รีเซต

เปิดข้อมูลสถิติ RCEP ความตกลงการค้าเสรีใหญ่ที่สุดในโลก

เปิดข้อมูลสถิติ RCEP ความตกลงการค้าเสรีใหญ่ที่สุดในโลก
TNN ช่อง16
18 พฤศจิกายน 2563 ( 09:57 )
768
เปิดข้อมูลสถิติ RCEP ความตกลงการค้าเสรีใหญ่ที่สุดในโลก

เศรษฐกิจอินไซต์วันนี้ จะมาเปิดข้อมูลสถิติ RCEP ความตกลงการค้าเสรีใหญ่ที่สุดในโลกว่า เมื่อเทียบกับข้อตกลงการค้าอื่นๆ จะมีความโดดนเด่นด้านไหนบ้าง โดยเฉพาะการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ซึ่งข้อมูลจาก UNCTAD ประเมินออกมาล่าสุดคาดความสำเร็จครั้งนี้จะดึงดูดเม็ดเงินลงทุนโดยตรงเข้าภูมิภาคนี้  แต่ประเทศไหนน่าสนใจที่สุด  ที่สำคัญเมื่อ RCEP ซึ่งเป็นกรอบการค้าใหญ่ที่สุดในโลกแล้ว จำเป็นต้องมี CPTPP อีกหรือไม่  


การเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) มีมายาวนาน  โดยมีแนวคิดนี้มาตั้งแต่ปี 2547  แต่ “ปฏิญญา” ร่วมว่าด้วยการริเริ่มการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ที่รับรองโดยประมุขแห่งรัฐหรือหัวหน้ารัฐบาลของประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน  กับออสเตรเลีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี และนิวซีแลนด์ ณ กรุงพนมเปญ กัมพูชา เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน (2555)  ซึ่งรับรองหลักการชี้แนะและวัตถุประสงค์ของการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค และเริ่มเจรจาในปี 2556 จนในที่สุดการเจรจาความตกลง RCEP  ก็บรรลุผลสำเร็จได้ลงนามความตกลงนี้เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2563  ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 37 ที่ประเทศเวียดนาม

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากรายการ"เศรษฐกิจ Insight"

https://www.youtube.com/watch?v=z2n0LXEJn9g

โดยมีประเทศลงนามทั้งหมด 15 ประเทศ ประกอบด้วย 10 ชาติสมาชิกอาเซียน และอีก 5 ประเทศ หรือ Plus 5 คือ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์  ยกเว้น อินเดีย  เนื่องจากอินเดียวกังวลเรื่องการเปิดตลาด ซึ่งอาจทำให้เกิดการไหลทะลักเข้ามาของสินค้าจีน ทั้ง เหล็ก สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม รวมถึงผลิตภัณฑ์นมจากประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ จะทำให้อินเดีย “ขาดดุล” การค้ามากยิ่งขึ้น


ความตกลง RECP  (อาเซียน+5) ถือเป็นกรอบการค้าเสรี (FTA) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก  โดยมีประชากรรวมกันกว่า 2,200 ล้านคน หรือประมาณ 30% ของประชากรโลก  มีมูลค่า GDP รวมกันกว่า 25.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 29.3% ของ GDP โลก และมีมูลค่าการค้ากว่า 10.4 ล้านล้านเดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 27.4% ของมูลค่าการค้าโลก 

หลังจากมีการลงนามาร่วมกันเมื่อวันที่ 15 พ.ย.ที่ผ่านมาแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะต้องมีการให้สัตยาบันระหว่างประเทศสมาชิกทั้ง 15 ประเทศ รายละเอียดขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศที่กำหนดไว้ สำหรับประเทศไทยต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน ถ้ารัฐสภาผ่านความเห็นชอบ จึงจะสามารถแจ้งให้กับทางเลขาธิการRCEP   ซึ่งนายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฏ์ รองนายกฯและรมว.พาณิชย์ ระบุว่าจะเร่งนำเสนอต่อที่ประชุมรัฐสภาให้ทันในสมัยประชุมนี้ คือ พ.ย.2563-ก.พ.2564 หรือยังมีระยะเวลาอีก 4 เดือน

ดังนั้นก่อนที่ความตกลง RCEP จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ไปดูข้อมูลเชิงสถิติที่น่าสนใจของ RCEP ซึ่งถือเป็นข้อตกลงประวัติศาสตร์ เพราะเป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อเปรียบเทียบกับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจอย่างเช่น อาเซียน  สหภาพยุโรป (EU) และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) 
  
 ทั้งนี้  ข้อมูลเชิงสถิติที่นำเสนอนี้จะนับรวม “อินเดีย” เข้าไว้ด้วย  แม้ในครั้งนี้อินเดียจะยังไม่ลงนามด้วย แต่สมาชิก RCEP ยังคงเปิดโอกาสให้อินเดียกลับมาเข้าร่วมความตกลงในฐานะที่เป็นสมาชิกดั้งเดิม และมีบทบาทสำคัญในการเจรจา RCEP ตั้งแต่ปี 2555

มาเริ่มดูข้อมูลสถิติที่น่าใจดังนี้ 


RCEP มีประชาการรวมกัน.ในปี 2562 จำนวน  3,585.8 ล้านคน  คิดเป็น 48.1% ของประชากรโลก  มากที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มเศรษฐกิจอื่น 



RCEP มี GDP รวมกันอยู่ที่  28,552,434 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 32.7% ของ GDP โลก  มากที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มเศรษฐกิจอื่น 


มีรายได้ต่อหัวประชากร RCEP ในปี 2562 อยู่ที่ 7,963 ดอลลาร์สหรัฐ  ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มเศรษฐกิจอื่น 

แต่หากดูประเทศพบว่า ประเทศใน RCEP ที่มีรายได้ต่อหัวมากที่สุดคือ สิงคโปร์  64,789 ดอลลาร์สหรัฐ/หัว รองลงมาคือ นิวซีแลนด์ 41,770 ดอลลาร์สหรัฐ/หัว  และ ญี่ปุ่น  40,747 ดอลลาร์สหรัฐ/หัว    สำหรับไทยอยู่ลำดับกลางๆของสมาชิก RCEP มีรายได้ต่อหัว 7,805 ดอลลาร์สหรัฐ/หัว



RCEP มีมูลค่าการค้ารวม 11,239,585 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 29.5% ของมูลค่าการค้าโลก  
ใกล้เคียงกับสภาพยุโรป



การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ หรือ FDI inflows ของ RCEP ในปี 2562 สูงถึง 372,216 ล้านดอลลาร์หรัฐ คิดเป็น 24% ของ FDI รวมของโลก  

สมาชิก RCEP ที่มี FDI ไหลเข้ามากที่สุดคือ จีน จำนวน 139,040 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาคือ สิงคโปร์ 92,081 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และอินเดีย (ยังไม่ลงนาม) 42,286  ล้านดอลลาร์สหรัฐ  ส่วนไทย มี FDI ไหลเข้า 4,146 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เท่านั้น



ขณะที่ การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและพัฒนา หรือ UNCTAD ระบุใน รายงานแนวโน้มการลงทุนล่าสุดว่า ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ที่สมาชิก 15 ประเทศ อาจดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ หรือ FDI ทั่วโลก เข้าสู่ภูมิภาคนี้อย่างมีนัยสำคัญ

โดย RCEP ถือเป็นจุดหมายปลายทางหลักของ FDI ทั่วโลก จะเห็นได้ว่า การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) มายัง RCEP ตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นแทบทุกปี เมื่อเปรียบเทียบกับ FDI ทั่วโลกที่กำลังเผชิญภาวะซบเซา และมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 9 เปอร์เซนต์  พร้อมทั้งระบุว่า แนวโน้มดังกล่าวน่าจะดำเนินต่อไป เนื่องจาก การลงทุนที่ไหลเข้าประเทศจีนและภูมิภาคอาเซียน

สำหรับ FDI ที่เข้ามาใน RCEP เมื่อปี 2562 อยู่ที่ 364,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  หรือเกือบ 11 ล้านล้านบาท น้อยกว่าปี 2561 ประมาณ 4 เปอร์เซนต์ เนื่องจาก การลดลงของ FDI ในออสเตรเลียในระดับที่มีนัยสำคัญ (ลดลง 47 เปอร์เซนต์)

โดยในปี 2020 UNCTAD คาดการณ์ว่า FDI ในภูมิภาค RCEP น่าจะลดลง 15 เปอร์เซนต์ จากการคำนวนมูลค่าของ FDI ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้  ขณะที่ระดับ FDI ทั่วโลกคาดว่าจะลดลง 30-40 เปอร์เซนต์ เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 



ทั้งนี้ จีน สิงคโปร์ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ถือเป็นประเทศที่มีน้ำหนัก หรือมีการไหลเข้าของ FDI มากที่สุดในภูมิภาค RCEP โดยคิดเป็นสัดส่วนถึง 84 เปอร์เซนต์ระหว่างปี 2558-2562

ขณะที่ ประเทศไทย เป็นประเทศที่มี FDI ไหลเข้ามากเป็นอันดับที่ 10 ในภูมิภาค โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1 แสน 8 หมื่นล้านบาท) 2553-2557  ซึ่งจำนวนดังกล่าว น้อยกว่า มูลค่า FDI ที่ไหลเข้าประเทศไทยในช่วงปี 2010-2014 ที่ 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ


ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าความตกลง RCEP น่าจะเริ่มเปิดเสรีได้ในช่วงครึ่งหลังปี 2564  และมองว่า RCEP จะส่งผลต่อการค้าและการลงทุนของไทยใน 2 ประเด็นหลัก คือ 

1.RCEP เป็นความตกลงที่เปิดกว้างท่ีสุดและมีมาตรฐานด้านต่างๆ สูงที่สุดเท่าที่ไทยเคยมีมาทั้งในแง่ของเป้าหมายการลดภาษีสินค้าสูงที่สุดถึง 99% ของจำนวนรายการสินค้าทั้งหมด นับว่าสร้างโอกาสให้ สินค้าไทยทำตลาดได้มากขึ้นจากความตกลงเดิมที่มีอยู่ โดยในช่วง 9 เดือนแรกปี 2563  ไทยส่งออกไปตลาดนี้มีมูลค่า 9.18 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ คิดเป็น 53.1% ของการส่งออกไทยไปตลาดโลก 

นอกจากนี้ RCEP ยังเป็นความตกลงที่มีมาตรการฐานการเจรจาที่สูงกว่าความตกลงใดๆ ที่ไทยเคยมีอันจะช่วยยกกระดับการผลิตและการ ส่งออกของไทยไปสู่มาตรฐานของความตกลงในรูปแบบพหุภาคีในระดับที่สูงขึ้น โดย RCEP มีการเจรจาครอบคลุมในเกือบทุกเรื่อง (ยกเว้นด้านแรงงาน สิ่งทอและประเด็นด้านรัฐวิสาหกิจ) ที่ใกล้เคียงกับแผนงานของ CPTPP (ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกหรือ Comprehensive and Progressive agreement for Trans-Pacific Partnership)  แต่ต่างกันที่ RCEP มีความผ่อนปรนและเอื้อประโยชน์ ด้านเศรษฐกิจแก่ประเทศสมาชิกมากกว่า และไม่ส่งผลกระทบเชิงลบทางด้านสังคมเหมือนกรอบ CPTPP  

2.การเกิดขึ้นของ RCEP ช่วยสร้างสมดุลการค้าและการลงทุนในสองฟากฝั่งของโลก โดยเป็นการผนึกกำลังครั้งสำคัญของชาติเอเชียที่มีจีนเป็นแกนนำความตกลงเพื่อให้ภูมิภาคนี้มีบทบาทมากขึ้นในเวทีโลก คานอิทธิพลชาติตะวันตกที่มีต่อประเทศสมาชิก โดยเฉพาะประเทศในอาเซียน 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า RCEP จะกลายเป็ นกลุ่มการค้าที่มีห่วงโซ่การผลิตเหนียวแน่น เอื้อประโยชน์ต่อการผลิตและการค้าในซีกโลกตะวันออก ด้วยจุดเด่นของกฎแหล่งก าเนิดสินค้า (Rule of Origins: ROOs) ที่เป็ น หนึ่งเดียวกันและมีความยืดหยุ่นมากกว่าความตกลง FTA ระหว่างอาเซียนกับประเทศในกลุ่ม Plus 5 สำหรับไทยที่มีความสัมพันธ์ทางด้านการค้าการลงทุนอย่างเหนียวแน่นกับประเทศสมาชิก RCEP อยู่แล้ว จึงมองว่า ในระยะข้างหน้าไทยจะได้รับอานิสงส์ทั้ทางตรงและทางอ้อมเพิ่มขึ้น

 โดยผลทางตรงจะมาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณการค้าระหว่างไทยกับประเทศสมาชิก RCEP ขณะที่ผลทางอ้อมจะ มาจากการที่ประเทศ Plus 5 จะลดกำแพงภาษีระหว่างกันเป็นครั้งแรก ซึ่งการเกิดขึ้นของ RCEP จะยิ่งทำให้ไทยยังคงเป็นตัวเลือกหลักของฐานการผลิตที่สำคัญในฝั่งเอเชีย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่ไทยยังคงมีความได้เปรียบในด้าน การผลิตและส่งออก อาทิ ยานยนต์และชิ้นส่วน เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เคมีภัณฑ์ ยางพาราและ ผลิตภัณฑ์ยาง ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้ำและอิเล็กทรอนิกส์  นอกนั้นการที่ประเทศ Plus 5 มีแนวโน้มค้าขายกันเองมากขึ้น จากการลดกำแพงภาษีระหว่างกันครั้งนี้คงไม่ส่งผลให้เกิดการแย่งชิงตลาดกับสินค้าอาเซียนและสินค้าไทยที่ทำตลาดอยู่ก่อนแล้วในปัจจุบัน เนื่องจากเป็ น สินค้าคนละประเภทกัน


ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าแม้อาเซียนจะมี FTA กับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์อยู่แล้ว แต่การรวมเป็ น RCEP โดยมีเป้าหมายการเปิดเสรีในด้านต่างๆ ให้มากที่สุด ส่วนหนึ่งเพื่อสร้างความน่าสนใจให้ทัดเทียมกับความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก  หรือ CPTPP แต่ในความเป็นจริงทั้งสองความตกลงไม่สามารถทดแทนกันได้ โดยเฉพาะการเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตที่ RCEP เน้นหนักไปยังภูมิภาคเอเชีย ขณะที่ CPTPP น่าสนใจตรงที่สามารถเชื่อมห่วงโซ่การผลิตกับในภูมิภาคอเมริกาได้มากกว่า 

อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าถึงเวลาแล้วที่ไทยต้องเลือกว่า 1) ปรับตัวให้สอดรับกับ มาตรฐานของความตกลง FTA ที่มีมาตรฐานสูง โดยเข้าร่วมเจรจากับ CPTPP หรือเจรจากับสหรัฐฯ สหภาพยุโรป ตลอดจนอังกฤษ  หรือ 2) ปรับตัวให้เป็นที่น่าสนใจของนักลงทุนต่างชาติแม้ไม่มีFTA กับชาติตะวันตก  

ซึ่งไม่ว่าจะทางไหนไทยก็ต้องปรับตัวเพราะมีทั้งผู้ที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ซึ่งภาครัฐบาลไทยต้องเตรียมมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอยู่ดี 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากรายการ"เศรษฐกิจ Insight"

https://www.youtube.com/watch?v=z2n0LXEJn9g

เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE


ข่าวที่เกี่ยวข้อง