รีเซต

เช็กสัญญาณเตือน! เส้นเลือดในสมองแตก

เช็กสัญญาณเตือน! เส้นเลือดในสมองแตก
TNN ช่อง16
3 กรกฎาคม 2567 ( 14:14 )
38

เส้นเลือดในสมองแตก หรือ หลอดเลือดสมองแตก เกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุหลักเกิดจากหลอดเลือดในสมองที่มีความเสื่อมสะสมจากสาเหตุต่าง ๆ และจากหลอดเลือดที่เสื่อมสภาพ อาจจะตีบ อุดตัน ทำให้เลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงสมองได้ ส่งผลทำให้สมองขาดออกซิเจน หากเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เซลล์สมองตาย กลายเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิตได้


โดยกลุ่มเสี่ยงอาการหลอดเลือดสมองแตก บ่อยที่สุด คือ ผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้นไป เนื่องจากการเสื่อมของอวัยวะที่ผ่านไปตามกาลเวลา ทำให้ระบบการทำงานของอวัยวะต่างถดถอยลง และยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการควบคุม ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน และการสูบบุหรี่ 


อาการที่บ่งบอกว่าอาจเกิดอาการหลอดเลือดสมองแตก มักจะมีอาการดังนี้

->ชาที่ใบหน้า แขน หรือขา มักจะเป็นร่างกายซีกซ้ายหรือซีกขวาเพียงด้านเดียว สับสน พูดไม่ชัด หรือ ไม่เข้าใจคำพูดของผู้อื่น

>มีปัญหาการมอง อาจเกิดขึ้นที่ตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง

->ปัญหาในการเดิน ทรงตัว 

->มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน

->วิงเวียน คลื่นไส้ หรืออาเจียนผิดปกติ

หากตนเองหรือคนใกล้ชิดมีอาการเหล่านี้ ควรรีบโทร 1669 เรียกรถพยาบาลทันที 


วิธีการป้องกันหลอดเลือดสมองแตก ได้แก่

->ควบคุมความดันเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหลอดเลือดสมอง 

->ควบคุมระดับคอเลสเตอรอล ซึ่งจะนำไปสู่การสะสมของคราบจุลินทรีย์ในหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบตันหรือแตกได้ 

->เลิกสูบบุหรี่ เพราะจะทำลายหลอดเลือดและเพิ่มความเสี่ยงของหลอดเลือดสมองแตก 

->ออกกำลังกายเป็นประจำ ช่วยให้หัวใจแข็งแรงและลดความดันเลือด 

->รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี และโปรตีนไม่ติดมัน 

->หลีกเลี่ยงความเครียด เพราะจะเพิ่มความดันเลือดและความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองแตก 


การรักษาหลอดเลือดสมองแตก 

->มีการรักษาด้วยยา ส่วนมากใช้การรักษาแบบประคับประคอง โดยใช้ยาลดความดันเลือด

->การผ่าตัด สำหรับผู้ป่วยส่วนน้อย แพทย์จะพิจารณาเป็นกรณีเร่งด่วน ซึ่งจะมีความเสี่ยงสูงทำให้ผู้ป่วยมีความพิการ ทุพพลภาพถาวรได้ และการฟื้นฟูสมรรถภาพซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของร่างกายและจิตใจที่ได้รับผลกระทบจากอาการหลอดเลือดสมองแตก 


ข้อมูลจาก : ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 



ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง