รีเซต

ร่องรอยดาวเคราะห์น้อยชนโลกที่ใหญ่ที่สุดอาจอยู่ใต้ออสเตรเลีย

ร่องรอยดาวเคราะห์น้อยชนโลกที่ใหญ่ที่สุดอาจอยู่ใต้ออสเตรเลีย
TNN ช่อง16
18 สิงหาคม 2566 ( 02:28 )
182

โลกในอดีตย้อนไปนับล้านปีนั้นเคยมีดาวเคราะห์น้อย (Asteroid) พุ่งชนทั้งขนาดเล็กและใหญ่ บางร่องรอยสูญหายตามกาลเวลา และบางร่องรอยนั้นถูกค้นพบโดยมนุษย์และกลายเป็นแหล่งศึกษาความเป็นมาของโลก และล่าสุด ร่องรอยที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาก็ถูกชี้ว่าอาจจมอยู่ใต้แผ่นทวีปออสเตรเลีย โดยร่องรอยที่ว่านี้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่ถึง 520 กิโลเมตร


การค้นพบรอยดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนใหญ่ที่สุดในโลกที่ออสเตรเลีย

รอยดังกล่าวมีว่าโครงสร้างเดนิลิควิน (Deniliquin structure) ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐนิวเซาท์เวลส์ เป็นหนึ่งในกลุ่มร่องรอยการพุ่งชนของดาวเคราะห์น้อยจากทั้งหมด 43 จุด ที่เชื่อว่าเป็นร่องรอยการตกของดาวเคราะห์น้อยใต้ดิน การค้นพบดังกล่าวนั้นคาดว่าเกิดจากดาวเคราะห์น้อยนั้นตกลงในบริเวณที่เป็นแหล่งน้ำที่มีดินโคลน ทำให้โคลนนั้นพอกและทับถมไว้คล้ายกับโดมครอบเมื่อเวลาผ่านไปเป็นล้าน ๆ ปี และถูกดินหรือหินชั้นอื่นทับถมอีกทีหนึ่งตามกระบวนการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก


กระบวนการค้นพบร่องรอยเดนิลิควิน อาศัยการค้นพบการเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็กของพื้นที่นิวเซาท์เวลส์ระหว่างปี 1995 เทียบกับปี 2000 โดยพิจารณาสารที่มาจากดาวเคราะห์น้อยนั้นจะมีค่าความเป็นแม่เหล็กต่างจากโครงสร้างพื้นที่โดยรอบ ร่วมกับข้อมูลแผ่นดินไหวที่เดินทางผ่านบริเวณรัฐนิวเซาท์เวลส์ในฐานะคลื่นเสียง ซึ่งทำให้พบว่ามีความแตกต่างของโครงสร้างที่อาจตีความได้ว่ามีโดมที่ซ่อนร่องรอยการตกของดาวเคราะห์น้อยไว้ใต้ดิน


ข้อมูลที่ได้จากการค้นพบรอยดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนใหญ่ที่สุดในโลกที่ออสเตรเลีย

การค้นพบข้อบ่งชี้ร่องรอยเดนิลิควินและอีก 42 จุด รวมถึงร่องรอยที่ได้รับการยืนยันทางธรณีฟิสิกส์ (Geophysics) อีกว่า 38 จุด ทั่วออสเตรเลีย อาจเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุของการสูญพันธุ์ขนาดใหญ่ (Mass extinction) ในยุคออร์โดวิเชียน (Ordovician) ที่เป็นจุดกำเนิดยุคน้ำแข็ง (Ice Age) เมื่อ 444 ล้านปีก่อน 


และแม้ว่าร่องรอยเดลินิควินจะใหญ่กว่าหลุมจากการพุ่งชนที่เฟรเดอฟอร์ต (Vredefort impact structure) ในแอฟริกาใต้มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 300 กิโลเมตร  ซึ่งกลายเป็นการโค่นแชมป์ร่องรอยการชนของดาวเคราะห์น้อยที่ใหญ่ที่สุดในโลกลง แต่ความเก่าแก่ของร่องรอยเดลินิควินนั้นอาจย้อนไปไกลสุดที่ช่วงต้นของยุคแคมเบรียน (Cambrian era) ที่ประมาณมากกว่า 540 ล้านปีก่อน เท่านั้น ต่างจากร่องรอยในแอฟริกาใต้ที่มีอายุมากกว่า 2,000 ล้านปี 


นอกจากนี้ การค้นพบร่องรอยดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนที่เดลินิควินและจุดอื่น ๆ อาจเป็นข้อบ่งชี้ว่าการศึกษาร่องรอยเหล่านี้ให้ครอบคลุมอาจจำเป็นต้นขุดลึกลงไปใต้ดินด้วยเช่นกัน โดยงานวิจัยชิ้นนี้ได้ตีพิมพ์ลงในวารสารด้านธรณีฟิสิกส์ชื่อดังอย่างเทคโทโนฟิสิกส์ (Techtonophysics) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่การระบุความเก่าแก่ของร่องรอยเดลินิควินนั้นยังต้องการการศึกษาและการตรวจพิสูจน์ทางธรณีวิทยาต่อไป


ที่มาข้อมูล The ConversationInteresting Engineering

(รูปภาพจาก AI โดย TNN Tech)

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง