รีเซต

ทำความเข้าใจ “เหงื่อ” เป็นสารคัดหลั่งที่แพร่เชื้อโควิด-19 หรือไม่ ยังออกกำลังกายได้อยู่หรือเปล่า

ทำความเข้าใจ “เหงื่อ” เป็นสารคัดหลั่งที่แพร่เชื้อโควิด-19 หรือไม่ ยังออกกำลังกายได้อยู่หรือเปล่า
Ingonn
14 พฤษภาคม 2564 ( 10:31 )
13.5K
ทำความเข้าใจ “เหงื่อ” เป็นสารคัดหลั่งที่แพร่เชื้อโควิด-19 หรือไม่ ยังออกกำลังกายได้อยู่หรือเปล่า

เคยสงสัยกันไหมว่า เวลาออกกำลังกายหรือฝึกซ้อมกีฬาแล้วเหงื่อออกมากๆ จะทำให้แพร่โควิด-19 สู่คนรอบข้างได้หรือไม่ เนื่องจากเหงื่อมีลักษณะเป็นน้ำและออกมาจากร่างกาย หากมีผู้สัมผัสโดนเหงื่อจะเหมือนการสัมผัสถูกสารคัดหลั่งหรือเปล่า 

 

 

 

 

 

วันนี้ TrueID มีคำตอบมาให้สำหรับคนที่ไม่แน่ใจว่าอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่เหงื่อออกมากๆหรือนักกีฬาที่เหงื่อออกจะเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโควิด

 

 

เหงื่อคืออะไร


“เหงื่อ” เป็นของเสียชนิดหนึ่งที่ร่างกายขับออกมาในรูปของเหลว และจะขับออกมาทางผิวหนังหรือตามซอกต่างๆของร่างกาย มักมีรสเค็มเพราะมีเกลือเป็นส่วนประกอบ การออกกำลังกายหรือเวลาอากาศร้อนก็มีเหงื่อได้เช่นกัน

 

 

สารคัดหลั่งคืออะไร


“สารคัดหลั่ง” คือ สารที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่แตกต่างกันไป เมื่อร่างกายรับเชื้อโควิด-19 เข้าไปแล้ว เชื้อจะไปสะสมอยู่ในสารคัดหลั่งชนิดต่าง ๆ ในปริมาณที่ไม่เท่ากัน

 

 

เหงื่อ = สารคัดหลั่งที่ทำให้ติดโควิด-19 ไหม?


ยังไม่มีรายงานตรวจพบเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเหงื่อ สารคัดหลังจากช่องคลอดและน้ำอสุจิมาก่อน  เนื่องจากเหงื่อไม่ใช่สารคัดหลั่ง และไวรัสโควิด-19 อยู่ในระบบทางเดินหายใจ การสัมผัสเหงื่อจึงไม่ติดเชื้อโควิด

 

 

ยังออกกำลังกายและมีเหงื่อได้หรือไม่


รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ โพสต์ในเฟซบุ๊กส่วนตัวเกี่ยวกับการออกกำลังกายและมีเหงื่อไม่ได้ทำให้แพร่เชื้อโควิด-19 จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องหาวิธีการซ้อมกีฬาโดยไม่ให้เหงื่อออก แต่การเล่นกีฬาที่ใกล้ชิด คลุกคลีกัน มีสิทธิ์ที่จะมี "สารคัดหลั่ง" ในรูปละอองน้ำลายออกมา ทั้งจากการหอบหายใจ และการตะโกนระหว่างเล่นกีฬาได้ ทางแก้ที่พอทำได้ คือ พยายามซ้อมกลางแจ้งเพื่อให้อากาศถ่ายเทมากที่สุด ที่จะทำได้ 

 

 

นอกจากนั้นควรรักษาระยะห่างอย่างน้อย 1-2 เมตร เมื่อรู้สึกว่าจะไอจาม แล้วไม่มีกระดาษทิชชู ควรไอจามใส่ข้อศอก โดยยกแขนข้างใดข้างหนึ่งมาจับไหล่ตัวเองฝั่งตรงข้าม และยกมุมข้อศอกปิดปากและจมูกตนเองก่อนจาม ไอทุกครั้งไม่ควรไอ จามใส่มือ รวมถึงล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้ง จะช่วยป้องกันเชื้อโควิด-19 ได้

 


สำรวจสารคัดหลั่งที่ปนเปื้อนเชื้อโควิด- 19 


อันดับ 1 น้ำมูกประมาณ 97.9%


อันดับ 2 น้ำลายประมาณ 88.6%


อันดับ 3 อุจจาระประมาณ 70.8%


อันดับ 4 เยื่อบุในลำคอหอยประมาณ 60%


อันดับ 5 เลือดประมาณ 12.3%


อันดับ 6 น้ำตาประมาณ 1.1%

 

ปัสสาวะ อสุจิ และน้ำหล่อลื่นจากช่องคลอดไม่พบเชื้อโควิด-19 

 

 


โควิด-19 กับการติดเชื้อบนผิวหนัง

 

1.เชื้อโควิด-19 มีโอกาสล่องลอยอยู่ในอากาศ โดยเฉพาะในพื้นที่อับ แต่ในสภาพปกติที่อากาศถ่ายเท เชื้อจะฟุ้งหรือแพร่กระจายได้ไม่ไกล

 

2.ช่องทางหลักที่เชื้อจะแพร่ได้ คือ ฝอยละอองจากการไอ จาม หรือพูดเสียงดังๆ ซึ่งฝอยละอองเหล่านี้จะตกอยู่บนโต๊ะ ปุ่มลิฟต์ ราวบันได และพื้นผิวต่าง ๆ จึงต้องระวังการสัมผัสสารคัดหลั่งโดยไม่รู้ตัว

 

3.โควิด-19 อาจติดบนเส้นผมได้ ขึ้นอยู่กับว่าได้รับเชื้อจากสารคัดหลั่งหรือไม่ หากได้รับละอองฝอยน้ำลายของผู้ป่วยโควิด-19 ก็มีโอกาสติดเชื้อ และเนื่องจากยังไม่มีข้อมูลว่าเชื้อนั้นจะอยู่บนเส้นผมได้นานเท่าไร เมื่อกลับบ้านควรรีบอาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าให้เรียบร้อย


4.รังสียูวีซีสามารถฆ่าเชื้อได้ แต่ยูวีซีบางชนิดต้องใช้โดยไม่ให้โดนผิวหนังหรือดวงตา เหมาะสำหรับการอบห้องที่ไม่มีคนอยู่ เช่น เปิดไว้ข้ามคืน ไม่ควรใช้ติดในซุ้มให้คนเดินผ่านหรือในตู้ เพราะไม่ช่วยในการป้องกันการติดเชื้อ และปัจจุบันเริ่มมีการผลิตยูวีซีที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์

 


ระยะเวลาของเชื้อโควิด-19 ที่อยู่บนพื้นผิวต่างๆ

 

  • ทองแดง 4 ชม.

 

  • ไม้ 6-24 ชม.

 

  • แก้ว ผ้า 24-72 ชม.

 

  • กระดาษ พลาสติก 48-96 ชม.

 

 

ข้อแนะนำ


เนื่องจากเชื้อไวรัสสามารถอยู่บนด้านนอกของหน้ากากอนามัยได้นานมากกว่า 1 สัปดาห์ ดังนั้น ไม่ควรใช้หน้ากากอนามัยซ้ำ และควรล้างมือให้สะอาด เพื่อป้องกันการสัมผัสเชื้อที่อาจปนเปื้อนอยู่

 

 

 

ข้อมูลจาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย , วิกิพีเดีย , กระทรวงสาธารณสุข , เฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง