รีเซต

เปิดปฏิทิน บุญประเพณีสารทเดือนสิบ 2566

เปิดปฏิทิน บุญประเพณีสารทเดือนสิบ 2566
TeaC
15 กันยายน 2566 ( 15:18 )
9.8K
เปิดปฏิทิน บุญประเพณีสารทเดือนสิบ 2566

ข่าววันนี้ ประวัติ บุญประเพณีสารทเดือนสิบ คิดถึงบ้านเกิดหม้ายยย! เชื่อว่าชาวใต้ที่อยู่ในในกรุงเทพ หรือต่างจังหวัดต่าง ๆ ต้องรีบยกมือกันอย่างแน่นอน เพราะประเพณีสารทเดือนสิบเป็นประเพณีสำคัญที่ทุกคนต่างเฝ้ารอเดินทางกลับมาทำบุญที่บ้านเกิดอย่างแน่นอน ซึ่งประเพณีดังกล่าวคล้ายประเพณีของชาวไทยเชื้อสายจีนอย่าง เทศกาลตรุษจีน เทศกาลแห่งความสุขที่คนในครอบครัวที่อยู่ต่างถิ่นต่างร่วมใจ พร้อมเพรียงกลับมาร่วมทำบุญ ล้อมวงนั่งคุย สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว 

 

ประวัติ บุญประเพณีสารทเดือนสิบ 

ประเพณีสารทเดือนสิบ จากข้อมูลวิกิพีเดียได้อธิบายถึงคำว่า "สารท" เป็นคำอินเดีย แปลว่า "ฤดู" ซึ่งหมายถึง "ฤดูเก็บเกี่ยว" งานวันสารทจึงมีความหมายว่า งานประเพณีในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว เป็นงานบุญประเพณีของคนภาคใต้โดยเฉพาะชาวนครศรีธรรมราชที่ได้รับอิทธิพลด้านความเชื่อมาจากทางศาสนาพราหมณ์ โดยมีการผสมผสานกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนาโดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว

 

ซึ่งมีความเชื่อกันว่าได้รับการปล่อยตัวมาจากภูมินรกที่ตนต้องจองจำอยู่เนื่องจากผลกรรมที่ตนได้เคยก่อไว้ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยจะเริ่มปล่อยตัวจากภูมินรกในทุกวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 เพื่อมายังโลกมนุษย์ มีจุดประสงค์เพื่อให้มาขอส่วนบุญส่วนกุศลจากลูกหลานญาติพี่น้องที่ได้เตรียมการอุทิศไว้ให้ เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ล่วงลับ หลังจากนั้นก็จะกลับไปยังภูมินรก ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10

 

เปิดปฏิทิน บุญประเพณีสารทเดือนสิบ 2566 ตรงวันไหน? 

 

สำหรับประเพณีสารทเดือนสิบ จะมีวันสำคัญตั้งแต่วันรับตายาย วันจ่าย ยกหมรับ และส่งตายาย ซึ่งในแต่ละวันนั้นก็จะมีพิธีกรรมที่แตกต่างกันออกไป ทั้งการไหว้ ของเซ่นไหว้ต่าง ส่วนปี 2566 มาเปิดปฏิทินกันดูหน่อยว่าตรงวันไหนบ้าง?

 

  • วันพุธที่ 30 สิงหาคม 2566

 

ขนมเดือนสิบ มีอะไรบ้าง? 

 

  1. หนมลา ด้วยรูปทรงละม้ายคล้ายผ้าที่ถักทอ สื่อถึงเครื่องนุ่มห่ม
  2. หนมพอง มีลักษณะเหมือน "แพ" ให้ผู้ล่วงลับได้ใช้ล่องห้วงมหรรณพ
  3. หนมไข่ปลา หรือหนมกง หากใครคุ้นเคยหรือเคยได้เห็น ด้วยรูปลักษณ์คล้ายเครื่องประดับ เช่น กำไร หรือแหวน
  4. หนมดีซำ คล้ายเบี้ยหอย จึงกลายเป็นสัญลักษณ์แทนเงินเบี้ยไว้ใช้สอย
  5. หนมบ้า เป็นสัญลักษณ์แทนการละเล่นสมัยโบราณหรือที่รู้เรียกว่า เล่นสะบ้า

 

ส่วนช่วงระยะเวลาในการประกอบพิธีกรรมของประเพณีสารทเดือนสิบ จะมีขึ้นในวันแรม 1 ค่ำ ถึง วันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี แต่สำหรับวันที่ชาวใต้มักจะนิยมทำบุญกันมากคือ วันแรม 13 ถึง 15 ค่ำ ประเพณีวันสารทเดือนสิบ โดยในส่วนใหญ่แล้วจะตรงกับเดือนกันยายนของทุกปี

 

ข้อมูล : ประเพณีบุญสารทเดือนสิบ สำนักวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง