รีเซต

น้ำท่วม 2565 วันนี้! 6 ต.ค. 65 เช็ก! พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ล่าสุด 13 จังหวัดตรงไหนบ้าง

น้ำท่วม 2565 วันนี้! 6 ต.ค. 65 เช็ก! พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ล่าสุด 13 จังหวัดตรงไหนบ้าง
Ingonn
6 ตุลาคม 2565 ( 13:49 )
11K
น้ำท่วม 2565 วันนี้! 6 ต.ค. 65 เช็ก! พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ล่าสุด 13 จังหวัดตรงไหนบ้าง

ข่าวน้ำท่วม อัปเดตสถานการณ์น้ำท่วม วันนี้ น้ำท่วม ล่าสุด 6 ต.ค. 65 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ประกาศรายงานคาดการณ์และแจ้งเตือนภัย น้ำท่วมขัง น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม ประจำวันที่ 6 ตุลาคม 2565 เวลา 08.00 น. เช็คเส้นทาง น้ำท่วม วันนี้ มีที่ไหนบ่าง

 

น้ำท่วมวันนี้ มีที่ไหนบ้าง

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขังในระยะสั้น

ภาคกลาง

  • จ.ปทุมธานี (อ.ธัญบุรี คลองหลวง ลำลูกกา)
  • นนทบุรี (อ.เมืองฯ ปากเกร็ด)
  • สมุทรปราการ (อ.เมืองฯ บางพลี บางเสาธง พระประแดง)
  • กรุงเทพมหานคร 

 

ภาคใต้

  • จ.สุราษฎร์ธานี (อ.พนม คีรีรัฐนิคม)
  • นครศรีธรรมราช (อ.ทุ่งสง)
  • พัทลุง (อ.ศรีนครินทร์ ศรีบรรพต ป่าพยอม)
  • ปัตตานี (อ.โคกโพธิ์) ยะลา (อ.ธารโต บันนังสตา)
  • นราธิวาส (อ.ระแงะ จะแนะ สุคิริน)
  • กระบี่ (อ.เขาพนม)
  • ตรัง (อ.เมืองฯ ย่านตาขาว ห้วยยอด)
  • สตูล (อ.ทุ่งหว้า ควนกาหลง)

 

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง

ภาคเหนือ

  • จ.พิษณุโลก (อ.บางระกำ พรหมพิราม)
  • สุโขทัย (อ.เมืองฯ ศรีสัชนาลัย ศรีสำโรง สวรรคโลก กงไกรลาศ คีรีมาศ)
  • พิจิตร (อ.สามง่าม วชิรบารมี ทับคล้อ บึงนาราง บางมูลนาก)
  • เพชรบูรณ์ (อ.เมืองฯ วิเชียรบุรี ศรีเทพ หล่มสัก บึงสามพัน หนองไผ่ หล่มเก่า ชนแดน วังโป่ง น้ำหนาว)
  • ตาก (อ.สามเงา บ้านตาก)
  • นครสวรรค์ (อ.เมืองฯ หนองบัว พยุหะคีรี ท่าตะโก ไพศาลี โกรกพระ ตาคลี ลาดยาว ชุมแสง บรรพตพิสัย ตากฟ้า แม่เปิน แม่วงก์) 

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • จ.เลย (อ.เมืองฯ)
  • ชัยภูมิ (อ.เมืองฯ เนินสง่า จัตุรัส เกษตรสมบูรณ์ บ้านเขว้า ภูเขียว หนองบัวแดง บ้านแท่น บำเหน็จณรงค์ หนองบัวระเหว)
  • หนองบัวลำภู (อ.เมืองฯ) ขอนแก่น (อ.เมืองฯ ชนบท ชุมแพ น้ำพอง มัญจาคีรี โคกโพธิ์ชัย)
  • มหาสารคาม (อ.เมืองฯ โกสุมพิสัย กันทรวิชัย เชียงยืน)
  • ร้อยเอ็ด (อ.จังหาร เชียงขวัญ เสลภูมิ ทุ่งเขาหลวง)
  • ยโสธร (อ.เมืองฯ มหาชนะชัย)
  • นครราชสีมา (อ.เมืองฯ โนนสูง พิมาย จักราช ลำทะเมนชัย สูงเนิน ชุมพวง)
  • บุรีรัมย์ (อ.คูเมือง บ้านด่าน พุทไธสง สตึก เฉลิมพระเกียรติ นางรอง ปะคำ บ้านกรวด กระสัง ชำนิ ลำปลายมาศ)
  • สุรินทร์ (อ.จอมพระ ท่าตูม ชุมพลบุรี)
  • ศรีสะเกษ (อ.เมืองฯ ห้วยทับทัน ราษีไศล อุทุมพรพิสัย กันทรารมย์ ยางชุมน้อย วังหิน ภูสิงห์ น้ำเกลี้ยง)
  • อุบลราชธานี (อ.เมืองฯ วารินชำราบ สว่างวีระวงศ์ เดชอุดม ดอนมดแดง สำโรง เขื่องใน พิบูลมังสาหาร ตระการพืชผล) 

 

ภาคกลาง

  • จ.ชัยนาท (อ.เมืองฯ วัดสิงห์ มโนรมย์ หันคา สรรพยา)
  • สิงห์บุรี (อ.อินทร์บุรี เมืองฯ พรหมบุรี)
  • ลพบุรี (อ.เมืองฯ ชัยบาดาล บ้านหมี่ โคกสำโรง พัฒนานิคม)
  • อ่างทอง (อ.เมืองฯ ป่าโมก วิเศษชัยชาญ ไชโย) สระบุรี (อ.เมืองฯ)
  • พระนครศรีอยุธยา (อ.เสนา ผักไห่ บางบาล บางไทร บางปะอิน พระนครศรีอยุธยา ท่าเรือ)
  • ปทุมธานี (อ.เมืองฯ สามโคก) ปราจีนบุรี (อ.เมืองฯ กบินทร์บุรี ศรีมหาโพธิ ประจันตคาม)
  • สระแก้ว (อ.เมืองฯ)

 

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงบริเวณปากแม่น้ำ และพื้นที่ราบลุ่มชายฝั่ง

  • ภาคกลาง จ.สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และกรุงเทพมหานคร

  • ภาคใต้ จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

 

ขอให้ประชาชนในพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์ภัยติดตามข้อมูลข่าวสารจากทางราชการ  ติดตามข้อมูลข่าวสารจากทางราชการระวังอันตรายจากสัตว์และแมลงมีพิษ รวมถึงระวังอันตรายจากกระแสไฟฟ้า โดยเฉพาะบริเวณน้ำท่วมแนวสายไฟฟ้า เสาไฟฟ้า หรือวัตถุสื่อนำกระแสไฟฟ้า เพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่พาหนะบริเวณน้ำไหลผ่านทาง อีกทั้งงดการท่องเที่ยวในพื้นที่ถ้ำที่มีน้ำท่วมขัง และน้ำตกที่น้ำไหลเชี่ยว ตลอดจนระวังผลกระทบจากระดับน้ำทะเลหนุนสูง

 

 

จังหวัดน้ำท่วม วันนี้

6 ต.ค. 65 เวลา 10.00 น. ปภ.รายงานจากอิทธิพลร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคเหนือด้านตะวันตก ขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ประกอบกับผลกระทบจากพายุโนรู ทำให้เกิดน้ำท่วมและน้ำป่าไหลหลาก โดยปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ใน 13 จังหวัด ได้แก่ เพชรบูรณ์ พิจิตร นครสวรรค์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานีขอนแก่น เลย ชัยภูมิ มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ ลพบุรี ปราจีนบุรี รวม 85 อำเภอ 399 ตำบล 2,557 หมู่บ้านขณะที่สถานการณ์น้ำล้นตลิ่งมีพื้นที่ได้รับผลกระทบใน 6 จังหวัด ได้แก่ ตาก พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ปทุมธานี สิงห์บุรี และชัยนาท รวม 22 อำเภอ 167 ตำบล 285 หมู่บ้าน โดย ปภ. ได้ประสานทุกจังหวัดเร่งสำรวจความเสียหายและให้ช่วยเหลือประชาชน


กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานอิทธิพลร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคเหนือด้านตะวันตก ขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย อีกทั้งผลกระทบจากสถานการณ์พายุโนรู ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากและลมแรงในหลายพื้นที่ ส่งผลให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยในช่วงวันที่ 28 ก.ย. – 6 ต.ค. 65 เกิดสถานการณ์ภัยในพื้นที่ 30 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน พะเยา เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง สุโขทัย เพชรบูรณ์ ตาก พิจิตร อุตรดิตถ์ น่าน แพร่ นครสวรรค์ อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร อุบลราชธานี ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ เลย ชัยภูมิ มหาสารคาม มุกดาหาร ลพบุรี กาญจนบุรี สระบุรี สระแก้ว ปราจีนบุรี และพังงา รวม 155 อำเภอ 589 ตำบล 3,177 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 72,557 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 4 ราย (ศรีสะกษ 3 ราย เพชรบูรณ์ 1 ราย) ผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 ราย (ศรีสะเกษ) 


ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 13 จังหวัด ได้แก่ เพชรบูรณ์ พิจิตร นครสวรรค์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ขอนแก่น เลย ชัยภูมิ มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ ลพบุรี ปราจีนบุรี รวม 85 อำเภอ 399 ตำบล 2,557 หมู่บ้าน

  1. น้ำท่วม เพชรบูรณ์ น้ำท่วมในพื้นที่ 10 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวิเชียรบุรี อำเภอบึงสามพัน อำเภอหนองไผ่ อำเภอหล่มสัก อำเภอศรีเทพอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอหล่มเก่า อำเภอชนแดน อำเภอวังโป่ง และอำเภอน้ำหนาว รวม 89 ตำบล 696 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,0647 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 1 ราย ระดับน้ำทรงตัว

  2. น้ำท่วม พิจิตร น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสามง่าม อำเภอวชิรบารมี อำเภอทับคล้อ อำเภอบึงนาราง และอำเภอบางมูลนาก รวม 20 ตำบล 87 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง

  3. น้ำท่วม นครสวรรค์ น้ำท่วมในพื้นที่ 13 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหนองบัว อำเภอพยุหะคีรี อำเภอท่าตะโก อำเภอไพศาลี อำเภอโกรกพระ อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอตาคลี อำเภอลาดยาว อำเภอชุมแสง อำเภอบรรพตพิสัย อำเภอตากฟ้า อำเภอแม่เปิน และอำเภอแม่วงก์ รวม 56 ตำบล 407 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 13,764 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

  4. น้ำท่วม ศรีสะเกษ น้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอห้วยทับทัน อำเภอยางชุมน้อย อำเภอวังหิน อำเภอภูสิงห์ อำเภอน้ำเกลี้ยง และอำเภออุทุมพรพิสัย รวม 16 ตำบล 46 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,301 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 3 ราย ผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 ราย และอพยพประชาชน 528 ครัวเรือน  2,152 คน ไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว 23 จุด ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

  5. น้ำท่วม อุบลราชธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ อำเภอสว่างวีระวงศ์ อำเภอเดชอุดม อำเภอดอนมดแดง อำเภอสำโรง อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอเขื่องใน และอำเภอตระการพืชผล รวม 27 ตำบล 120 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,688 ครัวเรือน อพยพประชาชน 129 ชุมชน ไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว 81 จุด ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

  6. น้ำท่วม ขอนแก่น น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองขอนแก่น อำเภอชนบท อำเภอน้ำพอง และอำเภอโคกโพธิ์ชัย รวม 11 ตำบล 46 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 120 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

  7. น้ำท่วม ชัยภูมิ น้ำท่วมในพื้นที่ 10 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเนินสง่า อำเภอจัตุรัส อำเภอเกษตรสมบูรณ์ อำเภอภูเขียว อำเภอบ้านเขว้า อำเภอหนองบัวแดง อำเภอบ้านแทน อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอเมืองชัยภูมิ และอำเภอหนองบัวระเหว รวม 25 ตำบล 102 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 560 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

  8. น้ำท่วม นครราชสีมา น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอลำทะเมนชัย อำเภอสูงเนิน และอำเภอชุมพวง รวม 11 ตำบล 28 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 885 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

  9. น้ำท่วม บุรีรัมย์ น้ำท่วมในพื้นที่ 11 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบ้านด่าน อำเภอพุทไธสง อำเภอสตึก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอนางรอง อำเภอปะคำ อำเภอบ้านกรวด อำเภอกระสัง อำเภอคูเมือง อำเภอชำนิ และอำเภอลำปลายมาศ รวม 31 ตำบล 122 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 308 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

  10. น้ำท่วม เลย น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอเมืองเลย รวม 2 ตำบล 7 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 127 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

  11. น้ำท่วม มหาสารคาม น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองมหาสารคาม อำเภอกันทรวิชัย อำเภอโกสุมพิสัย และอำเภอเชียงยืน รวม 41 ตำบล 450 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,690 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

  12. น้ำท่วม ลพบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองลพบุรี อำเภอชัยบาดาล อำเภอบ้านหมี่ อำเภอโคกสำโรง และอำเภอพัฒนานิคม รวม 53 หมู่บ้าน 343 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 15,567 ครัวเรือน อพยพประชาชน 497 คน ไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว 5 จุด ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

  13. น้ำท่วม ปราจีนบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอเมืองปราจีนบุรี และอำเภอประจันตคาม รวม 17 ตำบล 103 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,363 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

 

ขณะที่สถานการณ์น้ำล้นตลิ่งยังคงมีสถานการณ์ 6 จังหวัด ได้แก่ ตาก พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ปทุมธานี สิงห์บุรี และชัยนาท รวม 22 อำเภอ 167 ตำบล 285 หมู่บ้าน ภาพรวมสถานการณ์มีระดับน้ำเพิ่มขึ้น

 

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่และให้การดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่องและจะได้จัดเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ต่อไป 

 

ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับ แจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยได้ที่แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT”

 

 

 

ข้อมูล กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM

 

ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง