รีเซต

เช็ก "อาการโควิดเดลต้า" อันตรายต่อปอดแค่ไหน หากเดินผ่าน 5-10 วิ ติดได้ไหม?

เช็ก "อาการโควิดเดลต้า" อันตรายต่อปอดแค่ไหน หากเดินผ่าน 5-10 วิ ติดได้ไหม?
Ingonn
16 สิงหาคม 2564 ( 18:04 )
424
เช็ก "อาการโควิดเดลต้า" อันตรายต่อปอดแค่ไหน หากเดินผ่าน 5-10 วิ ติดได้ไหม?

ในช่วงที่สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศยังคงวิกฤตจากสายพันธุ์เดลต้า ที่ระบาดกระจายครบทุกจังหวัดในประเทศไทย และมีจำนวนมากที่สุดในทุกสายพันธุ์ ทำให้คนไทยส่วนใหญ่ติดเชื้อโควิดมากขึ้น จำนวนผู้เสียชีวิตก็มีมากขึ้นตามลำดับ การสังเกตอาการป่วยของตัวเราเองในปัจจุบันจึงเป็นสิ่งที่สำคัญและไม่ควรมองข้าม

 

 

ข้อมูลจากผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาที่รายงานอาการป่วยของตัวเองผ่านทางแอปพลิเคชันติดตามอาการป่วยแต่ละวัน (จากข้อมูลถึงวันที่ 23 มิถุนายน 2564 โดย ZOE COVID Study) พบว่าอาการทั่วไปไม่แตกต่างจากโควิดสายพันธุ์ก่อนๆ โดยมีอาการที่พบบ่อยเรียงตามลำดับดังนี้

 

 

อาการโควิดเดลตาในผู้ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีน


1. ปวดศีรษะ


2. เจ็บคอ


3. น้ำมูกไหล


4. เป็นไข้


5. ไอบ่อย

 

 

อาการโควิดเดลตาในผู้ที่รับวัคซีนอย่างน้อย 1 โดส


1. ปวดศีรษะ


2. น้ำมูกไหล


3. เจ็บคอ


4. จาม


5. ไอบ่อย

 

 

 

อาการโควิดเดลตาในผู้ที่รับวัคซีนครบ 2 โดส


1. ปวดศีรษะ


2. น้ำมูกไหล


3. จาม


4. เจ็บคอ


5. สูญเสียการได้กลิ่น

 

 

จะเห็นได้ว่าลักษณะอาการติดโควิดสายพันธุ์เดลต้าจะคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะอาการติดโควิดเบื้องต้นใกล้เคียงกับอาการป่วยไข้หวัดธรรมดา ทำให้หลายคนอาจกังวลว่า นี่เราติดโควิดสายพันธุ์นี้หรือยัง โดยทาง TrueID ได้ขยายความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้าในช่วงสถานการณ์โควิดปัจจุบันนี้ไว้ ผ่านการให้สัมภาษณ์ของนายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย

 

 

เมื่อวันที่ 21 ก.ค. 64 ชัวร์ก่อนแชร์จัด LIVE สด ชวนคุยในหัวข้อเรื่อง โควิดพันธุ์ใหม่ แค่หายใจก็ติดแล้ว จริงหรือ? โดย รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล นายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ โรงพยาบาลศิริราช ได้ตอบประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้า ที่ทำให้โควิด-19 ระบาดหนักในทุกวันนี้ จะมีอะไรบ้างไปดูกัน

 

 


“สายพันธุ์เดลต้า” อันตรายต่อปอด!?

 

ในแง่ของความรุนแรงสายพันธุ์เดลต้าทำให้ปอดอักเสบมากกว่าสายพันธุ์อัลฟ่าหรือสายพันธุ์อื่น ๆ หรืออาจจะมีเท่ากันก็ได้ ซึ่งต้องรอตัวเลขยืนยันอีกที แต่ที่พบแน่ ๆ คือ เดลต้าลงปอดเร็วขึ้นและทำให้เกิดปอดอักเสบเร็ว อาจจะนำไปสู่ภาวะปอดอักเสบรุนแรงหรือเพิ่มอัตราเสียชีวิตได้ง่ายขึ้นถ้าคนไข้มาถึงโรงพยาบาลช้า

 

 

ปกติแล้วผู้ที่ติดเชื้อจะต้องรอเข้าโรงพยาบาลประมาณ 3 – 5 วัน กว่าจะเกิดภาวะปอดอักเสบ แต่ตอนนี้เมื่อตรวจพบเชื้อต้องรีบเข้ารับการรักษาก่อนเชื้อจะลงปอด เนื่องจากว่าปริมาณผู้ป่วยล้นการดูแล และการคัดแยกระดับความรุนแรงของอาการตามคิวรักษาทำได้ยากลำบาก รวมถึงความไม่พร้อมของทั้งโรงพยาบาลหรือผู้ป่วยเอง จึงทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดความสูญเสียมีมากว่าสายพันธุ์อื่น และเป็นสาเหตุที่ทำให้ยอดผู้ป่วยปอดอักเสบรุนแรงไม่ยอมลดลงเสียที

 

 


“สายพันธุ์เดลต้า” แค่เดินผ่านกัน 5 – 10 วินาทีก็มีโอกาสติดได้แล้ว!?


คุณสมบัติของเดลต้าไม่ต่างจากเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 สายพันธุ์อื่น คือ มีขนาดอยู่ที่ประมาณ 0.66 – 0.12 ไมครอน เปรียบเทียบแล้วก็ประมาณ 100 เท่าของขนาดเส้นผมมนุษย์ และเชื้อไวรัสนี้จะติดต่อผ่านสารคัดหลั่งบางอย่างของร่างกาย เช่น น้ำมูก น้ำลาย เป็นต้น 

 

 

ส่วนการเดินผ่านกันแค่ 5 – 10 วินาทีก็มีโอกาสติดได้แล้ว ไม่ถูกต้อง เพราะอย่างน้อยต้องมีปฏิสัมพันธ์ เช่น พูดคุยในระยะใกล้โดยไม่ป้องกันเป็นอย่างน้อย 5 นาที หรือสัมผัสและใช้ของร่วมกันจึงเพิ่มโอกาสติด

 

 

อย่างไรก็ตามแนะนำว่าให้เว้นระยะห่าง หมั่นล้างมือ เมื่อกลับจากออกไปข้างนอกบ้านให้ถอดหน้ากากอนามัยทิ้งทันที และอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้า

 

 

สรุปได้ว่า สายพันธุ์เดลต้าไม่ได้ติดง่ายแค่ผ่านทางเดินหายใจมากกว่าสายพันธุ์อื่น ยังคงติดต่อผ่านทางสายคัดหลั่งเหมือนเดิม

 

 

หน้ากากอนามัยผ้าเอาไม่อยู่ !?


ในความเป็นจริงหน้ากากอนามัยผ้า โดยเฉพาะคุณสมบัติที่เป็นเส้นใยธรรมชาติไม่ได้รับแนะนำให้สวมใส่อยู่แล้วตั้งแต่การเกิดฝุ่น PM 2.5 เพราะเส้นใยธรรมชาติมีช่องว่างอยู่ระยะประมาณ 0.5 – 0.8 ไมครอน ซึ่งไวรัสในละอองฝอยมีโอกาสเล็ดลอดเข้าไปได้ การเลือกใช้หน้ากากที่เป็นผ้าใยสังเคราะห์ที่ผ่านมาตรฐานกรองฝุ่น PM 2.5 จะมีประโยชน์ในการใช้งานมากกว่า

 

 

ทั้งนี้หน้ากากผ้ามีข้อเสีย คือ เวลามันชื้นคุณสมบัติในการกรองจะด้อยลงไม่เหมือนหน้ากากอนามัยที่ตัวดูดซับความชื้นอยู่ข้างใน รวมทั้งหน้ากากผ้าไม่สามารถกระชับกับรูปหน้าได้ดีมากพออีกด้วย

 


อย่างไรก็ตามแนะนำให้ใส่หน้ากากอนามัยที่ได้มาตรฐานชั้นเดียวจะดีกว่ามาก เพราะเวลาที่เราพูดหรือขยับตัวการใส่สองชั้นจะทำใหเกิดการเลื่อนของหน้ากากทำให้เกิดช่องว่าง ซึ่งเป็นการเปิดจุดอ่อนให้เราง่ายขึ้น

 

 

นอกจากนั้นรศ.นพ.นิธิพัฒน์ ยังระบุเพิ่มเติมอีกว่า ปัจจัยที่ทำให้สายพันธุ์เดลต้า ลงปอดได้เร็วกว่าเดิม มาจากการสังเกตุในระยะเริ่มต้นที่พบเห็นและตอนนี้มีข้อมูลออกมายืนยันของแพทย์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไปในทางเดียวกัน เพียงแต่ว่ายังไม่ข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนทั้งในสัตว์ทดลองหรือมนุษย์ที่มีประวัติว่าเพิ่งได้รับเชื้อตัวนี้ไปพร้อม ๆ กัน 

 

 

ส่วนทำไมถึงเกิดขึ้นได้เร็วกว่าสายพันธุ์อื่น ทางแพทย์เองก็ยังไม่เข้าใจทั้งหมด หากให้สันนิฐานก็คงเป็นเรื่องของการเล็ดลอดของระบบภูมิคุ้มกันลงไปในส่วนล่างได้ดีกว่า 2 เท่า เมื่อนำไปเปรียบกับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่กับไวรัสไข้หวัดทั่ว ๆ ไป

 

 

 

ข้อมูลจาก Hfocus , ไทยรัฐ , ZOE COVID Study

 

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง