รีเซต

ไม่ตกหล่น! คลัง มั่นใจเยียวยาปชช. 66 ล้านคน ครบทุกกลุ่ม

ไม่ตกหล่น! คลัง มั่นใจเยียวยาปชช. 66 ล้านคน ครบทุกกลุ่ม
TNN ช่อง16
16 พฤษภาคม 2563 ( 14:42 )
1.6K
ไม่ตกหล่น! คลัง มั่นใจเยียวยาปชช. 66 ล้านคน ครบทุกกลุ่ม

วันนี้ (16 พ.ค.63) นายลวรรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวถึงความคืบหน้ามาตรการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 ว่า ขอให้มั่นใจว่ารัฐบาลดูแลคนทุกกลุ่มอย่างทั่วถึง สำหรับการเยียวยาที่เป็นตัวเงิน จากจำนวนประชากรคนไทย 66 ล้านคน ซึ่งแบ่งเป็น

กลุ่มที่ 1 แรงงานในระบบ 11 ล้านคน ที่ได้รับการเยียวยาผ่านระบบประกันสังคม

กลุ่มที่ 2 แรงงานอิสระ 16 ล้านคน ได้รับการเยียวยาผ่าน โครงการเราไม่ทิ้งกันคนละ 5,000 บาท 3 เดือน โดยได้ดำเนินการไปแล้วในช่วงโค้งสุดท้าย มีผู้ผ่านเกณฑ์แล้ว 15 ล้านคน

กลุ่มที่ 3 เกษตรกร 10 ล้านคน ที่จะได้รับเงินเยียวยา 5,000 ต่อครัวเรือน

กลุ่มที่ 4 ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ประมาณ 3 ล้าน ยังไม่มีการลดวันเวลาการทำงาน หรือลดเงินเดือน

รวม 4 กลุ่มกว่า 40 ล้านคน ส่วนมาตรการในอนาคตนั้น จะมีมาตรการดูแลเพิ่มเติม ได้แก่

กลุ่มที่ 5 กลุ่มเปราะบาง ประกอบด้วย เด็กแรกเกิด ผู้พิการ ผู้สูงอายุ 13 ล้านคน ทางกระทรวงพัฒนาสังคมฯ ได้เตรียมเสนอมาตรการให้การช่วยเหลือในเร็วๆ นี้

กลุ่มที่ 6 กลุ่มผู้มีรายได้น้อย 2.4 ล้านคน

กลุ่มที่ 7 กลุ่มคนที่ลงทะเบียนไม่สำเร็จจากมาตรการเยียวยา 5,000 บาท 1.7 ล้านคน

กลุ่มที่ 8 ผู้ที่ได้รับผลกระทบทางสังคมจากกรณีฉุกเฉิน 1 ล้านคน รวม 12.5 ล้านคน อยู่ระหว่างการพิจารณาช่วยเหลือ

กลุ่มที่ 9 อายุต่ำกว่า 18 ปี อีก 13.5 ล้านคน

ทั้งนี้ ยืนยันประชาชนแต่ละกลุ่มมีการคัดกรองความซ้ำซ้อนของข้อมูลแล้วจากการยืนยันตัวตน พร้อมย้ำว่ารัฐบาลให้ความสำคัญในการ ลดค่าใช้จ่าย ดูแลป้องกันโรค และ เพิ่มสภาพคล่องในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด 19 ทั้งการชะลอจ่ายค่าน้ำค่าไฟ ยืดการเสียภาษีเงินได้  ป่วยโควิดตรวจรักษาฟรี สินเชื่อฉุกเฉินต่างๆที่เตรียมไว้อีกกว่า 40,000 ล้านบาท ที่ให้ประชาชนสามารถกู้ได้วงเงิน 10,000 บาทต่อคน โดยที่ไม่ต้องมีหลักประกัน ดอกเบี้ย 0.1% ต่อเดือน ที่ธนาคารออมสินและธนาคารธ.ก.ส แห่งละ 20,000 ล้านบาท  และยังมีสินเชื่อพิเศษวงเงิน 50,000 บาทต่อคน ดอกเบี้ย 0.35% ต่อเดือน  

ส่วนการดูแลผู้ประกอบการ หากธุรกิจที่ใดสามารถรักษาการจ้างงานไว้ได้ เหมือนเดิมในช่วง เม.ย.-มิ.ย. จะสามารถนำไปหักค่าใช้จ่ายได้ 3 เท่า เพื่อเป็นการจูงใจในการดูแลแรงงาน ยืดเวลาการเสียภาษี ยกเว้นภาษีกับสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ พร้อมทั้งมาตรการเพิ่มสภาพคล่องให้กับสถานประกอบการต่างๆ เช่น ลดอัตราภาษี ณ ที่จ่ายจาก 3% เหลือ 1.5% การเร่งคืนVat ให้ผู้ประกอบการส่งออก การให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ การพักชำระหนี้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ขอให้มั่นใจว่ารัฐบาลจะมีมาตรการออกมารองรับกับทุกสถานการณ์ที่จะเปลี่ยนแปลงให้กับประชาชนและผู้ประกอบการ

ส่วนกรณีที่มีการแจ้งผลถึงผู้ทะเบียนว่าเป็นสถานะหัวหน้าครัวเรือนเกษตร 470,000 รายนั้น เกิดจากฐานข้อมูลของกระเกษตรฯและกระทรวงการคลังมีความคลาดเคลื่อนกัน  ซึ่งได้มีการอัพเดทให้เป็นปัจจุบันแล้ว โดยกระทรวงการคลังได้ตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดแล้วเสร็จวานนี้  และจะเริ่มจ่ายเงินให้กับประชาชนกลุ่มนี้ได้ภายใน วันพุธ ที่ 20 พ.ค. นี้

พร้อมยืนยันว่าผู้ที่ลงทะเบียนไม่สำเร็จอีกว่า 1.7 ล้านคน เป็นคนละกลุ่มกับผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียน ซึ่งผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียนจะต้องไปดูมาตรการอื่นของภาครัฐที่จะออกมาในกลุ่มที่ 5-8 ที่จะมีมาตรการรองรับในอนาคตเพื่อไม่ให้มีการตกหล่น ส่วนกรณีที่มีผู้ลงทะเบียนที่เป็นทั้งเกษตรกรและข้าราชการด้วยนั้น กระทรวงการคลังได้ตรวจสอบความซ้ำซ้อนแล้ว พร้อมส่งข้อมูลต่อให้กระทรวงเกษตรเพื่อดำเนินการต่อไป 

เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com 
facebook : TNNThailand
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNThailand
Youtube Official : TNNThailand

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง