รีเซต

ชาวเน็ตแห่แชร์ วิธีการป้องกันการ “ถูกดูดเงินจากบัญชี” มีอะไรบ้างเช็กเลยที่นี่

ชาวเน็ตแห่แชร์ วิธีการป้องกันการ “ถูกดูดเงินจากบัญชี” มีอะไรบ้างเช็กเลยที่นี่
TNN ช่อง16
18 ตุลาคม 2564 ( 11:21 )
6.3K
ชาวเน็ตแห่แชร์ วิธีการป้องกันการ “ถูกดูดเงินจากบัญชี” มีอะไรบ้างเช็กเลยที่นี่

ข่าววันนี้ ( 18 ต.ค. 64  )จากกรณีผู้ใช้บริการถูกโอนเงินจากบัญชีติดต่อกันหลายรายการจนในขณะนี้มีผู้เสียหายเป็นจำนวนมาก จนโลกโซเชียลมีการตั้งกลุ่ม “แชร์ประสบการณ์โดนหักเงินจากบัญชีไม่รู้ตัว” ซึ่งผู้เสียหายหลายรายได้ออกมาแชร์ประสบการณ์การถูกดูดเงินออกจากบัญชีซึ่งขณะนี้สมาชิกในกลุ่มมีถึง 5.5 หมื่นรายเลยทีเดียว 

 

อย่างไรก็ตามสมาชิกบางรายได้มาแชร์วิธีการเบื้องต้นเพื่อกันการถูกโอนเงินออกจากบัญชีโดยสรุปดังนี้ 

 

1. ตั้งบัญชีบัตรเดรดิตในการทำธุรกรรมในแอปพลิเคชั่นของธนาคาร ตั้งวงเงินให้กลายเป็น 0 บาท เมื่อต้องการใช้ซื้อของค่อยเข้าไปเปลี่ยนวงเงินที่ต้องการจะใช้ใหม่ โดยตั้งให้พอดีกับการใช้แต่ละครั้ง

2. ลบการผูกบัญชีบัตรเครดิต หรือ บัตรเดบิต ที่ผูกไว้กับแอปพลิเคชั่น เฟซบุ๊ก แอปพลิเคชั่นช้อปปิ้งต่างๆ และ ในระบบ google play  หรือ apple store ออกให้หมด 

3. สำหรับคนที่โดนหักเงินจาก facebook นำเงินไปจ่ายค่ายิงแอดโฆษณา ให้เข้าไปที่ดูการแจ้งเตือนว่า มีคนดึงบัญชีของเราเข้าไปบัญชีโฆษณาของ Facebook หรือไม่ หลังจากนั้นให้ไปไล่หาชื่อของเรา ตรงบทบาทผูดูแลบัญชี และกดลบผู้ใช้ออกทันที หลังจากนั้นให้ลบบัญชีที่ทำไว้เพื่อทำธุรกรรมผ่านเฟซบุ๊กออก


 

 

 

 

4. หากใครพบความผิดปกติของบัญชีธนาคารของตนเอง สามารถติดต่อสถาบันการเงิน เพื่ออายัดบัตร หรือ บัญชีโดยทันที ตามเบอร์โทรดังต่อไปนี้ตามภาพ

 

 

 

นอกจากนี้ เพจ Drama addict ได้แนะวิธีการทำธุรกรรมการเงินทางออนไลน์ในการผูกบัญชีเพื่อซื้อของอย่างปลอดภัย ผ่านแอปพลิเคชั่น หรือสโตร์ออนไลน์ โดยการเปิด ทรูวอลเล็ต แล้วใช้ บัตรเครดิต we card ในแอปฯ ไปผูกกับบัญชีออนไลน์ทั้งหมด แล้วรักษายอดเงินในวอลเล็ตไว้ที่หลักสิบบาท หลังจากนั้นหากต้องการจะต่อสมาชิกอะไร ให้เติมเงินตามจำนวนที่จะจ่าย แล้วกดจ่ายทันที  สรุปคคือ ใช้บัญชีธนาคารเชื่อมกับทรูวอลเล็ตอันเดียว แล้วใช้ ทรูวอลเล็ต ไปผูกกับบริการอื่นๆแทน แล้วตั้งค่า sms ของบัญชีธนาคารให้แจ้งเตือนหากมีการทำธุรกรรมการเงินมีการเข้าออกของเงินในบัญชี เท่านี้ก็น่าจะปลอดภัยในระดับนึง

 

 

ขณะที่ พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แนะนำให้ ผู้เสียหายแจ้งไปยังธนาคาร เพื่ออายัดบัตรและปฎิเสธการชำระเงินค่าบริการทางออนไลน์ และตรวจสอบรายการเดินบัญชี รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยสามารถเดินทางไปแจ้งความกับพนักงานสอบสวนในทุกพื้นที่ใกล้บ้าน เพื่อสืบสวนสอบสวนพิสูจน์ทราบถึงตัวผู้กระทำความผิดและนำตัวมาดำเนินคดีตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป 

 

สำหรับแนวทางการป้องกัน กรณีที่คนร้ายได้ข้อมูลที่อยู่ด้านหน้าบัตร และตัวเลขรหัส 3 ตัวที่อยู่ด้านหลังบัตร คนร้ายจึงสามารถนำไปใช้ทำธุรกรรมผ่านทางออนไลน์ที่มีมูลค่าไม่สูงได้ โดยไม่ต้องใช้ OTP 

 

ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมที่ไม่น่าเชื่อถือผ่านทางออนไลน์ ที่ต้องแจ้งข้อมูลด้านหน้าบัตรและรหัส 3 ตัวที่อยู่ด้านหลังบัตร หากต้องการเข้าไปที่เว็บไซต์ใด ขอให้พิมพ์ชื่อเว็บด้วยตัวเองเพื่อป้องกันเข้าไปสู่เว็บไซต์ปลอมที่มีความแนบเนียนมาก 

 

นอกจากนี้ยังประชาชน ควรนำแผ่นสติ๊กเกอร์ทึบแสงปิดรหัส 3 ตัวด้านหลังบัตร หรือจดรหัส 3 ตัวดังกล่าวเก็บไว้ แล้วใช้กระดาษทรายลบตัวเลขรหัสดังกล่าวออกจากด้านหลังบัตร เพื่อความปลอดภัยในการใช้จ่ายประจำวัน และป้องกันมิจฉาชีพ มิให้แอบถ่ายรูปด้านหน้าและหลังบัตรเพื่อนำไปใช้จ่ายในโลกออนไลน์

 

ข้อมูลจาก : แชร์ประสบการณ์โดนหักเงินจากบัญชีไม่รู้ตัว, Drama addict, Akkachai P, รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ภาพจาก   : Drama addict, Akkachai P, ธปท.

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง