รีเซต

ยาน LRO ของนาซาเผยภาพ 1 ใน 13 เป้าหมายจุดลงจอดบนดวงจันทร์ของภารกิจ Artemis 3

ยาน LRO ของนาซาเผยภาพ 1 ใน 13 เป้าหมายจุดลงจอดบนดวงจันทร์ของภารกิจ Artemis 3
TNN ช่อง16
19 มีนาคม 2566 ( 01:10 )
90

ยานสำรวจลูนาร์ เรคองเนซองส์ ออร์บิเตอร์ (Lunar Reconnaissance Orbiter) หรือ LRO ขององค์การนาซาเปิดเผยภาพถ่ายสำคัญของของบริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์ตรงบริเวณที่เรียกว่า มาลาเพิร์ต แมสซิฟ (Malapert Massif) ซึ่งเป็น 1 ในบริเวณ 13 แห่งที่นาซากำลังเลือกเป็นจุดลงจอดของยานอวกาศอาร์เทมิส 3 (Artemis 3) พร้อมนักบินอวกาศในช่วงปี 2025


ภาพถ่ายดังกล่าวจาก LRO มีความคมชัดสูง โดยถ่ายจากกล้องที่ระดับความสูง 16,400 ฟุต หรือประมาณ 5,000 เมตร เหนือพื้นผิวดวงจันทร์ มองเห็นความสูงและลักษณะคล้ายเนินเขาสูงกว่า 11,480 หรือประมาณ 3,500 เมตร ได้อย่างชัดเจน


มาร์ก โรบินสัน คณะกรรมการผู้ตรวจสอบหลักของมหาวิทยาลัยรัฐแอริโซนา (Arizona State University) ที่มีส่วนร่วมในภารกิจ LRO ยืนยันว่า "นาซาและทีมงานจะต้องทำงานอย่างหนักเกี่ยวกับการเลือกภูมิประเทศที่เป็นตัวเลือกการลงจอดของยานอวกาศ และการลงจอดของยานอวกาศอาจเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมากที่สุด"


นักวิทยาศาสตร์ของนาซาเลือกตำแหน่งบริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์เป็นพื้นที่บริเวณลงจอดเนื่องจากมีการค้นพบน้ำในสถานะของแข็งอยู่ในบริเวณดังกล่าวซึ่งน้ำแข็งดังกล่าวมีความสำคัญต่อการสำรวจอวกาศทั้งในด้านการดำรงชีพของนักบินอวกาศและการใช้เป็นพลังงานเชื้อเพลิงสำหรับจรวด


สำหรับพื้นที่บริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์ทั้ง 13 แห่ง ที่นาซาได้คัดเลือกเอาไว้เนื่องจากตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการศึกษาและสำรวจดวงจันทร์ ประกอบด้วย


1. Faustini Rim A

2. Peak Near Shackleton

3. Connecting Ridge

4. Connecting Ridge Extension

5. de Gerlache Rim 1

6. de Gerlache Rim 2

7. de Gerlache-Kocher Massif

8. Haworth

9. Malapert Massif

10. Leibnitz Beta Plateau

11. Nobile Rim 1

12. Nobile Rim 2

13. Amundsen Rim


สำหรับภารกิจอาร์เทมิส 2 (Artemis 2) คาดว่าจะมีขึ้นในปี 2024 โดยเป็นการส่งนักบินอวกาศไปโคจรรอบดวงจันทร์แต่ยังไม่ลงจอด หลังจากนั้นตามด้วยภารกิจอาร์เทมิส 3 (Artemis 3) ซึ่งเป็นภารกิจนำมนุษย์อวกาศลงจอดบนดวงจันทร์ในบริเวณดังกล่าวข้างต้น โดยนาซาจะทำการคัดเลือกพื้นที่สุดท้ายที่เป็นเป้าหมายการลงจอดของยานอวกาศในภารกิจอาร์เทมิส 3 (Artemis 3) อีกครั้ง


ที่มาของข้อมูลและรูปภาพ

Space.comlroc.sese.asu.edu



ข่าวที่เกี่ยวข้อง