ปี เรียนจบทางด้านวิศวกรรมการเกษตรจากมหาวิทยาลัยเจ้อเจียง ซึ่งเป็นหนึ่งในห้ามหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของจีน และระดับปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจจาก Hong Kong polytechnic University


หลี่ ได้รับการยกย่อง จากบทบาทที่ช่วยร่างและคัดครองแนวทางนโยบายของนายสี สำหรับมณฑลเจ้อเจียง ซึ่งต่อมาได้รู้จักกันในนาม “ยุทธศาสตร์ควบคู่แปดประการ” ซึ่งเป็นรายการเทียบความก้าวหน้าของเจ้อเจียงกับปฏิบัติการตอบสนอง

นโยบายดังกล่าวหลายประกาศ ได้เข้ามาอยู่ในแนวคิดด้านเศรษฐกิจของสี จิ้นผิง ด้วย ซึ่งเป็นหลักการชี้นำด้านเศรษฐกิจของพรรคคอมมิวนิสต์จีน

สำหรับ "หลี่ เฉียง" เขาตามรอยประธานาธิบดีสี โดยได้รับตำแหน่งเลขาธิการพรรคประจำเซี่ยงไฮ้ในปี 2017 และขึ้นชื่อเรื่องการเปิดกว้างและก้าวหน้า

ในปี 2019 เขาเคยสั่งเจ้าหน้าที่ให้ปรับเปลี่ยนทัศนคติและวัฒนธรรม และให้ทำงานเหมือนเป็นผู้ช่วยในร้านค้า เพื่อที่ว่าจะได้ดึงดูดบริษัทต่างชาติให้ย้ายถิ่นฐานมาเปิดสำนักงานใหญ่ที่เซี่ยงไฮ้ โดยในตอนนั้นฮ่องกงเผชิญปัญหาการประท้วง และสิงคโปร์พยายามช่วงชิงในการเป็นทางเลือก

การที่หลี่ เฉียง ได้ยกระดับเป็นสมาชิกถาวรคณะกรรมการกรมการเมืองในคราวนี้ เป็นการส่งสัญญาณของการกลับมาเช่นกัน หลังเขาเผชิญเสียงวิจารณ์จากการรับมือโควิดโอมิครอนในมหานครเซี่ยงไฮ้ผิดพลาดช่วงต้นปีที่ผ่านมา


ก่อนหน้านั้น เซี่ยงไฮได้รับคำชมว่ารับมือกับโควิด-19 ได้ดี จนกระทั่งเกิดการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนมากอย่างไม่เคยมีมาก่อน จนทำให้ต้องปิดเมืองและมีข่าวเรื่องอาหารหรือสิ่งจำเป็นพื้นฐานขาดแคลนเผยแพร่ออกไป ในตอนแรกทางการเซี่ยงไฮ้ถูกตำหนิที่ตัดสินในช้า จนต่อมาทำให้ต้องล็อกดาวน์เซี่ยงไฮ้ ศูนย์กลางเศรษฐกิจจีนนานกว่าสองเดือน และมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 620,000 คน

อย่างไรก็ตาม ผลงานเด่นของหลี่ เฉียง นั้นเป็นเรื่องการที่เขามุ่งในไปที่การพัฒนาเทคโนโลยีล้ำสมัยและนวัตกรรม เช่น อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งเรื่องเทคโนโลยีและนวัตกรรม อยูในรายงานของประธานาธิบดีต่อการประชุมสมัชชาครั้งนี้ด้วย


นอกจากนี้ นายหลี่ ยังกำกับดูแลการลงทุนจากต่างชาติรายใหญ่ๆ ในเซี่ยงไฮ้ด้วย โดยผลงานที่โดดเด่นคือ การลงทุนโรงงานของเทสลา มูลค่ากว่าห้าหมื่นล้านหยวน ซึ่งเป็นการลงทุนหลักจากบริษัทสหรัฐฯ

ท่ามกลางความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและจีน และช่วงต้นปีที่ผ่านมา เขาเคยประกาศไว้ด้วยว่า เซี่ยงไฮ้จะแสดงบทบาทในเชิงรุกมากกว่านี้ เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ.


ภาพจาก Reuters


อัพเดทข่าวไฮไลต์และบทวิเคราะห์ที่น่าสนใจ มาเป็นเพื่อนใน Line กับ TNN World คลิก https://lin.ee/LdHJXZt

ติดตาม TNN World ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้ที่ 

Website : https://bit.ly/TNNWorldWebsite

Youtube : https://bit.ly/TNNWorldTodayYouTube

TikTok : https://bit.ly/TNNWorldTikTok


ข่าวที่เกี่ยวข้อง