รีเซต

MIT พัฒนา “แว่นตา” มองทะลุสิ่งกีดขวาง ค้นหาสิ่งของได้อย่างแม่นยำ

MIT พัฒนา “แว่นตา” มองทะลุสิ่งกีดขวาง ค้นหาสิ่งของได้อย่างแม่นยำ
TNN ช่อง16
2 มีนาคม 2566 ( 23:02 )
171
MIT พัฒนา “แว่นตา” มองทะลุสิ่งกีดขวาง ค้นหาสิ่งของได้อย่างแม่นยำ

ทีมนักวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือ MIT คิดค้นอุปกรณ์แว่นตา "Augmented Reality" หรือ AR ใช้เทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกแห่งความจริง ช่วยให้ผู้สวมใส่มองเห็นของ ที่ถูกซ่อนไว้ตามที่ต่าง ๆ ได้ แม้จะโดนสิ่งกีดขวางบังอยู่ก็ตาม


ภาพจาก MITตัวอุปกรณ์แว่นตานี้ มีชื่อเรียกว่า เอกซ์ เออาร์ (X-AR) ทำงานโดยการรวมเอาสัญญาณไร้สายของสิ่งที่ต้องการค้นหา มาผสานเข้ากับระบบการมองเห็น และการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ เพื่อนำทางให้ผู้สวมใส่ ไปยังจุดที่ของชิ้นนั้นถูกซุกซ่อนไว้ได้อย่างแม่นยำ


ภาพจาก MITตัวแว่นตาจะมีระบบเสาอากาศแบบใหม่ที่ทีมวิจัยออกแบบให้มีความยืดหยุ่น เข้ารูปไปกับตัวแว่นตาของ ไมโครซอฟต์ โฮโลเลน (Microsoft Hololens) โดยที่ไม่บังตัวกล้องและเซนเซอร์ของแว่นแต่อย่างใด และระบบจะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี อาร์เอฟไอดี (RFID) หรือการระบุตัวตนด้วยคลื่นความถี่วิทยุ และมีข้อดีคือ ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ ราคาถูก นำมาใช้เป็นแท็กสำหรับติดตามสินค้า เพื่อทำงานควบคู่ไปกับตัวแว่น


ภาพจาก MITสำหรับการใช้งานแว่นตานี้ ขั้นแรก เราจะต้องเลือกสินค้าที่ต้องการค้นหาบนจอเสมือนจริงผ่านแว่นก่อน เช่น ค้นหาเสื้อยืดสีดำ จากนั้นตัวแว่นจะส่งสัญญาณไร้สายไปยังแท็กบนของชิ้นนั้น ๆ เพื่อให้ตัวแท็กส่งสัญญาณกลับมา ซึ่งมีความแม่นยำแม้ว่าของชิ้นนั้นจะอยู่ในกล่องหรือโดนของอื่นบังอยู่ก็ตาม


ภาพจาก MIT

เมื่อได้สัญญาณแล้ว ตัวแว่นก็จะสร้างแผนที่ 3 มิติเสมือนจริง นำทางไปยังของชิ้นนั้น และจะใช้เทคโนโลยีในการติดตามการเคลื่อนไหวของมือเราเพื่อดูว่าเรา 'หยิบ’ ของชิ้นนั้นแล้วหรือยัง โดยจากการทดสอบทีมวิจัยเคลมว่าตัวแว่นสามารถระบุสิ่งของได้ถูกต้องถึงร้อยละ 96 เลยทีเดียว


ทีมวิจัยเชื่อว่าเทคโนโลยีนี้ จะมีส่วนช่วยในงานอุตสาหกรรมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาสินค้าในคลัง เพื่อให้พนักงานค้นหาของหรือเติมสินค้าได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วมากขึ้น หรือแม้แต่เอาไปใช้ช่วยแนะนำการประกอบชิ้นส่วนสำคัญในอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยแสดงภาพแบบ 3 มิติพร้อมคำแนะนำ เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและลดข้อผิดพลาด ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยเปลี่ยนวิธีการทำงาน และเป็นประโยชน์สำหรับภาคธุรกิจยิ่งขึ้น



ข้อมูลจาก interestingengineeringmedia.mit

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง