เชื้อรา "กิน" รังสีในเมืองเชอร์โนบิล สู่การป้องกันรังสีของนักบินอวกาศ
หลายคนน่าจะรู้จักโศกนาฏกรรมการระเบิดครั้งใหญ่ ของโรงผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์ในเมืองเชอร์โนบิล ประเทศยูเครน ทำให้มีกัมมันตรังสีรั่วไฟลไปทั่วเมืองจนแทบจะไม่มีสิ่งมีชีวิตอยู่รอดได้
ที่มาของภาพ https://www.cnet.com/news/fungi-found-in-chernobyl-feeds-on-radiation-report-says/
แต่รู้หรือไม่ว่ายังมีเชื้อรากว่า 200 ชนิด หนึ่งในนั้นมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cladosporium sphaerospermum พวกมันสามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีกัมมันตรังสีรังสีเข้มข้น เพราะพวกมันใช้รังสีเหล่านี้ในการสร้างอาหารคล้ายกับการสังเคราะห์แสงของพืช
สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้นคือสารที่ใช้ในการกรองกัมมันตรังสีในเชื้อราชนิดนี้คือ เมลานิน (Melanin) สารเม็ดสีที่พบในผิวหนังมนุษย์ด้วย ซึ่งเมลานินในเชื้อราชนิดนี้จะช่วยป้องกันอันตรายจากรังสี (คล้ายกับที่เม็ดสีป้องกัน UV ให้ผิวหนัง) และช่วยให้เชื้อรานำรังสีมาใช้สร้างอาหารได้อย่างปลอดภัย
ที่มาของภาพ https://www.iflscience.com/space/spacex-to-deliver-radiationeating-fungi-from-chernobyl-to-the-iss/
ด้วยความสามารถพิเศษนี้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจกับเชื้อราชนิดนี้มาก โดยมีแผนที่จะนำไปพัฒนาต่อยอดในการป้องกันรังสีให้กับเหล่านักบินอวกาศ แต่มิได้หมายความว่าจะเอาเชื้อราไปทำชุดกันรังสีหรอกนะ แต่เป็นการศึกษาเพื่อนำไปใช้เป็นโมเดลในการป้องกันนักบินอวกาศต่อไป
ในอนาคตจะมีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อนำไปปรับแต่งพันธุกรรมพืชให้ทนต่อกัมันตรังสีในอวกาศ และช่วยให้พืชที่ได้รับการปรับแต่งแล้ว เจริญเติบโตได้ในอวกาศ ไม่แน่คุณอาจจะได้เห็นพืชพวกนี้เติบโตบนดาวอังคารก็เป็นได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Iflscience