รีเซต

รู้จัก! ECMO เครื่องมือที่แพทย์ใช้ช่วย น้าค่อม เมื่อปอด-หัวใจไม่ปกติ

รู้จัก! ECMO เครื่องมือที่แพทย์ใช้ช่วย น้าค่อม เมื่อปอด-หัวใจไม่ปกติ
TeaC
24 เมษายน 2564 ( 15:39 )
898



ข่าววันนี้ หลังจาก น้าค่อม ชวนชื่น ตลกชื่อดังติดเชื้อโควิด-19 จนต้องเข้ารับการรักษา แต่อาการทรุดหนัก อยู่ในขั้นวิกฤตเชื้อลงปอดและมีอาการไตวาย กระทั่งได้ถูกย้ายมารักษาที่โรงพยาบาลวิภาราม เนื่องจาก น้าค่อม เป็นผู้ป่วยโควิดวิกฤตฉุกเฉินที่มีความจำเป็นจะต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการรักษา ที่เรียกว่า ECMO

 

วันนี้ TrueID จะพามารู้จัก เครื่องเอคโม (ECMO) เครื่องมือพยุงหัวใจ และปอด ซึ่งเครื่องนี้ยังเคยถูกใช้ตอนพยายามช่วยชีวิต  น้ำตาล เดอะสตาร์ และหนุ่มปอ ทฤษฎี สหวงษ์ มาก่อนอีกด้วย เครื่อง เอคโม (ECMO) มีความสำคัญอย่างไร ตามมาดูกันเลย

 

 

เครื่องเอคโม (ECMO) คืออะไร ?

 

หนึ่งในเครื่องมืออันทันสมัย ECMO หรือ Extracorporeal membrane oxygenation หรือที่ในภาษาไทยเรียกว่า เครื่องช่วยพยุงการทำงานของหัวใจและปอด ซึ่งจะเข้ามาทำหน้าที่ทดแทนการทำงานของหัวใจและปอดที่ทำงานผิดปกติจนไม่สามารถประคับประคองด้วยยาได้แล้ว

 

ถือเป็นเครื่องมือพิเศษที่จะช่วยทดแทนการทำงานของหัวใจและปอดในเวลาที่อวัยวะเหล่านั้นอ่อนแอ เกินกว่าที่จะทำงานได้อย่างปกติ แม้ว่าจะใช้มาตรการทางการแพทย์ตามปกติแล้วก็ตาม

 

 

ใช้ ECMO ในกรณีใดบ้าง?

 

  • หัวใจหยุดเต้นจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และไม่ตอบสนองต่อการช่วยชีวิตขั้นสูง
  • ลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดแดงในปอด ทำให้ปอดไม่สามารถทำงานได้ปกติ
  • หัวใจล้มเหลวร่วมกับระบบการหายใจล้มเหลวจากหลายสาเหตุ เช่น ARDS หรือไวรัส H1N1, Covid19
  • ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดหัวใจ แล้วพบว่าหลังการผ่าตัด..หัวใจและปอดยังไม่สามารถทำงานได้เป็นปกติ
  • ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานาน และมีแนวโน้มที่เครื่องช่วยหายใจไม่สามารถช่วยเรื่องการแลกเปลี่ยนก๊าซในร่างกายได้อย่างเพียงพอ
  • ผู้ป่วยที่รอการรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจและปอดใหม่

 

 

ข้อจำกัดในการใช้เครื่อง ECMO


แม้ว่าเครื่อง ECMO จะช่วยซัพพอร์ทการทำงานของหัวใจและปอด แต่หากผู้ป่วยมีปัจจัยร่วมบางประการ ก็ไม่สามารถพิจารณาให้ผู้ป่วยมาใช้เครื่อง ECMO ได้ เช่น

 

  • ผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย
  • ผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจมาเป็นระยะเวลานาน
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะ Aortic Regurgitation/Dissection

 


ใช้เครื่อง ECMO อาจมีผลข้างเคียงได้เช่นกัน

 

  • ภาวะเลือดออกในสมอง
  • ภาวะขาดเลือดไปเลี้ยงที่ขา (ในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้ ระบบ Veno-Arterial ECMO)
  • ภาวะเม็ดเลือดแดงแตก
  • ภาวะติดเชื้อ
  • ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ 

 

ดังนั้น ทีมแพทย์ พยาบาล และสหสาขาวิชาชีพ จะเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง

 

อย่างไรก็ตาม มาร่วมส่งกำลังใจให้น้าค่อม ชวนชื่น และผู้ป่วยติดเชื้อทุกคนหายปกติ พร้อมร่วมส่งกำลังใจให้เหล่าทีมแพทย์ทุกท่าน และขอประชาชนทุกคนร่วมมือป้องกันโควิด ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง ล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่างกันสักนิด ล็อคดาวน์อยู่บ้านกันนะ

 

 

#รอบนี้เราต้องรอด

#รู้ไว้นะTrueIDเป็นห่วง

 

 

ข้อมูล : โรงพยาบาลกรุงเทพ, โรงพยาบาลพยาไท,

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง