รีเซต

คำศัพท์ควรรู้สำหรับมือใหม่ที่สนใจ Bitcoin Blockchain และ Cryptocurrency

คำศัพท์ควรรู้สำหรับมือใหม่ที่สนใจ Bitcoin Blockchain และ Cryptocurrency
TrueID
1 กันยายน 2564 ( 10:37 )
10.2K
คำศัพท์ควรรู้สำหรับมือใหม่ที่สนใจ Bitcoin Blockchain และ Cryptocurrency

เวลาที่เห็นบ้างคนคุยกันหรือไปอ่านข้อความคนที่เขาเขียนเกี่ยวกับ Bitcoin , Cryptocurrency และBlockchain ที่เขาอยู่ในตลาดมาก่อนแล้ว ก็รู้สึกว่าเขาพูดอะไรกันอยู่ไม่เห็นเข้าใจเลย วันนี้ trueID จะมาอธิบายคำศัพท์ที่มักจะเจอในวงการดังกล่าวจะได้เข้าใจว่าเขาหมายถึงอะไร

 

คำศัพท์วงการคริปโตฯ

 

บิทคอยน์ (Bitcoin)

จริงๆแล้วหลายคงจะรู้จักคำว่า Bitcoin และ Cryptocurrency กันอยู่แล้ว เพราะ Bitcoin ล่าสุดก็พึ่ง All Time High เป็นประวัติการณ์เลยก็คือทำราคาแตะที่ 1 ล้านบาทเป็นครั้งแรก

Bitcoin เป็นเหมือนกับจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิด Cryptocurrency ขึ้นมาบนโลก คนที่เขียน White Paper มีนามปากกาว่า ซาโตชิ นากาโมโตะ ซึ่งก็ยังไม่มีคนรู้ ว่าเขาคนนั้นคือใคร เขาทำให้เราเนี่ยได้รู้จักตัวเทคโนโลยีเบื้องหลัง Bitcoin ก็คือ Blockchain นั่นเอง

ซึ่งปัจจุบัน Bitcoin ต้องเรียกว่าเป็นเหรียญที่มีคนรู้จักแล้วก็มีความเชื่อมั่นมากที่สุดในบรรดาเหรียญทั้งหมด

 

Blockchain

เป็นเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลัง bitcoin วิธีการก็คือ Blockchain มันจะเก็บข้อมูล มันคือ Database ที่กระจายไปอยู่ทั่วโลก Copy ตัวเองไปอยู่ตาม Node ทั่วโลก

Blockchain เป็น Database ประเภทหนึ่งที่มันไม่ได้เก็บข้อมูลแบบทั่วๆไปที่เรารู้จัก มีการเก็บข้อมูลเป็นกล่องๆ เป็น Block ข้อมูล เวลาที่เราถึงตามระยะเวลาของมัน ก็จะปิดผนึก Block เมื่อถึงรอบถัดไปก็จะสร้าง Block ใหม่ไปเรื่อยๆ แล้วระหว่างกล่องมันจะเชื่อมต่อกันด้วยเทคนิคทาง programming ใช้คณิตศาสตร์เข้ามาช่วยเชื่อมต่อกัน เขาถึงเรียกว่า Blockchain

ที่นี่ในละกล่องก่อนที่มันจะมันจะต้องมีการส่งข้อมูลเข้ามาเพื่อที่จะปิดผนึก จะมีอันนึงที่เราเรียกว่า Block Confirmation เมื่อปิดผนึกเสร็จแล้วก็จะต้อง Broadcast การกระทำนี้ไปให้ทุกคนในโลกทราบ เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการ Confirm ก่อน

โดยปกติเวลาที่เราส่งข้อมูลอะไรก็แล้วแต่เราก็ต้องรอพวกนี้แหละ Confirmation เขาเรียกว่าการ Broadcast ให้ทุกคน สมมุติว่าเราอยู่ในหมู่บ้านมีการแต่งงานเกิดขึ้น และมีการประกาศให้ทุกคนในหมู่บ้านทราบ อันนี้แหละเป็นลักษณะของการ Confirmation

 

Bitcoin Market Dominance

ถ้าเราพูดถึงปริมาณเงินทั้งหมดในระบบที่เกี่ยวข้องในโลกของ Cryptocurrency สัดส่วนของ Bitcoin มันเป็นเท่าไหร่ของตลาด มัน Dominate (ครอง) ตลาดไปเท่าไหร่ไปกี่เปอร์เซ็นต์ อันนี้จะหมายถึง Bitcoin Market Dominance

 

Altcoin

Altcoin มาจากคำว่า Altenate ก็คือเหรียญอื่นๆ ที่ไม่ใช่ Bitcoin ซึ่งสมัยก่อน Altcoinไม่ได้มีเยอะอย่างเช่นปัจจุบัน Altcoin ก็เอาเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังของ Bitcoin นั่นแหละ เอามาประยุกต์ เอามา Apply หลักการก็คล้ายๆกัน ก็ใช้เทคโนโลยี Blockchain เหมือนกัน ส่วนใหญ่พวกนี้ก็ใช้คำว่า Coin  

 

Coin

โดยปกติความหมายของมันจริงๆ มันหมายถึงตัวเหรียญที่มี Blockchain เป็นของตัวเอง

 

Token

หมายถึงเหรียญแล้วไม่มี Blockchain เป็นของตัวเอง หลายๆเหรียญที่อยู่บน Blockchain ของ Etheruem เราจะไม่ใช้คำว่า Coin เราจะใช้คำว่า Token ถ้าเราเข้าไปดูใน Coin Market Cap มันจะมี Coin กับ Token

ง่ายๆเวลาที่เขาตัดสินใจว่าอันนี้เป็น Coin หรือเป็น Token เขาจะดูตรงนี้แหละว่ามี Blockchain เป็นของตัวเองหรือเปล่า

 

Fiat Money

Fiat Money คือเงินกระดาษที่เราใช้กันทั่วฯไป ซึ่ง Fiat Money เป็นเงินที่รัฐบาลรับรอง และรับประกัน

 

Fork

ถ้าแปลกันตรงตัวมันหมายถึงส้อม แต่ว่าเวลาที่พูดถึงใน  Cryptocurrency หรือ Blockchain คำว่า Fork จริงๆมันจะหมายถึงการแตก Chain ของ Blockchain 

คือใน Project หรือ Cryptocurrencyที่มันมี Blockchain เทคโนโลยีเก็บข้อมูลอยู่ข้างหลัง มันสามารถที่จะ Copy ข้อมูลทั้งหมดออกมาแล้วทำอะไรบางอย่างกับมันได้

ไม่ว่าจะเป็น Upgrade Software หรือแม้กระทั่ง Copy ไปเพื่อทำ Project ใหม่

ทีนี้การ Fork มันเลยกลายเป็นว่า database มันจะถูก Split ออกมันก็เลยกลายเป็นเหมือนทางทางแยก มันก็เลยเหมือนส้อมใช่ไหม เขาก็เลยเรียกว่า Fork

 

Wallet

เป็นคำที่ทุกคนควรรู้ wallet เปรียบเสมือนกระเป๋าที่เก็บเหรียญนั่นเอง นิยามคำว่า wallet เนี่ยมันก็จะมีหลายแบบไม่ว่าจะเป็น Software wallet ก็คือเป็นซอฟต์แวร์ที่รันอยู่บนมือถือที่อยู่บนคอมได้ก็แล้วแต่นะ หรือที่เป็น Exchange wallet หรือเป็นเว็บ wallet ที่อยู่บน Browser หรืออยู่บน Exchange ก็ได้ หรือจะเป็นแบบ Hardware wallet ที่เราใช้กัน ก็คือเป็น Ledger เป็น Trezor อะไรพวกนี้เราจะเรียกว่า wallet

 

Hash , Hashing

Hashing คือกระบวนการหรือฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ที่เอาคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องแฮชชิ่งในมันจะแตกต่างจากการเข้ารหัสตรงที่ว่ามันจะย้อนกลับไม่ได้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สั้น ที่เรียกว่า Digest หรือ ข้อมูลย่อย ก่อนที่จะทำการเข้ารหัส เนื่องจากข้อมูลต้นฉบับมักจะมีความยาวมาก ซึ่งจะทำให้กระบวนการเข้ารหัสใช้ระยะเวลานาน หากว่ามันมีคนพยายามที่จะมาแก้ไขข้อมูลในบล็อก เราจะรู้เลยว่าข้อมูลในมันมีการเปลี่ยนไปจากเดิม

 

Fomo

Fear of Missing Out หรือ Fomo แปลได้ตรงๆ เลยว่า เป็นการกลัวที่จะพลาดโอกาสสำคัญในการทำกำไร ในขณะที่คนอื่นๆ ได้กำไรกันไปเป็นกอบเป็นกำ หรือจะเรียกเป็นศัพท์แสลงภาษาไทยว่า ‘กลัวตกรถ’ นั่นเอง จุดที่น่าสนใจคือเมื่อไหร่ก็ตามที่นักลงทุนเริ่มทำการซื้อ-ขายกันแบบเล่นเก้าอี้ดนตรี ให้รู้ไว้เลยว่า นี่คือสัญญาณของระยะท้ายๆ ของตลาดกระทิงแล้ว

 

Mining

คริปโตก็มีเหมืองเหมือนกัน เมื่อไหร่ก็ตามที่มีธุรกรรมชุดใหม่เกิดขึ้นในเครือข่าย ธุรกรรมชุดนั้นจะถูกประกาศเข้าไปในเครือข่ายในรูปแบบของการเข้ารหัส โดยนักขุด (Miner) ที่จะมีสิทธิ์มีเสียงบน Blockchian จะต้องแข่งกันถอดรหัสตัวเลขที่ได้จากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ให้ได้ก่อนนักขุดคนอื่นๆ เราเรียกการถอดรหัสเพื่อไขปริศนานี้ว่าการขุด หรือ Mining ซึ่งหมายถึงการช่วยยืนยันธุรกรรมใหม่นั้นใน Blockchian และเป็นการสร้างเหรียญใหม่ในวงการเงินดิจิทัล

 

Whale

หมายถึงคนที่เก็บบิทคอยน์แบบเยอะมากๆ เขาจะเปรียบเทียบคนที่มี bitcoin เยอะว่าเป็น วาฬ ศัพท์แสลงที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในวงการการเงินดิจิทัล จนแทบจะกลายเป็นศัพท์กึ่งทางการไปแล้ว โดย Whale หรือ วาฬ เป็นคำที่ใช้เรียกเจ้ามือหรือ นักลงทุนรายใหญ่ที่มีเงินทุนมหาศาล และด้วยความที่เป็นนักลงทุนเงินหนา ทำให้วาฬจะทุบ จะเท จะลากราคาก็ทำได้ไม่ยาก ดังนั้นทุกครั้งที่วาฬเข้ามาทำการซื้อ-ขายในตลาดล่ะก็ ย่อมมีผลต่อราคาของเหรียญในตลาดอย่างแน่นอน

 

Yield Farming

ทำกำไรในโลกของ Cryptocurrency ไม่ได้มีเพียงแค่ซื้อมา-ขายไปเท่านั้น อีกหนึ่งหนทางที่น่าสนใจอย่างการ Yield Farming หรือการฟาร์มเหรียญ หลายๆ คนเรียกสั้นๆ ว่า ‘ฟาร์มมิ่ง’ หรือ ‘ฟาร์ม’ ก็สามารถสร้างกำไรได้เช่นกัน

Yield Farming คือการเปิดให้คนในระบบได้หยิบยืมเหรียญของเรา เพื่อไปทำการซื้อขายเป็นสภาพคล่องได้ โดยได้รับผลตอบแทนกลับมาเป็นค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ย ซึ่งจะได้ผลตอบแทนมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับอุปสงค์ อุปทานในช่วงเวลานั้นๆ แค่นี้เราก็ได้ Passive Income เข้ากระเป๋าโดยไม่ต้องลงไปเล่นเองให้เจ็บตัว

 

HODL

HODL มีที่มาที่ไปมาจากกระทู้คำถาม ‘I AM HODLING’ ในฟอรัม Bitcoin Talk เมื่อปี 2013 จนกลายมาเป็นคำว่า HODL ศัพท์ที่ใช้ในตลาดการเงินดิจิทัลปัจจุบัน

HODL จึงหมายถึงพฤติกรรมของเหล่านักลงทุนที่ตัดสินใจลงทุนกับเหรียญนั้นในระยะยาว หรือลงทุนแบบระยะสั้นไม่เก่ง โดยโนสนโนแคร์ว่ามูลค่าของเหรียญจะมีการปรับตัวขึ้น-ลง ผันผวนแค่ไหนก็ตาม และใช้กับนักลงทุนที่ใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบซื้อแล้วถือยาว เหมือนการตลาดแบบดั้งเดิม หรือใช้กับเหล่านักลงทุนที่ต้องอดทนถือ หรือ HODL ไว้ก่อน ยังไม่ขาย เพราะอยู่ในช่วงที่ราคาเหรียญต่ำกว่าราคาที่ซื้อมา

 

ROI

ROI ย่อมาจาก Return on Investment มีความหมายว่า ผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งเป็นวิธีการวัดประสิทธิภาพและผลตอบแทนของการลงทุน เมื่อเทียบกับต้นทุนเดิม ซึ่งเจ้า ROI นี้เป็นวัดผลที่ใช้ได้กับทุกการลงทุนและการตลาด

วิธีคำนวณ ROI = (มูลค่าปัจจุบัน - ต้นทุนเดิม)/ต้นทุนเดิม

 

 

BUIDL

BUIDL เป็นศัพท์ที่ต่อเนื่องมาจาก HODL คำคำนี้ แสดงถึงทัศนคติแนวคิดที่เชื่อว่า Cryptocurrency เป็นมากกว่าการซื้อ-ขายที่จะสร้างเม็ดเงินเข้ากระเป๋า แต่เป็นการมองว่า นี่คืออุตสาหกรรมที่จะเติบโตขึ้น จนกลายเป็นโครงสร้างที่อาจรองรับ และเข้าถึงการใช้ชีวิตของผู้คนได้ในอนาคต

 

PoW 

PoW (Proof of Work) คือรางวัลจะถูกมอบให้ผ่านการขุดหรือการแก้ไขสมการเพื่อการยืนยันตรวจสอบธุรกรรมและสร้างบล็อกใหม่ เป็นชุดกฎคำสั่งหรือ Protocol ที่ถูกตั้งไว้โดยกลุ่มนักพัฒนาของเหรียญนั้นๆ

โดยจุดประสงค์หลักๆที่สร้างมันขึ้นมาก็เพื่อป้องกันการโจมตีแบบ DDoS (distributed denial-of-service attack) PoW ถูกปรับใช้กับ Bitcoin เมื่อปี 2008 เนื่องจากว่ามันมีการให้อนุญาต trustless และ distributed consensus (ระบบแบบไม่ต้องวางใจใครแต่ใช้การตัดสินใจของคนหมู่มากแทน) 

 

PoS

แนวคิด Proof of Stake (PoS) ระบุว่าบุคคลสามารถขุดหรือตรวจสอบธุรกรรมบล็อกตามจำนวนเหรียญที่พวกเขาถืออยู่ ซึ่งหมายความว่ายิ่งนักขุดเป็นเจ้าของเหรียญมากเท่าใด พลังการขุดก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

มีความเสี่ยงน้อยกว่าในแง่ของศักยภาพที่นักขุดจะโจมตีเครือข่าย เนื่องจากมีโครงสร้างการชดเชยในลักษณะที่ทำให้การโจมตีมีประโยชน์น้อยลงสำหรับผู้ขุด

ปัจจุบัน มีเพียง altcoins เท่านั้นที่ใช้แนวคิด Proof of Stake เมื่อเริ่มต้นธุรกรรม ข้อมูลธุรกรรมจะถูกติดตั้งในบล็อกที่มีความจุสูงสุด 1 เมกะไบต์ แล้วทำซ้ำในคอมพิวเตอร์หรือโหนดหลายเครื่องบนเครือข่าย โหนดเป็นหน่วยงานบริหารของบล็อกเชนและตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรมในแต่ละบล็อก

 

ข้อมูล : investopedia 

Photo by Mathis Lesieur form PxHere

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง